Responsive image

Tuesday, 11 Feb 2025

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


เลขาธิการ คปภ. สรุปผลงานเด่นต่อเนื่อง 8 ปี นำ คปภ. และภาคอุตฯประกันภัยไทยก้าวข้าม Digital Disruption ทะยานสู่มาตรฐานสากล พร้อมส่งต่อภารกิจให้เลขาฯ คปภ. ท่านใหม่

Wed 12/07/2566


ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) สรุปผลงานเด่น ๆ ตลอด 8 ปี ในตำแหน่งและฉายภาพทิศทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยภายใต้บริบทใหม่เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ในงาน Press Conference : the new landscape of insurance supervision towards sustainable growth เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า รีสอร์ท กาญจนบุรี ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีผลงานเด่นที่ได้ดำเนินการมากมาย อาทิเช่น สะสางปัญหาการบริหารที่ค้างอยู่และปรับปรุงโครงสร้างสำนักงาน คปภ. เป็นผลสำเร็จ เป็นกำลังสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์และเตรียมความพร้อมจนสาขาประกันภัยไทยสามารถผ่านการประเมินภาคการเงิน (Financial Sector Assessment Program : FSAP) โดยได้คะแนนประเมินเป็นลำดับที่ 2 ของ ASEAN และเป็นลำดับที่ 4 ของโลก

นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกในการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย Center of Insurtech, Thailand (CIT) จนมีผลงานมากมาย ริเริ่มการจัดให้มีรางวัล OIC InsurTech Awards เพื่อเฟ้นหาสุดยอด InsurTech ของไทยเป็นครั้งแรกและให้จัดเป็นประจำทุกปี นำอุตสาหกรรมประกันภัยทยานสู่มิติดิจิทัลในระดับสากลด้วยการริเริ่มจัดงาน Thailand InsurTech Fair (TIF) ต่อเนื่องทุกปี ปรับเพิ่มวงเงินคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. เชื่อมโยงข้อมูลแบบ Real-time เพื่อตรวจสอบการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับการชำระภาษีรถประจำปี การยืนหยัดช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ประกันภัยโควิดแบบเจอจ่ายจบให้รอดพ้นจากปัญหาการถูกบอกเลิกกรมธรรม์ฯ จนตัวเองต้องถูกฟ้องคดี ขับเคลื่อนการพัฒนาฐานข้อมูลด้านการประกันภัย (Insurance Bureau System : IBS) พัฒนา Application “ME Claim” พัฒนา OIC Gateway เชื่อมต่อกับ Chatbot “คปภ. รอบรู้” ในรูปแบบ AI บนแพลตฟอร์ม LINE ทำให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่ายและให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง พัฒนา Super Application ด้านประกันภัยในชื่อ “กรมธรรม์ของฉัน หรือ “MyPolicy” สำหรับให้ประชาชนใช้ตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัย นอกจากนี้ ยังเป็นผู้จุดประกายโครงการ 1 ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ พัฒนากรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (Micro Insurance) จนมาสู่ประกันภัยอุบัติเหตุที่มีเบี้ยประกันภัย 7 บาท และ 10 บาท ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเว็บไซต์เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ประกันภัยภายใต้ชื่อ “กูรูประกันภัย” จุดประกายและขยายผลโครงการ Insurance Regulatory Sandbox : IRS ผลักดันการแก้ไขกฎหมายแม่บทด้านประกันภัยจนยกร่างสำเร็จและผ่านความเห็นชอบจาก ครม. โดยร่างกฎหมายในกลุ่มที่ 1 ได้รับการตราเป็นกฎหมายและมีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งครอบคลุมถึงความผิดฐานใหม่คือการฉ้อฉลประกันภัย อีกทั้งยังออกคำสั่งนายทะเบียนที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นการลดเบี้ยประกันภัยหากมีการติดตั้งกล้องติดรถยนต์ และปรับปรุงเงื่อนไขระดับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเพื่อป้องกันกรณีเมาแล้วขับ ฯลฯ

ส่วนภารกิจที่ได้เริ่มแล้วแต่ยังไม่แล้วเสร็จและจำเป็นต้องฝากให้เลขาธิการ คปภ. ท่านใหม่สานต่อมี 4 มิติ คือ มิติที่ 1 ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลโดยต้องทำให้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลมีความยืดหยุ่นและกำกับเท่าที่จำเป็นให้สอดคล้องกับกติกาสากล ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินโครงการ Regulatory Guillotine เพื่อทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายอนุบัญญัติ ปรับปรุงกฎหมายแม่บทว่าด้วยการประกันภัย ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปรับปรุงการทำ Stress Test และ Scenario Analysis ของสำนักงาน คปภ.   

ทั้งนี้ งานที่เริ่มแล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จยังรวมถึงการสานต่อการผลักดันร่างกฎหมายแม่บทด้านประกันภัยที่ผ่านความเห็นชอบของ ครม. แล้ว แต่ยังค้างอยู่ คือ ร่าง พ.ร.บ. กลุ่มที่ 2 การเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท และร่าง พ.ร.บ. กลุ่มที่ 3 ส่งเสริมการควบโอนกิจการและความรับผิดของกรรมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทประกันภัย โดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะเพิ่มบทลงโทษ สำหรับผู้บริหารบริษัทประกันภัยที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนด้านการประกันภัย ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงาน คปภ. ทำได้เพียงเข้าควบคุมธุรกรรมการเงินเพื่อป้องกันการโยกย้ายทรัพย์สินหรือมีการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือผู้ถือกรมธรรม์โดยกองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) แต่ไม่มีบทลงโทษทางกฎหมายสำหรับการละเมิดหรือทุจริตในธุรกิจประกันภัยสำหรับผู้บริหารบริษัทประกันภัยอย่างจริงจัง  หากการแก้ไขกฎหมายและเพิ่มบทลงโทษเป็นผลสำเร็จก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดฉ้อฉลประกันภัย และบริษัทประกันภัยจะตื่นตัวในการรับผิดชอบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนและผู้เอาประกันภัย

นอกจากนี้ จำเป็นต้องสานต่อการผลักดันร่าง พ.ร.บ. ประกันภัยทางทะเลเป็นกฎหมาย เพื่อให้ประเทศไทยมีกฎหมายประกันภัยทางทะเลบังคับใช้เป็นของตัวเอง ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีธุรกรรมการประกันภัยเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเล แต่ไม่มีกฎหมายประกันภัยทางทะเลของไทยใช้เอง หลายกรณีต้องนำของประเทศอังกฤษมาปรับใช้ ปัจจุบันร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจาก ครม. และอยู่ในขั้นตอนการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจวนจะแล้วเสร็จ ซึ่งหากประเทศไทยมี พ.ร.บ. ประกันภัยทางทะเลฉบับแรกของประเทศไทย ก็จะเกิดความชัดเจนในการใช้กฎหมายสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยทางทะเล ตลอดจนภาคการประกันภัยเกิดความชัดเจนในการดำเนินการและสามารถลดความเสี่ยงหากเกิดวิกฤตได้ในอนาคต

 

มิติที่ 2 ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้กับภาคธุรกิจประกันภัยมุ่งไปสู่ Digital Insurance อย่างเต็มรูปแบบโดยต้องเร่งส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยมีและใช้เทคโนโลยีอย่างจริงจัง ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพและต่อยอดการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลกลางด้านประกันภัย (Insurance Bureau System : IBS) ต่อยอดโครงการจัดตั้งศูนย์บริหารและพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกันภัยแห่งชาติ (National Insurance Bureau : NIB) ขยายขอบเขตการให้บริการข้อมูลและควบรวมฐานข้อมูล “ประกันชีวิต-วินาศภัย” สู่ Big data เพื่อยกระดับและเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัยในระดับสากล โดยที่ NIB จะเป็นศูนย์ที่รวมข้อมูลประกันภัย ทั้งประกันวินาศภัยและประกันชีวิต จากระบบ IBS ทั้งสองระบบ และใช้ประโยชน์จาก OIC Gateway ระยะที่ 2 จาก My Policy สู่ My Portfolio ต่อยอดโครงการ Insurance Regulatory Sandbox เป็น Smart Sandbox เพิ่มบทบาทเพื่อยกระดับศูนย์ Center of InsurTech, Thailand (CIT) ให้เป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีประกันภัย พัฒนาเครื่องมือในการประเมินระดับความพร้อมด้านการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Resilience Assessment Framework : CRAF)

 

รวมทั้งต้องเร่งขับเคลื่อนระบบประกันภัยไทยไปสู่ดิจิทัล เพื่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวของธุรกิจประกันภัยให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล และในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในยุคที่เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาระบบประกันภัยดิจิทัลจึงมีความสำคัญต่อธุรกิจประกันภัยเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีผลต่อประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้า ลดต้นทุนดำเนินการ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาดสากล ซึ่งจำเป็นต้องนำนวัตกรรม Tech Trends มาใช้กับการให้บริการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย ทั้งนี้บริษัทประกันภัยจำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มองหาช่องทางการเติบโต ไม่ว่าจะผ่านบริการรูปแบบใหม่ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ หรือมุ่งเน้นที่การป้องกันมากขึ้น รวมทั้งทำให้ผู้เอาประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยหากมีการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้แม่นยำบริษัทประกันภัยก็จะสามารถ Tailor Made แผนและเบี้ยประกันภัยให้เหมาะสมกับผู้เอาประกันภัยแต่ละรายได้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพช่องทางดิจิทัล รวมทั้งขยายระบบนิเวศการขายให้มีประสิทธิภาพ

และยังมีภารกิจที่รอการสานต่อในการทำให้ประเทศไทยเป็น InsurTech hub สำหรับภูมิภาคอาเซียน หากสำเร็จจะเป็นก้าวสำคัญในการนำพาอุตสาหกรรมประกันภัยของไทยก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและเติบโตของภาคธุรกิจ InsurTech ในภูมิภาค ตลอดจนเพิ่มศักยภาพในการให้บริการประกันภัยที่มีคุณภาพแก่ผู้บริโภคในภูมิภาคที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยศูนย์ CIT จะเป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีด้านการประกันภัยให้กับประเทศในกลุ่ม CLMV เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็น InsurTech Startup Hub ที่เชื่อมโยงเครือข่ายภาคธุรกิจ Startups และ Tech firms ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมนวัตกรรมการปรับเปลี่ยนทางด้านกฎหมายและการสร้างระบบที่สนับสนุนการเติบโตของ InsurTech ด้วย

มิติที่ 3 ขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยมุ่งสู่ Sustainable Insurance โดยต้องดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ภาคธุรกิจประกันภัยมุ่งสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง ทั้งการกำกับดูแลบริษัทประกันภัยเชิงรุก (Forward looking and Pro-active Intervention) การส่งเสริมให้บริษัทมีความมั่นคงทางการเงิน และเสริมสร้างศักยภาพให้พร้อมรองรับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย การพิจารณารับประกันภัย การเสนอขายไปจนถึงการจัดการค่าสินไหมทดแทน

นอกจากนี้ การเชื่อมโยงและลิงก์ข้อมูลต่าง ๆ ด้านประกันภัยในอาเซียน ทั้งการพัฒนาระบบการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประกันภัยในภูมิภาค และการแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรระหว่างประกันภัยในภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการเติบโตและความยั่งยืนของธุรกิจประกันภัยของไทย จะทำให้ธุรกิจประกันภัยของไทยมีความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน

มิติที่ 4 ยกระดับการกำกับดูแลและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย โดยต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับการกำกับดูแลเพื่อเตรียมการรองรับมาตรฐานสากลที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งยกระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพัฒนาเครื่องมือใหม่ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการกำกับดูแล (SupTech) ยกระดับแนวทางการตรวจสอบและกำหนดแนวทางพัฒนาระบบงานตรวจสอบบริษัทประกันภัย (Onsite Examination System: OES) เพื่อรองรับการดำเนินการตรวจสอบ ณ ที่ทำการ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยด้วยเทคโนโลยี พัฒนาระบบในการให้บริการและให้ข้อมูลด้านการประกันภัยแก่ประชาชน เช่น ระบบการติดตามเรื่องร้องเรียนและส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชนผ่าน Mobile Application ยกระดับระบบบริการสายด่วน คปภ. 1186 เป็น Cloud system ต่อยอดระบบ PPMS ระยะที่ 2 โดยเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างภาคธุรกิจประกันภัยและสำนักงาน คปภ. เข้าด้วยกันทั้งระบบ ต่อยอดระบบสารสนเทศที่ใช้ในกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัยมาสู่ระบบ E-Arbitration ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วมีความคืบหน้าแล้ว แต่เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

“ในระยะแรกที่ผมเข้ามาดำรงตำแหน่งได้เน้นการแก้ไขปัญหาด้านบริหารภายในองค์กรที่คั่งค้างมานานจนเป็นผลสำเร็จ จากนั้นก็ขับเคลื่อนการปรับปรุงกฎหมายแม่บทต่าง ๆ อย่างเต็มพิกัด จนสามารถยกร่างสำเร็จและผ่านความเห็นชอบของ ครม. แล้ว รวมทั้งเตรียมการเข้ารับการประเมิน FSAP จนสามารถสอบผ่านได้เป็นลำดับที่ 2 ของอาเซียน ส่วนการขับเคลื่อนเรื่องฐานข้อมูลและดิจิทัลเทคโนโลยีก็ได้ดำเนินการควบคู่กันไปจนสามารถตั้งไข่ได้และมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ได้กำหนดนโยบายและเดินหน้าการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ภายใต้ Mission เพื่อให้องค์กรนี้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง โดยภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งคือการพยายามทำให้ประกันภัยเป็นเรื่องที่คนทุกระดับสามารถเข้าถึงได้ และถ้าเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นสำนักงาน คปภ. ต้องเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือได้ทันที ต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง คงหลักการสำคัญของการประกันภัย แต่ต้องมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนรวดเร็วเท่าทันกับสถานการณ์ มุ่งกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรม ภายใต้หลักคิด จะทำอย่างไรให้ “ประกันภัย” อยู่ในใจ “ประชาชน” มาวันนี้ สำนักงาน คปภ. เดินมาได้ไกลเกินครึ่งทางแล้ว และคงต้องฝากไปถึงท่านเลขาธิการ คปภ. ท่านใหม่ที่จะเข้ามาดูแลบ้าน “คปภ.” หลังนี้ช่วยสานต่อและต่อยอดหลายสิ่งที่ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น หากได้รับการพัฒนาสำเร็จเต็ม Scale ประโยชน์สูงสุดก็จะตกแก่ประชาชนและประเทศชาติ” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย


Tags : คปภ. สำนักงาน คปภ. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ผลงานเด่นคปภ. อุตสาหกรรมประกันภัยไทย


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารออมสินประสบความสำเร็จในการริเริ่มพัฒนานำเอา ESG Score มาใช้ประเมินระดับ ESG ของลูกค้าสินเชื่อ เน้นกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ พร้อมทั้งทำโปรแกรม Positive Engagement เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์จะได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นกรณีพิเศษ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 ในปี 2568 นี้ ธนาคารได้ขยายขอบเขตการดำเนินงานให้ครอบคลุมลูกค้ากลุ่มธุรกิจ SME โดยได้เปิดตัว โครงการ Positive Engagement Program ครั้งที่ 1 ภายใต้แนวคิด “SME Gear Up ติดปีกธุรกิจด้วย ESG” มีเป้าหมายเพื่อขยายผลการสร้าง Social Impact และสนับสนุนการดำเนินงานตามแผน Net Zero Roadmap ของธนาคาร โดยตั้งเป้าสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำเอากรอบแนวคิด ESG ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากการที่สถาบันการเงินมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการใช้เกณฑ์ด้านความยั่งยืนในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ตามทิศทางการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรม SME Gear Up ติดปีกธุรกิจด้วย ESG เปิดให้ผู้ประกอบการ SME ที่ดำเนินงานสอดคล้องหรือมีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจโดยใช้แนวคิด ESG สมัครเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME ของธนาคารออมสิน มีวงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 50 – 250 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการ SME ทั่วไป มีรายได้รวม 100 - 500 ล้านบาทต่อปี โดยผู้ประกอบการ SME ที่สมัครและผ่านการคัดเลือกในรอบแรก จะได้เข้าร่วมกิจกรรม SME Onboarding การอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในประเด็น ESG ผ่านมุมมองของธุรกิจ การศึกษา ESG Standard ตลอดจนการรับฟังกรณีศึกษาจากผู้ประกอบการ SME ต้นแบบ (Learn from the lead) ที่มีการดำเนินงานด้าน ESG อย่างเป็นรูปธรรมจนประสบความสำเร็จ และการนำเสนอไอเดียธุรกิจ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดไอเดียธุรกิจ SME ลุ้นรับเงินรางวัลรวมมูลค่า 660,000 บาท โดยผู้ประกอบการ SME ที่ร่วมโครงการ ยังจะได้รับสิทธิพิเศษในการทำธุรกรรม/ยื่นสินเชื่อกับธนาคาร พร้อมรับประกาศนียบัตร ตรารับรองคุณวุฒิ และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจ สามารถกรอกแบบฟอร์มใบสมัครออนไลน์ ด้วยการสแกน QR Code บนสื่อประชาสัมพันธ์ของกิจกรรมฯ หรือทางเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th โดยสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งนี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ธนาคารออมสิน โทร 02-299-8000 ต่อ 810319 - 22 หรือ 998892 (ภายในเวลาทำการ)  

05 Feb 2025

...

  รายงานข่าวจากธนาคารออมสินแจ้งว่า ตามที่มีการแพร่ระบาดของมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ด้วยการส่งจดหมายปลอม แอบอ้างใช้โลโก้ ชื่อธนาคาร รวมถึงชื่อผู้บริหารของธนาคาร ส่งไปยังลูกค้าประชาชนโดยระบุว่า ไม่สามารถโอนเงินสินเชื่อเข้าบัญชีของลูกค้าได้ เนื่องจากลูกค้ากรอกข้อมูลบัญชีธนาคารไม่ถูกต้อง ทำให้บัญชีถูกอายัด ไม่สามารถทำธุรกรรมใด ๆ ได้จนกว่าจะดำเนินการตามที่มิจฉาชีพแอบอ้าง หากไม่ปฏิบัติตามจะทำให้ไม่ได้รับวงเงินสินเชื่อ รวมถึงมีความผิดตามกฎหมาย ติดแบล็คลิสต์ และถูกยึดทรัพย์ ธนาคารออมสินขอยืนยันว่า “จดหมายดังกล่าวเป็นจดหมายปลอม ธนาคารไม่มีนโยบายส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แจ้งให้ลูกค้าแก้ไขข้อมูลเลขบัญชีทุกกรณี รวมถึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ระบุในจดหมายแอบอ้างดังกล่าว” โดยขณะนี้ ธนาคารอยู่ในระหว่างการติดตามสถานการณ์ และดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มมิจฉาชีพที่แอบอ้างและกระทำการข้างต้น ธนาคารออมสิน จึงขอเน้นย้ำลูกค้าประชาชนถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพรายต่อไป เบอร์แปลก หลอกคุย ตัดสายทิ้ง ลิงก์ไม่กด และเมื่อได้รับการติดต่อโดยอ้างชื่อธนาคาร หรือมีความไม่แน่ใจ ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดด้วยตนเองก่อนทุกครั้งกับช่องทางของธนาคารออมสิน อาทิ เว็บไซต์ www.gsb.or.th, แอปพลิเคชัน MyMo, เฟซบุ๊ก GSB Society, LINE Official Account : GSB NOW และ GSB Contact Center โทร. 1115  

23 Jan 2025

...

  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดให้บริการโอนเงินต่างประเทศ ผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile เพื่อให้ลูกค้าสามารถโอนเงินไปต่างประเทศให้บุตรหลาน ครอบครัว ตลอดจนชำระค่าสินค้าและบริการได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile สะดวก รวดเร็ว เพียงเข้ารายการโอนเงินและเลือกโอนเงินต่างประเทศ โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขา ครอบคลุมทั่วโลก รองรับ 3 สกุลเงิน ประกอบด้วย ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ยูโร (EUR) และบาทไทย (THB)  (สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) วงเงินทำธุรกรรมไม่เกิน 150,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อวันต่อคน อัตราค่าธรรมเนียมและเวลาการให้บริการเป็นไปตามธนาคารกำหนด เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2568  เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ Call Center 02 555 0555

19 Jan 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เป็นมาตรการช่วยลดภาระหนี้ เพิ่มสภาพคล่องให้ลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs ที่ปกติมีวินัยดี แต่อาจเกิดเหตุจำเป็นในการประคับประคองชีวิตและธุรกิจ ทำให้ประสบปัญหาการผ่อนชำระ ซึ่งการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว จะทำให้ลูกหนี้หมดภาระหนี้ได้เร็วขึ้น และป้องกันไม่ให้ลูกหนี้เปลี่ยนสถานะเป็น NPLs ไม่สูญเสียทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ธนาคารจึงขอเน้นย้ำให้ลูกหนี้สินเชื่อเคหะ สินเชื่อบ้านแลกเงิน หรือสินเชื่อ SMEs ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท และเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 1 ปี รักษาสิทธิประโยชน์ รีบตรวจสอบสิทธิ์และลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือที่แอปพลิเคชัน MyMo ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป กำหนดลงทะเบียนวันสุดท้ายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ลงทะเบียนแล้ว ขอให้จัดทำสัญญาการเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่แอป MyMo หรือ ติดต่อสาขาธนาคารออมสินที่ขอกู้ ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2568 เป็นต้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ GSB Contact Center โทร. 1115 กด 99

16 Jan 2025

Banner Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner