Responsive image

Wednesday, 16 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


กบข. สนับสนุนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน เข้าลงทุนในกรีนบอนด์ของ ราช กรุ๊ป

Thu 19/09/2567


กบข. เดินหน้าสนับสนุนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน เข้าลงทุนในกรีนบอนด์ของราช กรุ๊ป มูลค่ารวม 4 พันล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการพลังงานหมุนเวียน เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

 

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข. ในฐานะนักลงทุนสถาบัน ที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างรับผิดชอบ เน้นลงทุนในธุรกิจที่นำประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG มาใช้ในการดำเนินงาน และหาโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีมาโดยตลอด จึงได้เข้าลงทุนในหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ กรีนบอนด์ ของบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 ชุด มูลค่ารวม 4,000 ล้านบาท อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 2.81% และอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.00%

โดยการลงทุนในกรีนบอนด์ของราช กรุ๊ป เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้รับผลตอบแทนที่ดี เนื่องจากบริษัทมีผลกำไรที่มีความมั่นคง ความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในระดับที่ดี มีอันดับความน่าเชื่อถือ AA+ รวมถึงยังมีส่วนช่วยพัฒนาโครงการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจากราช กรุ๊ป เป็นบริษัทให้ความสำคัญกับ ESG โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพลังงานสะอาด และพลังงานทดแทน รวมถึงการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง ผู้มีส่วนได้เสียในทุกมิติ ที่ตรงกับเป้าหมายการลงทุนของ กบข. ที่นอกจากผลตอบแทนการลงทุนยังให้ความสำคัญกับผลตอบแทนด้านสังคม สิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

 

นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (หุ้นกู้สีเขียว) ต่อ กบข. จำนวน 2 ชุด มูลค่ารวม 4,000 ล้านบาท โดยเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เสนอขายในวงจำกัดให้กับผู้ลงทุนไม่เกิน 10 ราย (PP10) สำหรับหุ้นกู้ชุดที่ 1 มูลค่า 2,000 ล้านบาท อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2570 อัตราดอกเบี้ย 2.81% ส่วนหุ้นกู้ชุดที่ 2 มูลค่า 2,000 ล้านบาท อายุ 5 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2572 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ซึ่งบริษัทฯ จะชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือน และจะชำระคืน เงินต้นหุ้นกู้ทั้งจำนวนในวันครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ และมีความยินดีอย่างยิ่งที่ กบข. ได้ให้ความไว้วางใจและเชื่อมั่นในความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่ได้ขับเคลื่อนองค์กรด้วยธรรมาภิบาลให้เติบโตอย่างมั่นคงและแข็งแกร่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนคุณค่าร่วมที่เสริมหนุนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 โดยจะมุ่งเน้นลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและโครงการด้านพลังงานที่พัฒนาขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) ซึ่งเป้าหมายกำลังผลิตพลังงานทดแทนจะเพิ่มขึ้นเป็น 40% ในปี 2578 จากปัจจุบันอยู่ที่ 27% ของกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมที่สำคัญ ความสำเร็จครั้งนี้   ยังสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนสถาบันที่มีต่อตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทย โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรที่มีพื้นฐานธุรกิจและการเงินที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพการเติบโตสูง รวมถึงการมีธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ 

“บริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นกู้สีเขียวให้กับ กบข. เพียงรายเดียว จึงขอขอบคุณ กบข. ที่ให้การสนับสนุนหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ทั้ง 2 ชุด ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ บริษัทฯ จะนำไปใช้ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การระดมทุนเพื่อโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ Green Financing Framework ทั้งเพื่อเป็นเงินทุน และ/หรือ ทดแทนเงินลงทุนในโครงการใหม่ หรือโครงการเดิมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ รวมถึงโครงการพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนธุรกิจและเป้าหมายการลงทุนโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ชัดเจน ได้แก่ โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการพลังงานลม โครงการพลังงานน้ำ และระบบกักเก็บพลังงาน รวมทั้งศึกษาเทคโนโลยีพลังงานอนาคตเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศเป้าหมายลงทุนของบริษัทฯ เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กับการตอบสนองความมั่นคงด้านพลังงาน และเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและ/หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของทุกประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปลงทุน” นายนิทัศน์ กล่าว


Tags : กบข. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการ กบข. โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการพลังงานหมุนเวียน กรีนบอนด์ของราช กรุ๊ป นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ ราช กรุ๊ป


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner