Responsive image

Saturday, 12 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


กรุงศรี รุกหนักพัฒนานวัตกรรม AI เสริมแกร่งดิจิทัลโซลูชัน ชู ‘Krungsri AI’ ยกระดับประสบการณ์ทางการเงินให้ง่ายยิ่งขึ้นในทุกมิติ

Sun 22/09/2567


นายเคนอิจิ ยามาโตะ (5 จากขวา) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  พร้อมด้วยคณะผู้บริหารนำโดย นายสยาม ประสิทธิศิริกุล (5 จากซ้าย) กรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร; นางสาวสายสุนีย์ หาญประเทืองศิลป์ (4 จากขวา) ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านนวัตกรรมดิจิทัลและข้อมูล; นายพชร วันรัตน์เศรษฐ (4 จากซ้าย) ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ; คุณตุลย์ โรจน์เสรี (3 จากขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานข้อมูลและการวิเคราะห์ และพันธมิตรสายเทคชั้นนำ โชว์ศักยภาพความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง ในงาน Krungsri Tech Day 2024: Technology for People มหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจและการใช้ชีวิตของผู้คน จัดขึ้นที่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์


กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) โชว์ศักยภาพความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง กางแผนขับเคลื่อนด้านไอทีและดิจิทัลที่มุ่งผลักดันเทคโนโลยี AI ชูความแข็งแกร่งทีม ‘Krungsri AI’ ในการเสริมประสิทธิภาพดิจิทัลโซลูชัน เพื่อยกระดับการส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ทำให้ชีวิตและการทำธุรกิจของลูกค้าง่ายยิ่งขึ้นในทุกมิติ ในงาน Krungsri Tech Day 2024: Technology for People มหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจและการใช้ชีวิตของผู้คน จัดขึ้นที่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานว่า “ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางฉบับปัจจุบัน กรุงศรีตั้งเป้าหมายในการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน โดยมุ่งรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจหลักและสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลที่ครอบคลุม 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ เทคโนโลยีดิจิทัล ฐานข้อมูล ระบบนิเวศ และความร่วมมือจากพันธมิตร งาน Krungsri Tech Day 2024 จึงเปรียบเสมือนเวทีแสดงศักยภาพของกรุงศรีในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการเงิน ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินของกรุงศรี เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการและช่วยให้การใช้ชีวิตและการทำธุรกิจของลูกค้าง่ายยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็หวังว่างานดังกล่าวจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเติบโตและความยั่งยืน”

 

ด้าน นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะหนึ่งในผู้นำด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง กรุงศรีมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและพันธมิตรที่ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อต่อยอดการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร โดยการพัฒนาในด้านไอทีและดิจิทัลของกรุงศรีกรุ๊ปจะเป็นการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ภายใต้แนวคิด Technology for People ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีหรือโซลูชันทางการเงินที่เข้าไปอยู่ในทุกๆ ไลฟ์สไตล์ของผู้คน ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะมีพฤติกรรมความต้องการทางการเงินในรูปแบบใด โดยโซลูชันที่นำเสนอนั้นอาจไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากที่สุด แต่ต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนได้มากที่สุด ด้วยประสบการณ์ทางการเงินที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายยิ่งขึ้น โดยในปีนี้ เราได้ลงทุนกว่า 15,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาด้านไอทีและดิจิทัลโซลูชัน และยังได้เสริมศักยภาพการพัฒนาอย่างเข้มข้นด้วยทีม Krungsri AI ที่จะช่วยผลักดันการพัฒนาในด้าน AI, Machine Learning และ Data Analytics รวมทั้งการพัฒนาด้านบุคลากร ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจกรุงศรีในภาพรวม พร้อมส่งเสริมความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีแบบองค์รวมครอบคลุมทั้งระบบนิเวศ”

 

“ด้วยความสำคัญของเทคโนโลยี AI ที่กำลังเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินงานในหลายๆ ธุรกิจ รวมทั้งภาคการเงิน ซึ่งกรุงศรีได้ทำการศึกษา ค้นคว้า และทดลองมาโดยตลอด และในปีนี้เราได้รุกหนักการพัฒนาด้าน AI โดยเสริมทัพทีม Krungsri AI สร้างความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้เกิดการศึกษาวิจัย และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ได้อย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวมถึงยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น อาทิ การใช้ AI ประเมินมูลค่าคอนโด เพิ่มประสิทธิภาพการเติมเงินสดสำหรับตู้ ATM หรือแชตบอตที่พนักงานสามารถใช้ค้นหาและสรุปความรู้ต่างๆ ภายในองค์กร รวมถึงข้อมูลในเชิงลึก ด้วยการนำข้อมูลของธนาคารมาเชื่อมโยงและวิเคราะห์ออกมาเป็นคำตอบที่ชัดเจนและแม่นยำ นอกจากนี้ ด้วยผลลัพธ์จากการยกระดับ Core Banking ในปีที่ผ่านมา ทำให้กรุงศรีสามารถขยายศักยภาพเพื่อรองรับกับดีมานด์ของ Embedded Finance Solutions หรือการนำโซลูชันทางการเงินของกรุงศรีเข้าไปช่วยระบบหลังบ้านของธุรกิจต่างๆ โดยที่ลูกค้าหรือผู้ใช้งานอาจจะไม่ทราบว่ากำลังใช้โซลูชันของกรุงศรี ซึ่งที่ผ่านมากรุงศรีนำเสนอ Embedded Finance Solutions ให้กับหลายองค์กรในหลายกลุ่มธุรกิจ อาทิ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจระบบความปลอดภัย อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นต้น” นายสยาม กล่าวเสริม

 

จากซ้ายไปขวา- นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน); นางสาวสายสุนีย์ หาญประเทืองศิลป์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านนวัตกรรมดิจิทัลและข้อมูล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน); นายพชร วันรัตน์เศรษฐ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน); คุณตุลย์ โรจน์เสรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานข้อมูลและการวิเคราะห์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)


 

ทั้งนี้ ทิศทางและกลยุทธ์ในการพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงศรี มุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมผ่าน 4 แกนหลัก ดังนี้

  • Krungsri AI: พัฒนา AI โดยเน้นการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI  เพื่อเร่งเครื่องการพัฒนาดิจิทัลโซลูชันเพื่อการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจ โดยมีเป้าหมายหลักคือ ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้น เร็วขึ้น และง่ายยิ่งขึ้น
  • Embedded Finance Solutions: ใช้จุดแข็งและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและโซลูชันทางการเงินของกรุงศรีต่อยอดบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่อยู่เบื้องหลังทุกรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คน ซึ่งช่วยยกระดับประสบการณ์ทางการเงินของลูกค้าในยุคดิจิทัลให้ดียิ่งขึ้น อาทิ เทคโนโลยี API ที่ช่วยให้การทำธุรกรรมมีความถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น ระบบการชำระเงินออนไลน์ ธุรกรรมการขอสินเชื่อ และประกันภัย เป็นต้น     
  • Transformation: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที โดยมีแผนงานหลักภายใต้โครงการ “Jupiter by Krungsri” ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนของสถาปัตยกรรมระบบไอทีให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์การบริการที่ดียิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย ทั้งนี้ ยังเอื้อต่อการพัฒนาต่อยอดในอนาคตซึ่งรวมถึงการขยายการให้บริการในระดับภูมิภาค และการปรับปรุงการปฏิบัติการด้วยโปรเจค Green IT เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • Social Impact: ด้วยปริมาณความต้องการบุคลากรสายเทคที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน กรุงศรีพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างศักยภาพให้กับบุคลากรสายเทค รวมถึงพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจแม้ไม่ได้เรียนจบหรือมีประสบการณ์การทำงานในสายเทค โครงการเหล่านี้ไม่เพียงตอบโจทย์การเติมเต็มบุคลากรให้กับกรุงศรี แต่ยังช่วยสร้างทักษะให้กับทรัพยากรในตลาดแรงงานเพื่อเพิ่มโอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงตำแหน่งงานสายเทคโนโลยีให้กับผู้คนอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ โครงการ Krungsri Universe Collaboration โดย Stellar by krungsri ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะด้านเทคโนโลยี และความพร้อมในการทำงานสายเทคให้กับนักศึกษา โครงการ QA Academy ของกรุงศรี นิมเบิล ที่ขยายโอกาสการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีให้กับบุคลากรในภูมิภาค เพื่อเข้าถึงตำแหน่งงานในกลุ่มเทคโนโลยีที่มีความต้องการสูง รวมทั้งเปิดตัว โครงการ Krungsri Upskill & TITAN Program ที่เปิดโอกาสให้บุคลากรในสายงานต่างๆ ได้มาอัปสกิลและรีสกิลตัวเองเข้าสู่สายงานเทค ด้วยการอบรมทักษะอย่างเข้มข้นร่วมกับพันธมิตรสายเทคชั้นนำ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตำแหน่งงานที่เหมาะสม

 

สำหรับงาน Krungsri Tech Day 2024 จัดต่อเนื่องเป็นปีที่สาม โดยในปีนี้ กรุงศรีร่วมมือกับพันธมิตรสายเทค ได้แก่ Accenture, AWS, Dynatrace, G-Able, HPE, IBM, Kyndryl, MFEC, Microsoft, NUTANIX, PagerDuty, Stream I.T. และ True Digital Park นำเสนอความก้าวหน้าและการใช้งานเทคโนโลยีที่ช่วยให้ทั้งชีวิตและการทำธุรกิจง่ายขึ้นในทุกมิติ พร้อมเปิดพื้นที่ให้คนสายเทค สายธุรกิจ และบุคคลทั่วไปที่สนใจเทคโนโลยีได้มาอัปเดตเทรนด์การพัฒนาเทคโนโลยี อัปเลเวลการทำธุรกิจด้วยโซลูชันพร้อมใช้ และอัปสกิลความสามารถด้านเทคโนโลยีแบบเข้มข้นผ่านเวทีสัมมนา และกิจกรรมเวิร์กชอปที่น่าสนใจมากมายกว่า 40 หัวข้อ โดยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งธนาคารกรุงศรี และพันธมิตร กว่า 70 ท่าน

“สุดท้ายนี้ กรุงศรี ขอขอบคุณพันธมิตรทุกท่านที่ช่วยสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ ซึ่งทำให้เราได้มีโอกาสนำเสนอ   นวัตกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีที่สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้อย่างครอบคลุม และยังได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรสายเทคให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยสร้างการเติบโตทางธุรกิจ และที่สำคัญที่สุด คือเพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจของลูกค้าให้ง่ายยิ่งขึ้น สอดคล้องกับคำมั่นสัญญา ‘ชีวิตง่าย ได้ทุกวัน’ ” นายสยาม กล่าวทิ้งท้าย


Tags : กรุงศรี กรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เคนอิจิยามาโตะ สยามประสิทธิศิริกุล KrungsriAI กรุงศรีรุกพัฒนานวัตกรรมAI


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner