Responsive image

Wednesday, 27 Nov 2024

หน้าแรก > ราชการ - รัฐวิสาหกิจ / ENERGY - พลังงาน


โตไม่หยุด...ธุรกิจขายปลีก-ส่ง สินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ ปี ‘64 จัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้น 24.42% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่ม 17.49%

Sun 27/06/2564


ธุรกิจขายปลีก-ส่ง สินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ โตไม่หยุด ปี ‘64 (ม.ค. - เม.ย.) เอกชนจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้น 24.42% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติไม่พลาดโอกาสทองหอบเงินเข้ามาลงทุนกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.49% อเมริกันนำโด่งเบอร์ 1 ...ปี ‘62 ผลกำไรรวมทั้งธุรกิจมากกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท ด้านธุรกิจขนาดเล็ก (S) มีกำไรสุทธิถึง 51.76% ของผลกำไรทั้งธุรกิจ

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า “ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 3 ทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มผู้สูงอายุ ปริมาณความต้องการสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์จึงเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้ง การเข้าถึงสินค้า ทางการแพทย์ที่ง่ายและสะดวกขึ้นทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ ทำให้ธุรกิจขายปลีก-ส่ง สินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์เป็นธุรกิจที่น่าจับตามองและมีโอกาสเติบโตได้ในระยะยาว”

“ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ โดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้วิเคราะห์ธุรกิจดาวเด่นเดือนเมษายน 2564 พบว่า ธุรกิจขายปลีก-ส่ง สินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 (มกราคม - เมษายน) มีจำนวนการจัดตั้งธุรกิจฯ ใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.42 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับปริมาณความต้องการยาและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน”

รมช.พณ. (นายสินิตย์ เลิศไกร) กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2564) มีธุรกิจขายปลีก-ส่ง สินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ ที่ดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้นจำนวน 10,386 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.31 ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินกิจการอยู่ และมีมูลค่าการลงทุน 82,286.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.42 ของเงินลงทุนทั้งหมดของกิจการที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ดำเนินการในรูปแบบบริษัทจำกัด จำนวน 8,360 ราย (ร้อยละ 80.49) มูลค่าเงินลงทุน 76,073.19 ล้านบาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำนวน 2,017 ราย (ร้อยละ 19.42) มูลค่าเงินลงทุน 2,151.26 ล้านบาท และ บริษัทมหาชนจำกัด 9 ราย (ร้อยละ 0.09) มูลค่าเงินลงทุน 4,062.40 ล้านบาท”

“ธุรกิจฯ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 5,149 ราย (ร้อยละ 49.57) และมีทุนจดทะเบียน 54,871.22 ล้านบาท (ร้อยละ 66.69) และอันดับ 2 ตั้งอยู่ภาคกลาง จำนวน 2,215 ราย (ร้อยละ 21.68) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความต้องการสินค้าจำนวนมาก อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการขนส่งคมนาคมที่มีความหลากหลายทั้งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ ทำให้สามารถกระจายสินค้าได้เป็นอย่างดี”

“เมื่อพิจารณาจากผลกำไรของกลุ่มธุรกิจฯ ตั้งแต่ปี 2560 - 2562 พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ปี 2560 กำไรสุทธิ 17,114.45 ล้านบาท ปี 2561 กำไรสุทธิ 18,799.66 ล้านบาท ปี 2562 มีกำไรสุทธิ 19,141.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.82 (ปี 2563 อยู่ระหว่างการวิเคราะห์และประมวลผล) โดยธุรกิจขนาดเล็ก (S) มีกำไรถึง 9,907.66 ล้านบาท (ร้อยละ 51.76) ของกำไรจากทุกขนาดธุรกิจ ในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ (L) มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปี 2561 แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจขนาดเล็ก (S) และขนาดใหญ่ (L) ที่มีมากกว่าธุรกิจขนาดกลาง (M) ดังนั้น หากผู้ประกอบการขนาดกลางสามารถสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ มีการบริหารจัดการธุรกิจและค่าใช้จ่ายที่ดี เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า รวมทั้ง ขยายผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ก็จะสามารถเพิ่มรายได้ และส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) ในตลาดขายปลีก-ส่ง สินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ได้เพิ่มมากขึ้น”

“อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่กำลังจะเข้าสู่ธุรกิจขายปลีก-ส่ง สินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ ควรคำนึงถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ เช่น การตั้งราคา การเปลี่ยนแปลงราคา รวมถึงการส่งออกยารักษาโรคและสินค้าทางเวชภัณฑ์ โดยต้องแจ้งล่วงหน้าตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีสินค้าที่อยู่ในรายการสินค้าและบริการควบคุม “หมวดยาและเวชภัณฑ์” คือ ยารักษาโรค เวชภัณฑ์เกี่ยวกับ การรักษาโรค หน้ากากอนามัย และผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรศึกษาหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องและมีธรรมาภิบาล” รมช.พณ.กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

 

 

 


Tags : สินิตย์เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) และสื่อมวลชน เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านประกันภัยสู่ประชาชน “CEO X PRESS” ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท ภารกิจของสำนักงาน คปภ. รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสำนักงาน คปภ. และสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้อง ThreeSixty Jazz Lounge ชั้น 32 โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจประกันภัยในปี 2568 สำนักงาน คปภ. ประมาณการว่า ภาพรวมธุรกิจประกันภัย (ม.ค.-ธ.ค.2568) จะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 980,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค.2567) และคาดว่าในปี 2569 เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงทั้งระบบน่าจะแตะที่ 1,000,000 ล้านบาท ในภาพรวมธุรกิจ ประกันภัยสุขภาพมีความโดดเด่นที่สุด สำนักงาน คปภ. ประมาณการว่า สิ้นปี 2567 ประกันภัยสุขภาพจะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงที่ 100,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2568 ทั้งนี้ ภาคธุรกิจประกันภัยยังคงต้องติดตามปัจจัยท้าทายและปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อระดับอัตราดอกเบี้ย (Yield Curve) ที่ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีทิศทางที่ปรับสูงขึ้นแต่ยังต้องมีความระมัดระวังในการเลือกลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภท รวมทั้งสงครามการค้าและความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อและอำนาจซื้อของประชาชน ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนเริ่มชะลอการใช้จ่ายมากขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองทั้งในและต่างประเทศที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน โดยภาคธุรกิจต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและสามารถปรับเปลี่ยนทิศทางกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทประกันภัยไปตามสถานการณ์อย่างทันท่วงที   อย่างไรก็ตาม สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย มีการดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเรื่องของการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 17 ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 17 นี้ สะท้อนให้เห็นงบการเงินที่แท้จริงว่า บริษัทประกันภัยมีกำไรในแต่ละปีมากน้อยเพียงใด มีการกระจายรายได้ และค่าใช้จ่ายออกไปอย่างไร มีการจัดกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ เพื่อให้นักลงทุนได้เห็นภาพงบการเงินได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสำนักงาน คปภ. มองว่าเรื่องความมั่นคงกับงบการเงินที่ได้มาตรฐานต้องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกัน อีกประเด็นที่อยู่ในกระแสข่าวและสื่อมวลชนเกี่ยวกับการยื่นคำทวงหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยในกรณีของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่สิ้นสุดการยื่นคำทวงหนี้ไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 พบว่า มีเจ้าหนี้ยื่นคำร้องเข้ามาประมาณ 250,000 ราย และมีมูลหนี้ที่ต้องชำระประมาณ 22,000 ล้านบาท โดยกองทุนฯ มีรายได้จากเงินสมทบปีละประมาณ 1,400 ล้านบาท ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับกองทุนประกันวินาศภัยอย่างใกล้ชิด โดยกองทุนฯ ได้พยายามหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม เช่น การกู้ยืมเงิน และอยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อเข้ามาช่วยวิเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการการชำระหนี้ของกองทุนฯ รวมถึงแนวทางการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   ประเด็นถัดมาที่อยากจะสื่อสารกับสื่อมวลชนไปยังสาธารณชนคือ ทิศทางการทำประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า โดยส่วนใหญ่บริษัทประกันภัยจะยื่นขออนุมัติกรมธรรม์แต่ละฉบับ ซึ่งสำนักงาน คปภ. พร้อมที่จะอนุมัติให้โดยเร็ว แต่บริษัทประกันภัยที่ยื่นขออนุมัติต้องมีการดำเนินการควบคุมความเสี่ยงเพื่อให้สำนักงาน คปภ. มั่นใจว่ามีการบริหารจัดการ ตั้งแต่กระบวนการการเสนอขาย การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การบริหารความเสี่ยง และการจัดการเรื่องร้องเรียน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในการบริหารจัดการประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ประเด็นต่อมาที่อยากจะสื่อสารไปถึงประชาชน คือ กรณีบริษัทหรือตัวแทนนายหน้าขายประกันภัยต่างชาติ ที่มีการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งบริษัทต่างชาติเหล่านี้ ไม่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงาน คปภ. เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย แต่หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนด้านประกันภัยจากบริษัทเหล่านี้ ทางสำนักงาน คปภ. ก็มีมาตรการดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อตำรวจกองปราบปรามไปหลายคดีแล้ว ดังนั้น จึงอยากเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยจากบริษัทหรือตัวแทนนายหน้าขายประกันภัยต่างชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย   ประเด็นสุดท้ายคือเรื่อง การประกันภัยสุขภาพ ซึ่งในขณะนี้เบี้ยประกันภัยสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้น และค่ารักษาพยาบาลที่เกินความจำเป็นทางการแพทย์ ทำให้ประชาชนเข้าถึงการประกันภัยสุขภาพได้ยาก สำนักงาน คปภ. จึงได้หารือเร่งด่วนกับภาคธุรกิจเพื่อหาแนวทางควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลให้เหมาะสม และต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้เอาประกันภัย โดยอาจมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย (Renewal) หากผู้เอาประกันภัยมีการเคลมเกินความจำเป็นทางการแพทย์ หรือมีการเคลมด้วยกลุ่มโรคป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple Diseases) ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป และมีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัย แต่ละรายในรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยตั้งแต่ 200% ของเบี้ยประกันภัย ซึ่งสำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม เนื่องจากเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกวัย สามารถเข้าถึงระบบประกันภัยสุขภาพได้อย่างแท้จริงภายใต้เบี้ยประกันภัยที่เป็นธรรมและเหมาะสม

24 Nov 2024

...

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม “Road Show ให้ความรู้ด้านการประกันภัยและการฉ้อฉลประกันภัย ให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และประชาชนเชิงรุก” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า สำนักงาน คปภ. มีภารกิจสำคัญในการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้แก่พี่น้องประชาชน โดยมีสำนักงาน คปภ. ภาค/จังหวัด เป็นศูนย์กลางเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้แก่ประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้สามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน   ดังนั้น ประชาชนจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้เหมาะสมกับความต้องการในการบริหารความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม และสำนักงาน คปภ. ยังมีอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการป้องปรามการกระทำความผิดและลงโทษคนกลางประกันภัยที่กระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งกฎหมายประกันชีวิตและกฎหมายประกันวินาศภัยได้กำหนดพฤติกรรม และลักษณะของการกระทำที่อาจเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งในปัจจุบันพัฒนาการของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป กลอุบายการฉ้อฉลประกันภัยที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและระบบประกันภัยในวงกว้างได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่สำนักงาน คปภ. ต้องเสริมสร้างองค์ความรู้และเกราะป้องกันความเสี่ยงแก่ประชาชน และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่พี่น้องประชาชนเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิดฉ้อฉลประกันภัย     สำหรับโครงการส่งเสริมให้ความรู้ด้านการประกันภัย และการฉ้อฉลประกันภัย ให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และประชาชนเชิงรุก ณ จังหวัดนครสวรรค์ ได้มีการจัดกิจกรรมตามโครงการดังกล่าวทั้งสิ้น 3 วัน ดังนี้ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 เป็นกิจกรรม Road Show ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีการบรรยายให้ความรู้แก่นิสิตนักศึกษาเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นของการประกันภัย บทบาทและหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. การประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย พร้อมกันนี้ได้มีกิจกรรมให้นิสิตนักศึกษาร่วมสนุกลุ้นตอบคำถามด้วยกิจกรรม Kahoot ที่มุ่งเน้นส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่วิทยากรได้บรรยายไปข้างต้น และวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เป็นกิจกรรม Road Show ณ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฉิม จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีกิจกรรมให้น้อง ๆ ร่วมสนุกตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประกันภัย ผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม     นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมให้น้อง ๆ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ร่วมสนุกในกิจกรรม "Bingo OIC" โดยให้น้อง ๆ รับชมคลิปที่เกี่ยวข้องกับการแนะนำองค์กร บทบาท หน้าที่และช่องทางการติดต่อสำนักงาน คปภ. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ การประกันภัยอุบัติเหตุ รวมถึงหลักการเบื้องต้นของการฉ้อฉลประกันภัย เพื่อนำคำศัพท์ประกันภัยจากเรื่องดังกล่าวที่น่าสนใจมาร่วมสนุกเพื่อเล่นเกมบิงโกคำศัพท์ประกันภัยลุ้นรับของรางวัล โดยน้อง ๆ ได้ให้การตอบรับและร่วมกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน   สำหรับกิจกรรมการสัมมนา “โครงการส่งเสริมให้ความรู้ด้านการประกันภัย และการฉ้อฉลประกันภัย ให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และประชาชนเชิงรุก” โดยนายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการด้านกฎหมายและตรวจสอบ ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานเปิดงานดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมโฟทูซี เดอะชิคโฮเต็ล จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนางสาวชุติพร  เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ ซึ่งการสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงเช้าจะเป็นการเสวนาในหัวข้อ “การประกันภัยสำหรับธุรกิจ SME” และ “การฉ้อฉลประกันภัย” ส่วนในช่วงบ่ายเป็นการบรรยายในหัวข้อ “กฎหมายและหลักการประกันภัย”และ“การฉ้อฉลประกันภัย” โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ประกอบการ หัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานคลังจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานธนารักษ์จังหวัดนครสวรรค์ สำนักยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครสวรรค์ สภาหอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ตลอดจน ตัวแทน นายหน้าประกันภัย และอาสาสมัครประกันภัย เข้าร่วมงานสัมมนาเป็นจำนวนมาก   โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs เกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มที่การฉ้อฉลประกันภัยจำนวนเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากมีการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในธุรกิจประกันภัยมากขึ้น ทำให้เกิดการฉ้อฉลประกันภัยได้หลายช่องทาง ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อเบี้ยประกันภัยที่อาจปรับสูงขึ้นได้ในอนาคต ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชน ผู้ประกอบการ คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลากรของโรงเรียนและมหาวิทยาลัย หัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนภาครัฐ รวมทั้งเอกชน ให้มีความเข้าใจภารกิจของสำนักงาน คปภ. และเป็นการเสริมสร้างความรู้ด้านการประกันภัยและการฉ้อฉลประกันภัย เสริมความรู้เข้าใจในเงื่อนไขความคุ้มครอง ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยประเภทต่าง ๆ ตลอดจนตระหนักถึงผลกระทบของการฉ้อฉลประกันภัยและร่วมกันป้องกันการฉ้อฉลประกันภัย เพื่อเป็นเกราะป้องกันและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยต่อไป   ทั้งนี้ หากประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านประกันภัยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนดังกล่าวมายังสำนักงาน คปภ. ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียนด้านการประกันภัยหลายรูปแบบตามความต้องการและความซับซ้อนของเรื่อง ไม่ว่าจะการพิจารณาข้อร้องเรียนโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการประกันภัย หรือการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงาน คปภ. ซึ่งเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนผู้เอาประกันภัยในการใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีความเป็นธรรมและรวดเร็วกว่าการดำเนินคดีทางศาล    

22 Nov 2024

...

ทิพยประกันภัย ขอเชิญชวนร่วมโครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 46 ในการเดินทางไปเรียนรู้ และสัมผัสจิตวิญญาณแห่งการเป็นจิตอาสา ณ โครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จังหวัดอ่างทอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา (พระองค์ภา) ที่ทรงทุ่มเทอุทิศพระวรกายเพื่อช่วยเหลือประชาชน และสังคมส่วนรวมมาโดยตลอด และเรียนรู้แนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนตามแนวพระดำริ และศึกษาวิถีชีวิตพอเพียง รวมถึงแนวทางการพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับตัวเอง นอกจากนี้ จะได้ร่วมทำบุญปฏิบัติธรรม ณ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ภา พระบรมวงศานุวงศ์ และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยอีกด้วย พร้อมรับฟังการบรรยายด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนในทุกมิติ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานมูลนิธิธรรมดี และ อาจารย์อดุลย์ ดาราธรรม ที่ปรึกษาและอดีตนายกสมาคมนักเรียนเก่า AFS ประเทศไทย ผู้คิดค้นนวัตกรรมสื่อการสอนสำหรับเยาวชนในศตวรรษที่ 21 หรือ Interactive Board Game หนึ่งเดียวในโลก เพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด และเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปี 2030 เชิญร่วมโครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 46 ในวันที่ 23 – 24 พฤศจิกายน 2567 ณ โครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย บ้านทุ่งอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณจารุกัญญ์ โทรศัพท์ 099 397 5333 FB: ตามรอยพระราชา-The King’s Journey

19 Nov 2024

...

  ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคณะกรรมการบริษัท ที่ปรึกษา ผู้บริหาร และพนักงาน จัดงานครบรอบ 73 ปี ทิพยประกันภัย โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และพันธมิตร ร่วมแสดงความยินดีอย่างอบอุ่นและคับคั่ง     ในช่วงเช้าของงาน คณะผู้บริหารและพนักงานได้ร่วมกันทำบุญตักบาตรและบวงสรวงอนุสาวรีย์ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้ก่อตั้งทิพยประกันภัย จากนั้นได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารและจตุปัจจัยไทยธรรม เพื่อความเป็นสิริมงคล หลังจากพิธีสงฆ์ได้มีการมอบรางวัลอายุการทำงานให้กับพนักงานที่ทำงานกับบริษัทฯ มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ 10 ปี, 15 ปี, 20 ปี, 25 ปี และ 30 ปี รวมถึงมอบทุนการศึกษาให้กับบุตร-ธิดาของพนักงานเพื่อสนับสนุนอนาคตของเยาวชนไทย ณ อาคารทิพยประกันภัย สำนักงานใหญ่ พระราม 3     ทิพยประกันภัยขอขอบคุณลูกค้าและพันธมิตรที่ไว้วางใจเสมอมา เราจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้มีคุณภาพ และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดและเดินเคียงข้างสังคมไทยอย่างยั่งยืน     #จริงจังกับภัยจริงใจกับคุณ  #73ปีทิพยประกันภัย

15 Nov 2024

Banner Banner Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner