Responsive image

Saturday, 09 Nov 2024

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


“นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์” รีเทิร์นเก้าอี้นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมเผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตครึ่งปีแรก 2567

Sat 10/08/2567


สมาคมประกันชีวิตไทย จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 โดยมีวาระสำคัญคือการพิจารณาเลือกตั้งนายกสมาคมประกันชีวิตไทยและคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ ประจำปีบริหาร 2567 – 2569 (1 กรกฎาคม 2567 – 30 มิถุนายน 2569) ซึ่งในที่ประชุมได้มีการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์เลือกนางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมประกันชีวิตไทย

สำหรับรายนามกรรมการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ประจำปีบริหาร 2567 – 2569 มีดังต่อไปนี้

  1. นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์     นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
  2. นายสาระ ล่ำซำ                                 อุปนายกฝ่ายการตลาด
  3. นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ                  อุปนายกฝ่ายบริหาร
  4. นายนิคฮิล อาชวานิ แอดวานี               อุปนายกฝ่ายวิชาการ
  5. นายโชน โสภณพนิช                           เลขาธิการสมาคม
  6. นายสุทธิ รจิตรังสรรค์                          เหรัญญิกสมาคม

 

นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย  เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน มีเบี้ยประกันภัยรับรวม (Total Premium) อยู่ที่ 311,413.63 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.80 เมื่อเทียบกับปี 2566 จำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ (New Business Premium) 88,332.86 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 76 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal Premium) 223,080.77 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 และมีอัตราความคงอยู่ร้อยละ 83

สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย

1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (First Year Premium) 58,266.84 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.21

2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) 30,066.02 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 0.92

 

จำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวมแยกตามช่องทางการจำหน่าย ดังนี้

1. การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต (Agency) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 155,522.29 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.98 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.94

2. การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 122,507.58 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.28 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.34

3. การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต (Broker) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 18,874.47 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.42 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.06

4.การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ (Tele Marketing) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 6,269.10 ล้านบาท อัตราการเติบโตติดลบร้อยละ 8.43 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.01

5.การขายผ่านช่องทางดิจิทัล(Digital) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 585.12 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.38 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.19

6. การขายผ่านช่องทางอื่น (Others) เช่น การขาย Worksite , Walkin การขายผ่านการออกบูธการขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ Direct Mail , Tele Marketing เป็นต้น เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 7,647.11 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.72 เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.46

 

สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตมากขึ้นในช่วงครึ่งแรก ปี 67 คือสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ ที่มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 51,450.58 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.33 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.52 ซึ่งหลัก ๆ มาจากการที่ประชาชนใสใจดูแลสุขภาพและเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการทำประกันสุขภาพมากขึ้น เพื่อบริหารความเสี่ยงและรับมือกับค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (Medical Inflation)

ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบบำนาญ (Pension) ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยครึ่งแรก ปี 67 มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 5,699.48. ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.25 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.83 ส่วนในปี 2567 สมาคมประกันชีวิตไทยได้ประมาณการอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตอยู่ที่ในช่วงร้อยละ 20 - 4.0 ซึ่งลอดคล้องกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2567 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.5

 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากกระแสคนรักสุขภาพ อันเนื่องมาจากการที่ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบของการเกิดโรคอุบัติใหม่และมลภาวะ รวมถึงแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนหันมาใสใจดูแลสุขภาพ และ มีการทำประกันสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged Society) อย่างเต็มตัว ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงินช่วงวัยเกษียณกันมากขึ้น เพราะนอกจากเป็นรูปแบบการออมประเภทหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่ำแล้ว ยังได้รับความคุ้มตรองชีวิต และ สิทธิการลดหย่อนภาษีที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุน

ทั้งนี้ ภาคธุรกิจยังได้มึนโยบายสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เช่น AI และ Data Analytics เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การเสนอขาย การพิจารณารับประกันภัย การพิจารณาสินไหม ไปจนถึงการส่งมอบบริการและธุรกรรมหลังการขายที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้เอาประกันภัยให้เพิ่มสูงขึ้น

ในขณะเดียวกัน ธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตามแนวโน้ม และความผันผวน ของสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอัตราดอกเบี้ย สถานการณ์เงินเฟ้อ และตลาดหุ้นไทย ที่ส่งผลกระทบต่อการออม การลงทุน และภาระหนี้สินภาคครัวเรือนที่ส่งผลต่อการใช้จ่ายของภาคประชาชน รวมถึงต้องติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเกิดโรคอุบัติใหม่ เพราะส่งผลต่อความต้องการและความเชื่อมั่นของภาคประชาชนที่มีต่อธุรกิจประกันชีวิตโดยตรง

 

ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีแผนดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้านโดยนำแนวคิดการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) มาประยุกต์ใช้ในการประกอบการพิจารณาลงทุน การออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต รวมถึงการบริการที่สามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการภาคประชาชนและสังคมในทุกด้าน ทั้งมิติของสิ่งแวดล้อม (Environment) มิติของสังคม (Social) และมิติของการกำกับดูแล (Governance) เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตมีหลักธรรมมาภิบาลสามารถเติบโตอย่างความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้สมาคมฯ มีนโยบายในการสนับสนุนในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้พัฒนากระบวนการต่าง ๆ ของธุรกิจประกันชีวิต เพื่อยกระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้เอาประกันภัยให้มากขึ้น  มีการส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชน เช่น เรื่องการรู้เท่าทันของเทคโนโลยีและภัยไซเบอร์ เพื่อช่วยปกป้องผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย รวมถึงมีนโยบายเชิงรุกในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน โดยทางสมาคม ฯ จะเป็นแกนกลางในการประสานพันธกิจทั้งในรูปแบบประชุมหารือรับฟังความคิดเห็นระหว่างบริษัทประกันชีวิต กับ หน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยที่มีคณะกรรมการบริหารสมาคมเป็นประธานเพื่อติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งผลักดันระบบการจัดสอบและอบรมความรู้ ระบบออกใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งบริษัทสมาชิก และ บุคคลทั่วไปที่สนใจสมัครสอบเข้าสู่เส้นทางอาชีพตัวแทนประกันชีวิต

 

ที่สำคัญ สมาคมฯ มีนโยบายที่มุ่งให้แต่ละบริษัทประกันชีวิต มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงถึงการบริหารและจัดการความเสี่ยงอย่างรอบด้าน ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย และมีฐานะทางการเงินที่มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามความเสี่ยง (CAR Ratio) สูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่กำหนด (Supervisory CAR) เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจว่า บริษัทประกันชีวิตสามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัยได้ทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย และพร้อมที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา ดังจะเห็นได้จาก ในไตรมาสที่ 1/2567 จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.)ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราส่วนความพอเพียงของเงินกองทุนตามความเสี่ยง อยู่ที่ร้อยละ 384.21 ซึ่งสูงกว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ใช้ในการกำกับ (Supervisory CAR) จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยทุกท่าน เชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และยึดมั่นคำสัญญาตามข้อผูกพันในกรมธรรม์ทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวในตอนท้าย


Tags : สมาคมประกันชีวิตไทย สาระ ล่ำซำ นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตครึ่งปีแรก 2567


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการ SMEs และลูกค้ารายย่อย หรือผู้ประกอบการอิสระที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยที่ผ่านมา สามารถยื่นขอกู้ในโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ได้ที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อาทิ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 16 แห่ง โดยทุกสถาบันการเงินได้ร่วมกันขยายความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจเป็นวงกว้างและทั่วถึงมากที่สุด ผ่านการให้สินเชื่อครอบคลุมผู้ประกอบการ SMEs และรายย่อย ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำไม่เกิน 3.5% ต่อปี ใน 2 ปีแรก สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ให้กู้เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินถาวร หรือเสริมสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ ที่ไม่ใช่การรีไฟแนนซ์ ยื่นกู้ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง วันที่ 30 ธันวาคม 2568 สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ลูกค้ารายย่อย หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ประสบอุทกภัย ให้กู้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเสริมสภาพคล่องในการฟื้นฟูการดำเนินกิจการ ยื่นกู้ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง วันที่ 30 ธันวาคม 2567 นี้เท่านั้น อนึ่ง โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up เป็นการดำเนินตามนโยบายรัฐบาล เพื่อสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นำไปปล่อยสินเชื่อต่อให้กับผู้ประกอบการ โดยให้กู้ตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้ กำหนดวงเงินกู้สูงสุดรวมทุกสถาบันการเงินไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อราย วงเงินกู้รวมในโครงการ 100,000 ล้านบาท เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเติบโตไปอย่างยั่งยืน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารออมสินและสถาบันการเงินทุกแห่งที่ร่วมโครงการ

08 Nov 2024

...

  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดกิจกรรมพิเศษ ในโอกาสครบรอบวันสถาปนา ธ.ก.ส. ปีที่ 59 เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อสินค้าเกษตรกรได้มากขึ้น พร้อมกับร่วมเป็นกำลังใจให้แก่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SME ในการผลิตสินค้าคุณภาพเพื่อต่อยอดโอกาสทางธุรกิจของภาคเกษตรไทยไปสู่สากล โดยมอบโค้ด “BAAC59” สำหรับเป็นส่วนลดพิเศษจำนวน 590 บาท เมื่อสั่งซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรลูกค้าของ ธ.ก.ส. บนเว็บไซต์ thailandpostmart.com รวมขั้นต่ำ 1,000 บาท โดย 1 บัญชี ผู้ซื้อที่ลงทะเบียนเข้าใช้บริการทางเว็บไซต์ดังกล่าว สามารถใช้โค้ดส่วนลดได้ 1 ครั้ง จำกัดสำหรับ 59 สิทธิ์ท่านแรกที่ใช้  ส่วนลด ระหว่าง 1-30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้น ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center  02 555 0555     

04 Nov 2024

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน รับ 3 รางวัลสุดยอดซีอีโอ “CEO Econmass Awards 2024” จากนางสาวเเพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประธานมอบรางวัลสุดยอดซีอีโอ “CEO Econmass Awards 2024” ซึ่งสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3   โดยรางวัลที่ได้รับ ประกอบด้วย รางวัลสุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ สาขา Social และสาขา Governance และรางวัลสุดยอดซีอีโอขวัญใจสื่อมวลชน (Popular Vote) ด้วยนายวิทัยเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในการขับเคลื่อนธนาคารออมสินด้วยยุทธศาสตร์ธนาคารเพื่อสังคม สร้าง Social Impact อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยหลักธรรมาภิบาลในการนำองค์กร ทั้งนี้ รางวัล CEO Econmass Awards 2024 เป็นรางวัลที่ยกย่อง เชิดชูเกียรติผู้บริหารที่นำพาองค์กรจนประสบความสำเร็จ และเติบโตไปพร้อมกับการให้ความสำคัญกับความอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง ESG     ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญที่จะเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ และช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง ซึ่งผ่านกระบวนการคัดเลือกตามหลักวิชาการที่เป็นมาตรฐานสากล จากคณะกรรมการคัดเลือกที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ เป็นตัวแทนจาก กกร. สคร. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ส่วนรางวัลสุดยอดซีอีโอขวัญใจสื่อมวลชน เป็นการโหวตโดยสมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ โดยมีผู้บริหารธนาคารออมสินร่วมแสดงความยินดี ณ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567  

03 Nov 2024

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในการช่วยเหลือประชาชนลดภาระหนี้ โดยเฉพาะผู้มีหนี้ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง จึงมอบหมายให้ธนาคารออมสินช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่มีสถานะเป็นหนี้เสีย หรือ NPLs เพื่อไม่ให้เสียประวัติเครดิต และเข้าถึงการกู้เงินในระบบสถาบันการเงินได้เป็นปกติ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทยอยจัดสรรงบประมาณชดเชยค่าเสียหายจากหนี้เสียให้ธนาคารมาชำระหนี้แทนลูกหนี้ โดยในปี 2567 ดำเนินการชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้ว 2 ครั้ง ช่วยปลดหนี้ให้ลูกหนี้จำนวนกว่า 720,000 ราย และล่าสุด ธนาคารได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐบาล จึงดำเนินการชำระหนี้และปิดบัญชีให้ลูกหนี้เพิ่มเติมทันที อีกกว่า 110,000 ราย รวมดำเนินการทั้งสิ้น 3 ครั้ง สามารถปลดหนี้ให้ลูกหนี้ได้แล้วกว่า 830,000 ราย คิดเป็นมูลค่าเงินต้นรวมกว่า 5,800 ล้านบาท ทั้งนี้ ขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้สนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงการคลังที่ให้ธนาคารออมสินดำเนินงานโดยไม่เน้นกำไรสูงสุด มีกำไรในระดับที่เหมาะสม (Responsible Profit) และขยายการช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้นในทุกมิติ อนึ่ง มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPLs ของโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ดำเนินการเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เสียวินัยทางการเงิน โดยรัฐบาลมีนโยบายผลักดันการแก้ปัญหาหนี้ประชาชนทุกกลุ่มให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ  

30 Oct 2024

Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner