Responsive image

Monday, 05 May 2025

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


สำนักงาน คปภ. ผนึกพลัง 4 สมาคม จัดเรตติ้งพฤติกรรม “ตัวแทน-นายหน้าประกันภัย” พร้อมใจเปิดโครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย

Thu 25/04/2567


นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิด “โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย” พร้อมด้วย นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน และผู้แทนนายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย ผู้บริหารสำนักงาน คปภ. และสื่อมวลชน ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร

 

เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่เป็นคนกลางในการชักชวนหรือชี้ช่องจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย ซึ่งถือว่า “คนกลางประกันภัย” เป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยและที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางปกครองด้วยการเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย และทางอาญาด้วยการดำเนินคดีฉ้อฉลประกันภัยกับตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับมาตรการป้องปรามมิให้ตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย สำนักงาน คปภ. จึงริเริ่มแนวทางป้องกันการฉ้อฉลประกันภัยโดยตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยจัดทำโครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย โดยสายกฎหมายและคดี ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (Center of InsurTech Thailand) หรือศูนย์ CIT ของสำนักงาน คปภ. ร่วมกันพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการฉ้อฉลประกันภัยโดยคนกลางประกันภัยตั้งแต่ต้นน้ำ โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการพิจารณาออกใบอนุญาตเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยเพื่อคัดกรองบุคคลเข้ามาเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยในธุรกิจประกันภัย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี โดยทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์ในการป้องปรามการฉ้อฉลประกันภัยที่สร้างความเสียหายแก่ภาพรวมของธุรกิจประกันภัย ในขณะเดียวกันก็เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของการประกันภัยและคนกลางประกันภัย รวมถึงการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยและประชาชนอีกด้วย

 

สำหรับแนวทางพิจารณาการออกใบอนุญาตเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยรูปแบบใหม่นั้น นอกจากจะพิจารณาตามกฎหมายประกันชีวิตและประกันวินาศภัยที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องไม่มีประวัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย หรือมีประวัติอาชญากรรมในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัดแล้ว บริษัทประกันภัยจะต้องตรวจสอบข้อมูลผู้ขอรับใบอนุญาตฯ ในระบบดังกล่าวด้วย ซึ่งก่อนที่บริษัทประกันภัยจะตรวจสอบข้อมูลในระบบก็จะต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กล่าวคือ บริษัทประกันภัยจะต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลจากตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่ต้องการตรวจสอบ ก่อนที่จะนำเลขบัตรประชาชนของผู้ขอรับใบอนุญาตฯ ที่ให้ความยินยอมมาขอตรวจสอบประวัติที่เกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย หรือการเพิกถอน/พักใช้ใบอนุญาตของตัวแทนหรือนายหน้าในระบบดังกล่าว เมื่อระบบประมวลผลแล้ว ก็จะแสดงผลการตรวจสอบว่าผู้ขอรับใบอนุญาตฯ นั้น มีพฤติกรรมอยู่ในระดับการเฝ้าระวังลำดับใด โดยในระบบดังกล่าวแบ่งระดับความร้ายแรง ออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับหนึ่ง สีแดง กรณีตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยอยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตครั้งล่าสุดไม่เกินระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ระดับสอง สีส้ม กรณีตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตครั้งล่าสุด เกิน 5 ปีเต็ม นับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หรือ กรณีบริษัทประกันภัยรายงานว่าเป็นบุคคลมีพฤติกรรมที่เป็นการฉ้อฉลประกันภัย เข้ามายังระบบรายงานการฉ้อฉลประกันภัยของสำนักงาน คปภ. ทั้งนี้ เป็นกรณีที่มีหลักฐานชัดแจ้ง หรือมีการแจ้งความดำเนินคดีแล้ว ระดับสาม สีเหลือง กรณีมีบริษัทประกันภัยรายงานว่าตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยนั้น เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมที่อาจจะเป็นการฉ้อฉลประกันภัย เข้ามายังระบบรายงานการฉ้อฉลประกันภัยของสำนักงาน คปภ. หรือมีการร้องเรียนและอยู่ในระหว่างการสอบสวนของสำนักงาน คปภ. และระดับสี่ สีเขียว กรณีตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยไม่มีประวัติด่างพร้อย กล่าวคือ ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต และไม่พบประวัติที่บริษัทประกันภัยรายงานเข้ามาว่าบุคคลนั้น มีพฤติกรรมที่เป็นการฉ้อฉลประกันภัยหรืออาจจะเป็นการฉ้อฉลประกันภัย

ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยสามารถรับตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยที่อยู่ในกลุ่มสีส้มและสีเหลือง ให้เป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยในสังกัดได้ เนื่องจากสำนักงาน คปภ. ไม่ได้บังคับหรือจำกัดสิทธิ เนื่องจากข้อมูลจากระบบดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลประกอบให้บริษัทประกันภัยบริหารความเสี่ยงและพิจารณากลั่นกรองก่อนรับบุคคลเข้ามาเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยในสังกัดของบริษัทประกันภัย

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.)


เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยยับยั้งและป้องกันการฉ้อฉลประกันภัยจากตัวแทนและนายหน้าประกันภัยที่จะเข้าสู่ธุรกิจประกันภัยในอนาคต และช่วยกำหนดแนวทางการดำเนินการของบริษัทประกันภัยให้อยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยง รวมถึงการจัดการเรื่องความรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน กรณีบริษัทประกันภัยได้พิจารณาตกลงรับตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยที่มีประวัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย หรือมีประวัติอาชญากรรมในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เข้ามาเป็นตัวแทน หรือนายหน้า ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะทำการพัฒนาต่อยอดระบบดังกล่าวควบคู่ไปด้วย เช่น การเตรียมพัฒนาระบบเพื่อให้รองรับการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทั้งระบบภายในของสำนักงาน คปภ. และระบบของหน่วยงานภายนอก เช่น ระบบทะเบียนใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัย/ผู้ประเมินวินาศภัย (e-Licensing) ของสายตรวจสอบคนกลางประกันภัย และระบบจัดการเรื่องร้องเรียนของสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ (PPMS) และระบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับประวัติอาชญากรรม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและพิจารณาคัดกรองตัวแทนและนายหน้าประกันภัยก่อนเข้าสู่ธุรกิจประกันภัย

 


Tags : คปภ. สำนักงาน คปภ. ชูฉัตร ประมูลผล โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย คปภ.ผนึกพลัง 4 สมาคม ตัวแทน-นายหน้าประกันภัย


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารเตรียมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์การเงินการคลังของไทย ในงาน MOF Journey: 150 ปี เส้นทางการคลังไทย ในโอกาสครบรอบ 150 ปี กระทรวงการคลัง โดยจัดโปรโมชันเงินฝากเพื่อส่งเสริมการออมสำหรับงานนี้เท่านั้น เริ่มต้นด้วยเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 150 วัน อัตราดอกเบี้ยแบบ Step up เฉลี่ย 2.55% ต่อปี หรือเทียบเท่าเงินฝากประจำ 3.00% ต่อปี จองสิทธิ์ภายในงาน จำนวนจำกัด วันละ 150 สิทธิ์ และ 1 คนต่อ 1 สิทธิ์ และพลาดไม่ได้กับแคมเปญแห่งปี “ออมร้อย ชิงร้อยล้าน” ฝากสลากออมสินพิเศษ 1 ปี ลุ้นรับรางวัลพิเศษมูลค่ารวม 100 ล้านบาท แบ่งเป็น รางวัลพิเศษ มูลค่า 1 ล้านบาท งวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 จำนวน 30 รางวัล และรางวัลพิเศษ มูลค่า 70 ล้านบาท งวดวันที่ 16 กรกฎาคม 2568 เพียง 1 รางวัลเท่านั้น สำหรับผู้ฝากสลากตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 15 กรกฎาคม 2568 หรือเลือกฝากสลากออมสินพิเศษ / สลากดิจิทัล แบบ 2 ปี พร้อมรับของที่ระลึก นอกจากนี้ยังมี เงินฝาก Smart Junior เพื่อเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 7 – 23 ปีบริบูรณ์ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.50% ต่อปี และได้รับอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2.10% ต่อปี เมื่อมียอดเงินฝากคงเหลือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอย่างต่อเนื่อง โดย 24 เดือนแรก รับดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มขึ้น 0.10% ทุก 2 เดือน สูงสุดไม่เกิน 1.60% ต่อปี และรับดอกเบี้ยโบนัสเพิ่มขึ้น 0.50% ใน 6 เดือนสุดท้าย ระยะเวลาฝากรวม 30 เดือน เปิดบัญชีขั้นต่ำ 1 บาท และเปิดบัญชีเงินฝาก 100 บาทขึ้นไป รับกระปุกออมสินคอลเลกชันพิเศษ GSB Love Earth ภายในบูธยังมีกิจกรรมพิเศษและรับกระปุกออมสิน รวมถึงการแนะนำการลงทะเบียนสินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส นวัตกรรมสินเชื่อสำหรับคนที่ไม่เคยกู้แบงก์ได้มาก่อนอีกด้วย   งานครบรอบ 150 ปี วันสถาปนากระทรวงการคลัง จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อดีต–ปัจจุบัน-อนาคต” เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้เรียนรู้ถึงวิวัฒนาการด้านการคลังของไทยที่มีบทบาทในการพัฒนาประเทศตั้งแต่อดีตสู่ภารกิจการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มั่งคงและยั่งยืนในอนาคต ภายในงานยังเป็นการร่วมแสดงพลังความสามัคคี การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อการบริการประชาชนและการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานในสังกัด จึงขอเชิญชวนร่วมสัมผัสนวัตกรรมและบริการทางการเงินที่น่าสนใจ ทั้งจากบูธธนาคารออมสิน และหน่วยงานต่าง ๆ ในระหว่างวันที่ 1 - 3 พฤษภาคม 2568 ณ Hall 3 – 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  

30 Apr 2025

...

บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ก้าวสู่ผู้นำด้านความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจ โดยได้รับการเลื่อนสถานะเป็น CAC Change Agent จากองค์กรแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ซึ่งเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โปร่งใส ปกป้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเผยแพร่ไปยังคู่ค้าให้มีห่วงโซ่อุปทานที่ใสสะอาด กรุงเทพประกันชีวิต เชื่อมั่นในพลังความใส่ใจและมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านการคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) เป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ความสำเร็จครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อองค์กรรวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ โดยกรุงเทพประกันชีวิตจะยังคงมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจต่อไป

30 Apr 2025

...

พลเอก ณัฐวุฒิ นาคะนคร รองผู้บัญชาการทหารบก รับมอบเงินสนับสนุนโครงการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่กำลังพลกองทัพบกที่ปลดพิการทุพพลภาพและครอบครัว ประจำปี 2568 จากนายเด่นพงษ์ เจษฎาวิริยะ  ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมอาชีพ พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการให้มีความเท่าเทียมในสังคม ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยในปี 2568 บริษัทฯ ให้การสนับสนุนกำลังพลกองทัพบกและครอบครัวรวม 29 ราย เป็นจำนวนเงิน 3,493,050 บาท โดยบริษัทฯ ร่วมสนับสนุนโครงการฯ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน รวมเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 32,282,060 บาท

27 Apr 2025

...

นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ พร้อมด้วย ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH ร่วมแถลงผลการดำเนินงาน พร้อมตอบข้อซักถามจากผู้ถือหุ้น ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบ Hybrid Meeting ณ ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา และผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 การประชุมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย  โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานในอัตราหุ้นละ 2.60 บาท โดยบริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 1.60 บาท  และจะจ่ายส่วนที่เหลืออีกในอัตราหุ้นละ 1.00 บาท ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568  โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 11 มีนาคม 2568 นอกจากนี้ คณะผู้บริหารได้เผยถึงกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยครอบคลุมทั้งธุรกิจประกันภัยซึ่งเป็นแกนหลัก กลุ่มธุรกิจสนับสนุน และกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและต่อเนื่องให้กับผู้ถือหุ้น พร้อมเดินหน้านำพาองค์กรสู่การเป็น Sustainable Company อย่างแท้จริงในระยะยาว  

26 Apr 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner