Responsive image

Wednesday, 12 Feb 2025

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


คปภ. ติวเข้ม ผู้ประสงค์สอบคัดเลือกขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย

Sun 27/09/2563


เลขาธิการ คปภ. แนะผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัยยุค Digital Disruption พัฒนาความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และให้ความสำคัญในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านประกันภัยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นธรรม

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.)  เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตรสำหรับผู้ประสงค์ที่จะสมัครขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ชำนาญการ (บุคคลภายนอก) ชุดที่ 3 เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยตามระเบียบสำนักงาน คปภ. ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ให้กับบุคคลภายนอกที่มีความประสงค์จะขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ชำนาญการ จำนวนทั้งสิ้น 91 คน ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2563 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพมหานคร

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยของสำนักงาน คปภ. ดำเนินการภายใต้ระเบียบสำนักงาน คปภ. ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดให้มีกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ชำนาญการซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัย ให้ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย และเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการด้านสินไหมทดแทนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกอีกทางหนึ่งให้กับประชาชนที่จะระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ซึ่งเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากความพึงพอใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย (win-win) ประกอบกับผู้ขึ้นทะเบียนไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ที่ได้แต่งตั้งครบอายุ 2 ปี ตามระเบียบดังกล่าว ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดอบรมบุคคลภายนอกที่ประสงค์ขึ้นทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ชำนาญการ ชุดที่ 3 ให้มีความรู้พื้นฐานด้านการประกันภัยก่อนเข้ารับการสอบคัดเลือก เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย

                       

สำหรับการคัดเลือกบุคคลภายนอกเพื่อขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ชำนาญการ ชุดที่ 3 มีผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรม เพื่อคัดเลือกจากหลายสาขาอาชีพ อาทิ ผู้ประนีประนอมของศาล ทนายความ อาจารย์ เจ้าของธุรกิจ ข้าราชการบำนาญ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดใน 60 ลำดับแรก จะเป็นผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ชำนาญการ (บุคคลภายนอก) เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย ซึ่งการคัดเลือกผู้ชำนาญการในครั้งนี้ จะมีความพิเศษแตกต่างจากครั้งที่ผ่านมา โดยกำหนดให้มีการอบรมที่เน้นทักษะความรู้ด้านกฎหมายประกันภัย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย และความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ทางด้านประกันภัยให้กับผู้สมัครที่มีทักษะทางด้านไกล่เกลี่ยอยู่แล้ว จากนั้นจึงจัดให้มีการสอบทั้งข้อเขียนและสัมภาษณ์ ก่อนที่จะมีการประกาศขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ชำนาญการต่อไป ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และส่งผลให้เกิดข้อดี 2 ประการ คือ ประการแรก ผู้เข้ารับการอบรม จะได้รับความรู้ด้านการประกันภัย และมีความพร้อมในการปฏิบัติงานได้ทันทีภายหลังจากการได้รับคัดเลือก และประการที่ 2 เกิดความร่วมมือเป็นภาคีเครือข่ายและพันธมิตรระหว่างสำนักงาน คปภ. และผู้เข้ารับการอบรมที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนักงาน คปภ. มากยิ่งขึ้น

 เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 ซึ่งถือเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มีเรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยโดยผู้ชำนาญการทั้งสิ้น 1,154 เรื่อง ไกล่เกลี่ยสำเร็จเป็นจำนวน 920 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 79.72 โดยงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย (Insurance Mediation Center) ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2562 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ทั้งนี้ จากสถิติประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยที่มีการร้องเรียนมากที่สุด คือ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ซึ่งคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 80 ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมดที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย รองลงมา คือ ค่าซ่อมรถ และค่าสินไหมทดแทนกรณีบาดเจ็บ ส่วนประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการประกันชีวิตที่มีการร้องเรียนมากที่สุด คือ การบอกล้างสัญญาประกันชีวิต กรณีไม่แถลงข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 การเรียกร้องเงินผลประโยชน์ตามเอกสารเสนอขายซึ่งแตกต่างจากเงื่อนไขตามกรมธรรม์ และการเสนอขายโดยไม่ได้อธิบายเงื่อนไขและความคุ้มครองให้ชัดเจน ทำให้ผู้เอาประกันภัยหลงเชื่อหรือเข้าใจผิดในการทำสัญญาประกันชีวิตตามลำดับ ซึ่งจำนวนข้อพิพาทที่เกิดขึ้น อาจเป็นผลจากการที่ประชาชนนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากยอดจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 หรือการนำระบบประกันภัยมาใช้รองรับนโยบายภาครัฐ อย่างไรก็ดี การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้น จึงต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน เพื่อลดปัญหาข้อพิพาทด้วยเช่นกัน   

“การทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของสำนักงาน คปภ. ต้องสามารถปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital Disruption ต้องมีความเข้าใจด้านข้อกฎหมาย และจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกฎกติกาด้านการประกันภัย ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และที่สำคัญต้องปฏิบัติตนให้เป็นกลาง มีความซื่อสัตย์สุจริต ให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณีทั้งสองฝ่าย อันจะส่งผลให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ชำนาญการ และเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 


Tags : คปภ. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

SME D Bank เตรียมเปิดจำหน่ายพันธบัตร  Social Bond  วงเงินรวม 9,000 ล้านบาท  แบ่งเป็นรุ่นอายุ 2 ปี 9 เดือน และรุ่นอายุ 4 ปี กระทรวงคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย ในวันที่ 17 ก.พ. นี้ ผ่านวิธีประมูล e-Bidding  สร้างทางเลือกการลงทุนที่มั่นคงปลอดภัย ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก แจงวัตถุประสงค์ เพื่อระดมทุนนำไปปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่เอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน ช่วยเสริมศักยภาพ ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน   นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  เผยว่า ธนาคารเตรียมจำหน่ายพันธบัตร ธพว. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568   โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เปิดโอกาสทางเลือกการลงทุนที่มีความมั่นคงปลอดภัยและให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก โดยเป็นพันธบัตรประเภท Social Bond  สำหรับส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตลอดจนพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ผ่านการเข้าถึงสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ เพิ่มความสามารถการแข่งขัน ส่งต่อประโยชน์สู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของประเทศไทย สำหรับวงเงินพันธบัตร ธพว. ครั้งนี้  จำนวน 9,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 รุ่นด้วยกัน  ได้แก่ รุ่นอายุ 2 ปี 9 เดือน วงเงิน 5,000 ล้านบาท และรุ่นอายุ 4 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท  เสนอขายแก่กลุ่มนักลงทุนทั่วไป (Public offering; PO) ทั้งนักลงทุนสถาบัน (II) ผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth ; HWN) นิติบุคคล และประชาชน  กำหนดประมูลในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 นี้  โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้จัดจำหน่ายผ่านระบบ e-Bidding  ให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการ ดังนี้ 1.จำหน่ายพันธบัตรโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ผู้ใช้บริการ e-Bidding  ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding)  พ.ศ. 2546 ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย 2.จำหน่ายพันธบัตรโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวัง ประโยชน์มาแบ่งปันกัน และกองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  ฝ่ายบริหารเงิน โทร. 02 265 4465 และ 02 265 4469 หรือ Call Center 1357

12 Feb 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารออมสินประสบความสำเร็จในการริเริ่มพัฒนานำเอา ESG Score มาใช้ประเมินระดับ ESG ของลูกค้าสินเชื่อ เน้นกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ พร้อมทั้งทำโปรแกรม Positive Engagement เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์จะได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นกรณีพิเศษ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 ในปี 2568 นี้ ธนาคารได้ขยายขอบเขตการดำเนินงานให้ครอบคลุมลูกค้ากลุ่มธุรกิจ SME โดยได้เปิดตัว โครงการ Positive Engagement Program ครั้งที่ 1 ภายใต้แนวคิด “SME Gear Up ติดปีกธุรกิจด้วย ESG” มีเป้าหมายเพื่อขยายผลการสร้าง Social Impact และสนับสนุนการดำเนินงานตามแผน Net Zero Roadmap ของธนาคาร โดยตั้งเป้าสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำเอากรอบแนวคิด ESG ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากการที่สถาบันการเงินมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการใช้เกณฑ์ด้านความยั่งยืนในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ตามทิศทางการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรม SME Gear Up ติดปีกธุรกิจด้วย ESG เปิดให้ผู้ประกอบการ SME ที่ดำเนินงานสอดคล้องหรือมีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจโดยใช้แนวคิด ESG สมัครเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME ของธนาคารออมสิน มีวงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 50 – 250 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการ SME ทั่วไป มีรายได้รวม 100 - 500 ล้านบาทต่อปี โดยผู้ประกอบการ SME ที่สมัครและผ่านการคัดเลือกในรอบแรก จะได้เข้าร่วมกิจกรรม SME Onboarding การอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในประเด็น ESG ผ่านมุมมองของธุรกิจ การศึกษา ESG Standard ตลอดจนการรับฟังกรณีศึกษาจากผู้ประกอบการ SME ต้นแบบ (Learn from the lead) ที่มีการดำเนินงานด้าน ESG อย่างเป็นรูปธรรมจนประสบความสำเร็จ และการนำเสนอไอเดียธุรกิจ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดไอเดียธุรกิจ SME ลุ้นรับเงินรางวัลรวมมูลค่า 660,000 บาท โดยผู้ประกอบการ SME ที่ร่วมโครงการ ยังจะได้รับสิทธิพิเศษในการทำธุรกรรม/ยื่นสินเชื่อกับธนาคาร พร้อมรับประกาศนียบัตร ตรารับรองคุณวุฒิ และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจ สามารถกรอกแบบฟอร์มใบสมัครออนไลน์ ด้วยการสแกน QR Code บนสื่อประชาสัมพันธ์ของกิจกรรมฯ หรือทางเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th โดยสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งนี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ธนาคารออมสิน โทร 02-299-8000 ต่อ 810319 - 22 หรือ 998892 (ภายในเวลาทำการ)  

05 Feb 2025

...

  รายงานข่าวจากธนาคารออมสินแจ้งว่า ตามที่มีการแพร่ระบาดของมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ด้วยการส่งจดหมายปลอม แอบอ้างใช้โลโก้ ชื่อธนาคาร รวมถึงชื่อผู้บริหารของธนาคาร ส่งไปยังลูกค้าประชาชนโดยระบุว่า ไม่สามารถโอนเงินสินเชื่อเข้าบัญชีของลูกค้าได้ เนื่องจากลูกค้ากรอกข้อมูลบัญชีธนาคารไม่ถูกต้อง ทำให้บัญชีถูกอายัด ไม่สามารถทำธุรกรรมใด ๆ ได้จนกว่าจะดำเนินการตามที่มิจฉาชีพแอบอ้าง หากไม่ปฏิบัติตามจะทำให้ไม่ได้รับวงเงินสินเชื่อ รวมถึงมีความผิดตามกฎหมาย ติดแบล็คลิสต์ และถูกยึดทรัพย์ ธนาคารออมสินขอยืนยันว่า “จดหมายดังกล่าวเป็นจดหมายปลอม ธนาคารไม่มีนโยบายส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แจ้งให้ลูกค้าแก้ไขข้อมูลเลขบัญชีทุกกรณี รวมถึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ระบุในจดหมายแอบอ้างดังกล่าว” โดยขณะนี้ ธนาคารอยู่ในระหว่างการติดตามสถานการณ์ และดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มมิจฉาชีพที่แอบอ้างและกระทำการข้างต้น ธนาคารออมสิน จึงขอเน้นย้ำลูกค้าประชาชนถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพรายต่อไป เบอร์แปลก หลอกคุย ตัดสายทิ้ง ลิงก์ไม่กด และเมื่อได้รับการติดต่อโดยอ้างชื่อธนาคาร หรือมีความไม่แน่ใจ ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดด้วยตนเองก่อนทุกครั้งกับช่องทางของธนาคารออมสิน อาทิ เว็บไซต์ www.gsb.or.th, แอปพลิเคชัน MyMo, เฟซบุ๊ก GSB Society, LINE Official Account : GSB NOW และ GSB Contact Center โทร. 1115  

23 Jan 2025

...

  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดให้บริการโอนเงินต่างประเทศ ผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile เพื่อให้ลูกค้าสามารถโอนเงินไปต่างประเทศให้บุตรหลาน ครอบครัว ตลอดจนชำระค่าสินค้าและบริการได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile สะดวก รวดเร็ว เพียงเข้ารายการโอนเงินและเลือกโอนเงินต่างประเทศ โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขา ครอบคลุมทั่วโลก รองรับ 3 สกุลเงิน ประกอบด้วย ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ยูโร (EUR) และบาทไทย (THB)  (สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) วงเงินทำธุรกรรมไม่เกิน 150,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อวันต่อคน อัตราค่าธรรมเนียมและเวลาการให้บริการเป็นไปตามธนาคารกำหนด เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2568  เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ Call Center 02 555 0555

19 Jan 2025

Banner Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner