Responsive image

Saturday, 03 May 2025

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


TIPH เข้าซื้อขายวันแรก ชูจุดแข็งโครงสร้างธุรกิจ และผู้ถือหุ้นสุดแกร่ง

Tue 07/09/2564


บมจ. ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ TIPH  ฤกษ์ดีเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันนี้ (7 ก.ย. 2564) เป็นวันแรก แทนหุ้น บมจ. ทิพยประกันภัย หรือ “TIP” ซึ่งปรับไปเป็นบริษัทลูกที่เป็นแกนกลางของกลุ่มธุรกิจประกันภัยภายใต้ TIPH ด้าน “สมพร สืบถวิลกุล” ระบุโครงสร้างกลุ่มธุรกิจ และแผนการดำเนินธุรกิจของ TIPH ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจประกันภัย หลังการเกิดขึ้นของวิกฤตโควิด-19 จากนี้เตรียมเดินหน้าพัฒนาระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุกมิติ พร้อมยืนยันโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่งจะช่วยสนับสนุนความสามารถทางการแข่งขัน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธุรกิจของทิพย กรุ๊ปได้

ดร. สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH ยืนยันว่าภายใต้โครงสร้างกลุ่มธุรกิจของ TIPH ธุรกิจหลักยังคงเป็นธุรกิจประกันภัย ที่บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญ และประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน ในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 75% ของทรัพย์สินรวมของกลุ่มบริษัท โดยมีบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP เป็นบริษัทที่เป็นแกนกลางของกลุ่มภายใต้ TIPH โดยที่โครงสร้างธุรกิจประกันภัยของTIPH จะมีการแบ่งแยกและจำกัดความเสี่ยงของแต่ละสายธุรกิจอย่างชัดเจน ประกอบด้วย ธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย (Non-Life Insurance) ธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย (Life Assurance) ธุรกิจประกันภัยในต่างประเทศ(International Insurance) และธุรกิจที่สนับสนุนธุรกิจประกันภัย (Insurance Supporting) ขณะที่ธุรกิจอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือกลุ่มประกันภัย อาจจะขยายการลงทุนไปในอนาคตในสัดส่วนไม่เกิน 25% ของทรัพย์สินรวมของกลุ่มบริษัท แต่ต้องเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของธุรกิจหลัก และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มธุรกิจของ TIPH ด้วย

“บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าการจัดโครงสร้างกลุ่มธุรกิจดังกล่าว นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการจัดการองค์กรให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจในแต่ละประเภทธุรกิจแล้ว จะช่วยให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ที่เกิดจากการพัฒนากลุ่มธุรกิจให้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน (Specialization) อย่างแท้จริง รวมทั้งจะส่งผลให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) จากการจัดตั้งหน่วยธุรกิจที่ให้การสนับสนุนกับบริษัทในเครือ (Shared Services) ขึ้นมา โดยเป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากหน่วยงานสนับสนุนธุรกิจที่ถือว่าเป็นจุดแข็งที่เป็นข้อได้เปรียบ (Unique Competencies) ของ TIP อยู่แล้ว เช่น การให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการให้บริการสรรหาและพัฒนาบุคลากร หน่วยงานวิจัยและพัฒนา เป็นต้น” ดร.สมพร กล่าว

โดยที่กลยุทธ์หลักในการขยายธุรกิจของ TIPH จะอยู่บนเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรมใหม่ (Innovation) ในแต่ละกลุ่มธุรกิจประกันภัยของบริษัทฯ เพื่อทำเกิดการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Exponential Growth) และการเติบโตที่ยั่งยืน (Sustainable Growth) ควบคู่กันไป โดยมุ่งเน้นการขยายการลงทุนในธุรกิจประกันภัยและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประกันภัยทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Alliance) การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) และการควบรวมและการเข้าซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions) รวมทั้งผ่านการแยกหน่วยธุรกิจของบริษัทในกลุ่มที่มีศักยภาพออกเป็นบริษัทใหม่ (Spin-Off) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มธุรกิจของ TIPH

สำหรับแผนการขยายธุรกิจใน 12 เดือนข้างหน้า บริษัทฯ มีแผนการดำเนินการชัดเจนแล้วตามที่ได้แจ้งกับผู้ถือหุ้นไประหว่างช่วงเวลาการทำ Tender Offer ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการจัดตั้งหรือเข้าซื้อกิจการที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนธุรกิจประกันภัย 2-3 ธุรกิจ รวมทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งบริษัทประกันภัยใหม่ หรือการเข้าซื้อกิจการที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อรองรับการแยกหน่วยธุรกิจที่มีศักยภาพของบริษัทในกลุ่มออกเป็นบริษัทใหม่ (Spin-Off) อีกอย่างน้อย 1 ธุรกิจด้วย

“ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าภายใต้โครงสร้างกลุ่มธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจประกันภัย และโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่ง โดยที่ปัจจุบัน บมจ.ปตท. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ จะทำให้ TIPH สามารถเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจประกันภัยไปสู่มิติใหม่ ที่สามารถสร้างประโยชน์สูงสุดของประชาชนในฐานะผู้เอาประกันภัยและสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้แก่ผู้ถือหุ้นในอนาคตได้” ดร.สมพร กล่าว

 


Tags : ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ TIPH ทิพยประกันภัย TIP ดร.สมพร สืบถวิลกุล


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารเตรียมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์การเงินการคลังของไทย ในงาน MOF Journey: 150 ปี เส้นทางการคลังไทย ในโอกาสครบรอบ 150 ปี กระทรวงการคลัง โดยจัดโปรโมชันเงินฝากเพื่อส่งเสริมการออมสำหรับงานนี้เท่านั้น เริ่มต้นด้วยเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 150 วัน อัตราดอกเบี้ยแบบ Step up เฉลี่ย 2.55% ต่อปี หรือเทียบเท่าเงินฝากประจำ 3.00% ต่อปี จองสิทธิ์ภายในงาน จำนวนจำกัด วันละ 150 สิทธิ์ และ 1 คนต่อ 1 สิทธิ์ และพลาดไม่ได้กับแคมเปญแห่งปี “ออมร้อย ชิงร้อยล้าน” ฝากสลากออมสินพิเศษ 1 ปี ลุ้นรับรางวัลพิเศษมูลค่ารวม 100 ล้านบาท แบ่งเป็น รางวัลพิเศษ มูลค่า 1 ล้านบาท งวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 จำนวน 30 รางวัล และรางวัลพิเศษ มูลค่า 70 ล้านบาท งวดวันที่ 16 กรกฎาคม 2568 เพียง 1 รางวัลเท่านั้น สำหรับผู้ฝากสลากตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 15 กรกฎาคม 2568 หรือเลือกฝากสลากออมสินพิเศษ / สลากดิจิทัล แบบ 2 ปี พร้อมรับของที่ระลึก นอกจากนี้ยังมี เงินฝาก Smart Junior เพื่อเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 7 – 23 ปีบริบูรณ์ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.50% ต่อปี และได้รับอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2.10% ต่อปี เมื่อมียอดเงินฝากคงเหลือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอย่างต่อเนื่อง โดย 24 เดือนแรก รับดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มขึ้น 0.10% ทุก 2 เดือน สูงสุดไม่เกิน 1.60% ต่อปี และรับดอกเบี้ยโบนัสเพิ่มขึ้น 0.50% ใน 6 เดือนสุดท้าย ระยะเวลาฝากรวม 30 เดือน เปิดบัญชีขั้นต่ำ 1 บาท และเปิดบัญชีเงินฝาก 100 บาทขึ้นไป รับกระปุกออมสินคอลเลกชันพิเศษ GSB Love Earth ภายในบูธยังมีกิจกรรมพิเศษและรับกระปุกออมสิน รวมถึงการแนะนำการลงทะเบียนสินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส นวัตกรรมสินเชื่อสำหรับคนที่ไม่เคยกู้แบงก์ได้มาก่อนอีกด้วย   งานครบรอบ 150 ปี วันสถาปนากระทรวงการคลัง จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อดีต–ปัจจุบัน-อนาคต” เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้เรียนรู้ถึงวิวัฒนาการด้านการคลังของไทยที่มีบทบาทในการพัฒนาประเทศตั้งแต่อดีตสู่ภารกิจการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มั่งคงและยั่งยืนในอนาคต ภายในงานยังเป็นการร่วมแสดงพลังความสามัคคี การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อการบริการประชาชนและการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานในสังกัด จึงขอเชิญชวนร่วมสัมผัสนวัตกรรมและบริการทางการเงินที่น่าสนใจ ทั้งจากบูธธนาคารออมสิน และหน่วยงานต่าง ๆ ในระหว่างวันที่ 1 - 3 พฤษภาคม 2568 ณ Hall 3 – 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  

30 Apr 2025

...

บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ก้าวสู่ผู้นำด้านความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจ โดยได้รับการเลื่อนสถานะเป็น CAC Change Agent จากองค์กรแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ซึ่งเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โปร่งใส ปกป้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเผยแพร่ไปยังคู่ค้าให้มีห่วงโซ่อุปทานที่ใสสะอาด กรุงเทพประกันชีวิต เชื่อมั่นในพลังความใส่ใจและมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านการคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) เป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ความสำเร็จครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อองค์กรรวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ โดยกรุงเทพประกันชีวิตจะยังคงมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจต่อไป

30 Apr 2025

...

พลเอก ณัฐวุฒิ นาคะนคร รองผู้บัญชาการทหารบก รับมอบเงินสนับสนุนโครงการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่กำลังพลกองทัพบกที่ปลดพิการทุพพลภาพและครอบครัว ประจำปี 2568 จากนายเด่นพงษ์ เจษฎาวิริยะ  ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมอาชีพ พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการให้มีความเท่าเทียมในสังคม ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยในปี 2568 บริษัทฯ ให้การสนับสนุนกำลังพลกองทัพบกและครอบครัวรวม 29 ราย เป็นจำนวนเงิน 3,493,050 บาท โดยบริษัทฯ ร่วมสนับสนุนโครงการฯ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน รวมเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 32,282,060 บาท

27 Apr 2025

...

นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ พร้อมด้วย ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH ร่วมแถลงผลการดำเนินงาน พร้อมตอบข้อซักถามจากผู้ถือหุ้น ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบ Hybrid Meeting ณ ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา และผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 การประชุมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย  โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานในอัตราหุ้นละ 2.60 บาท โดยบริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 1.60 บาท  และจะจ่ายส่วนที่เหลืออีกในอัตราหุ้นละ 1.00 บาท ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568  โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 11 มีนาคม 2568 นอกจากนี้ คณะผู้บริหารได้เผยถึงกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยครอบคลุมทั้งธุรกิจประกันภัยซึ่งเป็นแกนหลัก กลุ่มธุรกิจสนับสนุน และกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและต่อเนื่องให้กับผู้ถือหุ้น พร้อมเดินหน้านำพาองค์กรสู่การเป็น Sustainable Company อย่างแท้จริงในระยะยาว  

26 Apr 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner