Responsive image

Wednesday, 28 May 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


คปภ. ย้ำหมุด “กลุ่มคนพิการ” ต้องเข้าถึงระบบประกันภัย พร้อมให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย ผ่านโครงการ “คปภ. เพื่อคนพิการ ประจำปี 2563”

Fri 09/10/2563


ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการ “คปภ. เพื่อคนพิการ ประจำปี 2563” เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ณ หอประชุมบัวหลวง ศูนย์ประชุมมหาไถ่ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยมีภาคอุตสาหกรรมประกันภัย อาทิ สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน  สมาคมการค้าผู้สำรวจภัยไทย  กองทุนประกันชีวิต กองทุนประกันวินาศภัย กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ผู้บริหารบริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย และนางสาวกาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า หรือน้องเกรซ ร่วมกิจกรรมออกบูธเคลื่อนที่เพื่อให้ความรู้ด้านประกันภัยแก่กลุ่มคนพิการในครั้งนี้อย่างคึกคัก โดยมีนายธรรมศักดิ์ รัตนธัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ให้การต้อนรับและกล่าวขอบคุณสำนักงาน คปภ. และภาคอุตสาหกรรมประกันภัยที่เล็งเห็นความสำคัญในการนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงภัยให้กับกลุ่มคนพิการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของคนพิการจึงได้มีแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2560 - 2564) โดยมุ่งเน้นให้คนพิการและองค์กรด้านผู้พิการมีศักยภาพและความเข้มแข็งพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ขจัดการเลือกปฏิบัติเพื่อให้ผู้พิการเข้าถึงสิทธิได้จริง เสริมสร้างความเข้าใจและเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการและความพิการ สร้างสภาพแวดล้อม และบริการสาธารณะที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงส่งเสริมการบูรณาการเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อสนองนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อผู้พิการ สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมถึงการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมจากระบบประกันภัย โดยที่ผ่านมาได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน คปภ. กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในการบูรณาการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยให้กับคนพิการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัยจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคนพิการขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ภายใต้ชื่อ “กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุเพื่อคนพิการสำหรับรายย่อย” (ไมโครอินชัวรันส์) ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่มีเบี้ยประกันภัยราคาถูกเริ่มต้นเพียง 300 บาทต่อปี (หรือเพียงวันละ 1 บาทเท่านั้น) โดยรับประกันภัยสำหรับผู้พิการใน 3 ประเภท คือ กลุ่มผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย กลุ่มผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อสาร  และกลุ่มผู้พิการทางการมองเห็น  คุ้มครองกรณีการเสียชีวิต เนื่องจากอุบัติเหตุ ไม่รวมการถูกฆาตกรรม ลอบทำร้ายร่างกายและ/หรืออุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จำนวน 100,000 บาท กรณีเสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรม ลอบทำร้ายร่างกายและ/หรืออุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จำนวน 50,000 บาท ค่าจัดงานศพกรณีเสียชีวิตเนื่องจากการเจ็บป่วย 5,000 บาท (ยกเว้นกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 120 วันแรก นับจากวันเริ่มต้นเอาประกันภัย) รวมถึงผลประโยชน์ชดเชยเงินปลอบขวัญในกรณีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 วัน จำนวน 5,000 บาท (ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย) และค่าชดเชยรายได้ระหว่างรับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี ปัจจุบันมีบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนกว่า 30 บริษัท

โครงการ “คปภ. เพื่อคนพิการ ประจำปี 2563” เป็นหนึ่งในมาตรการด้านการคุ้มครองผู้พิการด้วยระบบประกันภัย ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรูปแบบคาราวานอุตสาหกรรมประกันภัยในการลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจด้านการประกันภัยและรับฟังสภาพปัญหาในการเข้าถึงระบบประกันภัยของกลุ่มคนพิการ โดยมีเป้าหมายลงพื้นที่ 4 แห่ง คือ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี  ศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ  ศูนย์พัฒนาศักยภาพคนตาบอด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และมูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 

“โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการดี ๆ ที่สำนักงาน คปภ. จัดขึ้นเพื่อคนพิการให้สามารถเข้าถึงระบบประกันภัย และทำให้ทุกภาคส่วนของสังคมไทย รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เข้าใจคนพิการมากขึ้น เพราะคนพิการก็คือประชาชนคนหนึ่งที่มีความเสี่ยงภัยและมีความต้องการในการเข้าถึงระบบประกันภัยเหมือนกับบุคคลทั่วๆ ไป
 

ดังนั้นผลิตภัณฑ์ประกันภัยจะต้องตอบโจทย์ความต้องการของคนพิการอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากภาคอุตสาหกรรมประกันภัย นอกจากนี้สำนักงาน คปภ. ยังมีแนวคิดที่จะเชื่อมต่อสายด่วน คปภ. 1186 เข้ากับสายด่วนคนพิการ 1479 เพื่อบูรณาการข้อมูลระหว่างกัน และเพิ่มเติมข้อมูล ตลอดจนตอบข้อสงสัยเรื่องประกันภัยให้กับคนพิการ อันจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติที่ต้องการให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงสิทธิได้จริง ดำรงชีวิตอิสระในสังคม อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตด้วยระบบประกันภัย” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย


Tags : คปภ. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ คปภ.ให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย ผ่านโครงการ “คปภ. เพื่อคนพิการ ประจำปี 2563” สายด่วน คปภ. 1186 สายด่วน 1479


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ตามที่รัฐบาลโดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบนโยบายให้สถาบันการเงินของรัฐ ช่วยเหลือภาคธุรกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา ผ่านการลดเป้าหมายกำไรทางธุรกิจเพื่อนำเม็ดเงินงบประมาณมาจัดทำโครงการ/มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบการนั้น   นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารจึงได้เร่งรัดดำเนินการ ประกาศลดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่มสินเชื่อธุรกิจที่เป็นลูกค้าปัจจุบันของธนาคาร ในอัตรา 2 - 3% ต่อปี สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกธุรกิจ Supply Chain และผู้ผลิตสินค้าที่ต้องมีการแข่งขันสูงกับสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ เนื่องจากนโยบายกำแพงภาษีฯ ส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนสินค้าไทยเพิ่มขึ้น การส่งออกชะลอตัว และอาจทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงจนนำไปสู่ปัญหาการขาดสภาพคล่อง และกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม การลดดอกเบี้ยจะช่วยลดภาระต้นทุนทางการเงิน เสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจสามารถประคองตัวและดำเนินกิจการต่อไปได้ในช่วงเวลาที่ท้าทาย มาตรการลดดอกเบี้ยสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา ครอบคลุมลูกค้าปัจจุบันกลุ่มสินเชื่อธุรกิจธนาคารออมสินทุกประเภทที่มีสถานะบัญชีปกติ โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกที่ได้รับผลกระทบ ธุรกิจ Supply Chain และผู้ผลิตที่ต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ ลดดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 3% ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม ระยะเวลาการลดดอกเบี้ย ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่จัดทำนิติกรรมสัญญา ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด ลูกค้าที่เข้าหลักเกณฑ์สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่ สาขาธนาคารออมสินที่มีบัญชีเงินกู้ ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2568 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center โทร. 1115  

25 May 2025

...

SME D Bank เผยผลตรวจสุขภาพธุรกิจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านระบบ Business Health Check ในแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   พบจุดอ่อนสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบริหารการเงิน  ด้านจัดการนวัตกรรม-เทคโนโลยี และด้านการตลาด  ประกาศเดินหน้าช่วย “เติมความรู้คู่เงินทุน” เสริมศักยภาพให้เข้มแข็ง ปิดจุดอ่อน สามารถก้าวผ่านอุปสรรคได้ในทุกสถานการณ์   นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า จากที่ SME D Bank มีบริการ “ตรวจสุขภาพทางธุรกิจ” หรือ “Business Health Check”  แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านแพลตฟอร์ม DX by SME D Bank (dx.smebank.co.th)  เพื่อให้รับรู้ข้อมูลและเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนในกิจการตัวเอง ก่อนนำไปสู่การเติมทักษะ ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งได้ตรงกับความต้องการของแต่ละกิจการ  ทั้งนี้  ระยะเวลาประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ารับบริการตรวจสุขภาพทางธุรกิจ รวมกว่า 9,200 กิจการ  พบทักษะ 3 ด้านที่เป็นจุดอ่อนสำคัญ ได้แก่  อันดับ 1  ด้านการบริหารจัดการเงิน  ระดับคะแนนประเมินผลอยู่ที่ 1.8 จากคะแนนเต็ม 5 ตามด้วย อันดับ 2  ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี (2.6 คะแนน) และอันดับ 3 ด้านการสื่อสารการตลาด (3.6 คะแนน) โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกขนาดธุรกิจ ล้วนมีจุดอ่อนใน 3 ด้านนี้เหมือนกัน แตกต่างกันในรายละเอียดและความซับซ้อนในทักษะที่ต้องพัฒนา   สำหรับด้านการบริหารจัดการเงิน กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (Micro) มีคะแนนต่ำที่สุด ส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญของการทำบัญชี ไม่แยกเงินส่วนตัวกับธุรกิจ ไม่เข้าใจหลักการบัญชีเบื้องต้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการคำนวณกำไรขาดทุน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุน  ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก (Small) มีการบันทึกข้อมูลทางการเงิน แต่ขาดเครื่องมือหรือการลงทุนในระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงขาดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อวางแผนระยะยาว ขณะที่ ผู้ประกอบการขนาดกลาง (Medium) ต้องการทักษะการวิเคราะห์ทางการเงินที่ซับซ้อนขึ้น และในหลายกิจการขาดการบูรณาการข้อมูล ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผู้ประกอบการรายย่อย ไม่รู้ว่ามีเทคโนโลยีอะไรที่ช่วยธุรกิจเล็กๆ ได้บ้าง และยังไม่สามารถเชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยีด้านการตลาดได้อย่างเต็มศักยภาพ ส่วนผู้ประกอบการขนาดเล็ก ไม่รู้ว่าเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมรูปแบบใดเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง และไม่มีแผนหรือนโยบายที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของธุรกิจ รวมถึงไม่กล้ารับความเสี่ยงที่จะล้มเหลวจากการลงทุนในนวัตกรรม  สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลาง ไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมนวัตกรรมได้อย่างแท้จริง ด้านการสื่อสารการตลาด ผู้ประกอบการรายย่อย  ขาดทักษะในการใช้ Social Media ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการตลาด รวมถึงไม่เข้าใจการตลาดพื้นฐาน ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก  ขาดทักษะในการใช้เครื่องมือและการวิเคราะห์ข้อมูลการตลาด ไม่รู้วิธีวัดผลลัพธ์จากการทำการตลาด ทำให้กระทบต่อการวางแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลาง ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดเชิงลึกและการบูรณาการข้อมูลจากทุกช่องทาง ทั้งนี้ ผลการตรวจสุขภาพทางธุรกิจ พบว่า ในภาพรวม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยมีทักษะที่เข้มแข็ง  2 ด้าน ได้แก่ การบริหารประสิทธิภาพการผลิตหรือบริการ และการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งเป็นศักยภาพที่ควรเสริมให้แกร่งขึ้นในยุคที่ความไม่แน่นอนสูง การบริหารจัดการต้นทุนทำได้ยากขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการประสิทธิภาพตามแนวทางธุรกิจสีเขียว เพื่อให้กำไรสูงสุดภายใต้เงื่อนไขการปล่อยคาร์บอนต่ำสุด   นายพิชิต กล่าวต่อว่า  จากที่เห็นจุดอ่อนสำคัญของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย  SME D Bank ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐเดินหน้ายกระดับพัฒนาศักยภาพให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ผ่านบริการ “เติมความรู้คู่เงินทุน” ช่วยเสริมศักยภาพในหลากหลายรูปแบบ เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ปิดจุดอ่อนใน 3 ด้านดังกล่าว สำหรับด้านการพัฒนาผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน จัดโครงการพัฒนาทั้งออนไซต์ควบคู่ออนไลน์ เช่น โครงการ “ทุนก็มี ภาษีก็รู้ ก้าวสู่ความยั่งยืน” จับมือกรมสรรพากร   ให้ความรู้ด้านการเงิน ในรูปแบบ One Stop Service ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โครงการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยี โครงการสนับสนุนด้านการตลาด เช่น สอนการสร้างคอนเทนต์ด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ กิจการ SME D Market รวมถึง Business Matching ช่วยเพิ่มรายได้ขยายตลาด เป็นต้น อีกทั้ง มีบริการแพลตฟอร์ม DX by SME D Bank (dx.smebank.co.th) ช่วยเพิ่มศักยภาพธุรกิจครบวงจร ใช้บริการได้สะดวกสบาย ตลอด 24 ชม. เช่น  E-Learning รวบรวมหลักสูตรความรู้เพิ่มศักยภาพการประกอบธุรกิจ ทั้งการบริหารจัดการธุรกิจ นวัตกรรม เทคโนโลยี มาตรฐาน การตลาด การเงิน และเตรียมพร้อมเข้าถึงแหล่งเงินทุน  , SME D Coach ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำธุรกิจจากโค้ชมืออาชีพ  , E-marketplace ช่วยขยายช่องทางขยายตลาด และเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ และ Privilege สิทธิประโยชน์เพื่อยกระดับธุรกิจ เป็นต้น ควบคู่กับให้บริการด้านการเงิน ช่วยให้มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อลงทุน ปรับปรุง ขยายกิจการ  หมุนเวียน หรือลดต้นทุนทางการเงิน เป็นต้น  จุดเด่นอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3%ต่อปี  คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน  ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถแจ้งความประสงค์ใช้บริการด้านการพัฒนาและการเงินได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น  แพลตฟอร์ม DX by SME D Bank , LINE Official Account : SME Development Bank และเว็บไซต์ www.smebank.co.th  เป็นต้น  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357   

24 May 2025

...

บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นำโดย นางสาวอรนาฎ นชะพงษ์ (ที่ 4 จากขวา) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์การตลาดและบริหารจัดการลูกค้า พร้อมด้วยนายแพทย์วิรุณ เกียรติคุณรัตน์ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บริการการแพทย์ ร่วมงานแถลงข่าว “BDMS Preventive Vaccine” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลในเครือ BDMS กับบริษัทประกันชีวิตชั้นนำในการจัด “โครงการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในราคาพิเศษ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันอย่างยั่งยืนในกลุ่มผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ณ ห้องประชุมเรเดียน โรงแรมเมอวินพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรุงเทพประกันชีวิต ใส่ใจและมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อน และลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในระยะยาว จึงเข้าร่วม “โครงการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในราคาพิเศษ” โดยลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพของกรุงเทพประกันชีวิต สามารถขอรับการบริการฉีดวัคซีนจากโรงพยาบาลเครือบีดีเอ็มเอสได้ในราคาเดียวทั่วประเทศ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท กลุ่มโรงพยาบาลเปาโล โดยวัคซีนที่ให้บริการประกอบด้วย วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์  สำหรับผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไป             ราคา      500       บาท วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์  สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 15 ปี         ราคา      700       บาท วัคซีนงูสวัด (2 เข็ม)                                                                             ราคา  11,500      บาท วัคซีนปอดอักเสบ 1 เข็ม (Prevnar20)                                                 ราคา    3,500      บาท วัคซีนไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ (2 เข็ม) สำหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป    ราคา    3,900     บาท ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวรวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาล แต่ไม่รวมค่ายาอื่นๆ และค่ารักษาพยาบาล หรือค่าบริการปรึกษาทางการแพทย์เพิ่มเติม ผู้สนใจสามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลในเครือ BDMS โดยโทรนัดหมายที่โรงพยาบาลที่ต้องการรับบริการล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และแสดงหลักฐานกรมธรรมประกันสุขภาพ หรือ บัตรผู้เอาประกันภัยแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก่อนรับบริการ โดยมีระยะเวลาการรับสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2568

16 May 2025

...

  ตามที่รัฐบาลโดย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้สถาบันการเงินเข้าช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะ กลุ่มผู้ปกครองที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ทั้งค่าชุดเครื่องแบบนักเรียน หนังสือ อุปกรณ์การเรียน และอื่น ๆ ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ เพื่อเสริมสภาพคล่อง ลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยได้เข้าถึงการศึกษาอย่างต่อเนื่อง นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารได้ออกมาตรการ “สินเชื่อธนาคารประชาชนต้อนรับเปิดเทอม” ที่ผ่อนเกณฑ์อนุมัติให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และเป็นการเดินหน้าภารกิจเชิงสังคมในการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม สำหรับผู้ปกครองที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนในการเตรียมความพร้อมแก่บุตรหลานในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่เพียง 0.60% ต่อเดือน วงเงินกู้ตามความจำเป็นสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 1 ปี (12 งวด) ผ่อนชำระประมาณ 894 บาทต่อเดือน (รวมเงินต้นและดอกเบี้ย) ทั้งนี้ สำหรับผู้มีอาชีพ รายได้ และที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถยื่นขอสินเชื่อโดยไม่ต้องมีหลักประกัน ผ่านแอปพลิเคชัน MyMo หรือติดต่อธนาคารออมสินสาขาเพื่อขอคำแนะนำในการสมัครสินเชื่อ ได้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2568  

08 May 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner