Responsive image

Sunday, 27 Apr 2025

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


“คปภ.” ปลุกพลังบุคลากร มุ่งสู่การเป็นองค์การชั้นนำ ภายใต้แนวคิด “ทันโลก ก้าวไกล ร่วมใจ ใฝ่คิด พิชิตเป้าหมาย”

Mon 04/01/2564


เลขาธิการ คปภ. ปลุกพลังบุคลากรสำนักงาน คปภ. มุ่งสู่การเป็นองค์กรชั้นนำบุคลากรมีศักยภาพสูง กระบวนการทำงานมีความคล่องตัว และขับเคลื่อนด้วยฐานข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายใต้แนวคิด“ทันโลก ก้าวไกล ร่วมใจ ใฝ่คิด พิชิตเป้าหมาย”
 


ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาพนักงาน คปภ. ประจำปี 2563 ภายใต้แนวคิด OIC 5G – ปลุกไฟ..ให้ลุกโชน “ทันโลก ก้าวไกล ร่วมใจ ใฝ่คิด พิชิตเป้าหมาย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินงานปี 2563 และแนวทางการดำเนินงานในปี 2564 พร้อมมอบนโยบายให้กับพนักงานและลูกจ้าง สำนักงาน คปภ. ณ โรงแรม เดอะ กรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า ในช่วงปี 2563 สำนักงาน คปภ. ต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ มากมาย ทั้งการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID – 19 ที่ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในยุค New Normal แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสในการปรับกระบวนการและวิธีการทำงานแบบใหม่ ภายใต้การรักษาระยะห่างทางสังคม Social distancing โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงความร่วมแรงร่วมใจของพนักงานและภาคธุรกิจประกันภัย ที่ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยก้าวผ่านความท้าทายต่าง ๆ ได้ด้วยดี โดยผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยจัดทำผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆ (New Product Development) ที่ตอบสนองพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน หรือตามภูมิภาคหรือพื้นที่เฉพาะ ส่งเสริมการเข้าถึงระบบประกันภัยและการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านประกันภัยแก่ประชาชน การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านประกันภัย โดยเฉพาะกรณีการเกิดอุบัติภัยรายใหญ่ การจัดทำแนวทางปฏิบัติในการเตรียมพร้อมรองรับ พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ ทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายอนุบัญญัติ Regulatory Guillotine Project เพื่อลดละ เลิกกฎหมายที่ล้าสมัย หรือไม่จำเป็น การพัฒนาระบบงาน OIC Gateway การพัฒนาแอพพลิเคชั่นคนกลาง ForSure และการเพิ่มหลักเกณฑ์เรื่อง Digital Face to Face การเพิ่มช่องทาง OIC Chatbot เพื่อตอบปัญหาด้านการประกันภัย การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎร์กับกรมการปกครอง และข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับกับกรมการขนส่งทางบก การกำหนดทิศทางให้ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (CIT) เป็น One Stop Service ด้านการประกันภัย มุ่งสู่การเป็น InsurTech Hub ของภูมิภาคอาเซียน การพัฒนานวัตกรรมด้านการประกันภัย ใน SandBox การเตรียมความพร้อมสำหรับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 (IFRS17) เรื่องสัญญาประกันภัย จัดทำข้อเสนอแนะหรือแนวปฏิบัติ (Guidelines) ประเมินความพร้อมและผลกระทบ (Gap and Impact Analysis) ทั้งของบริษัทประกันภัยและสำนักงาน คปภ. ส่งเสริมให้ระบบประกันภัยเข้าไปบริหารความเสี่ยงให้กับภาครัฐ เป็นต้น

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับนโยบายการดำเนินงานในปี 2564 ต้องเร่งขับเคลื่อนดำเนินการ ตามทิศทางยุทธศาสตร์ เป้าหมายที่คาดหวัง และกิจกรรมที่สำคัญ (Top Priorities) ตามแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 ซึ่งเป็นนโยบายในการกำหนดทิศทางและนโยบายในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทย เพื่อให้ “ระบบประกันภัยไทยมีความมั่นคง ยั่งยืน และแข่งขันได้ในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าถึงการประกันภัยและใช้ประโยชน์ในการรองรับความเสี่ยง” แผนยุทธศาสตร์สำนักงาน คปภ. ระยะ 3 ปี ที่เป็นเสมือนเข็มทิศกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ที่มีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมและเท่าทันกับสภาพแวดล้อมในอนาคต แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 3 (IT Master Plan) เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรกำกับดูแลดิจิทัลที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน ลดการใช้กระดาษ (Paperless) และใช้เทคโนโลยีและข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจและสนับสนุนการปฏิบัติงานและให้บริการประชาชน และแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ระยะ 3 ปี เพื่อพัฒนาและยกระดับการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ และเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานภายใต้ธีม “SMART HR, SMART People, SMART OIC”โดยดำเนินการให้ครอบคลุมใน 4 มิติ คือ 1) มิติการปรับเปลี่ยน โดยการปรับเปลี่ยนและเพิ่มมิติการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับมือความเสี่ยงใหม่ และสอดคล้องกติกาสากล อาทิ ศึกษามาตรการและแนวทาง (Policy tools) ในด้านผลิตภัณฑ์ประกันภัย การลงทุน และเงินกองทุน พัฒนากระบวนการกำกับดูแลแบบอัตโนมัติ รวมถึงพัฒนาฐานข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการกำกับและตรวจสอบธุรกิจประกันภัย และส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการดำเนินธุรกิจและการลงทุนที่สะท้อนแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) อย่างเป็นรูปธรรม 2) มิติการเชื่อมั่น โดยสร้างความเชื่อมั่นและปลูกฝังค่านิยมด้านการประกันภัยด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยและกลไกที่เป็นธรรม พัฒนาเครื่องมือ วิธีการและช่องทางใหม่ๆ ในการให้ความรู้ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัยให้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้การประกันภัยสอดแทรกเข้าไปในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนและการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนมากขึ้น ยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานของคนกลางประกันภัย และจัดทำมาตรฐานหรือแนวปฏิบัติในการให้บริการด้านการประกันภัยที่ดี รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือของสำนักงาน คปภ. ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย ทั้งในด้านการพัฒนาระบบงาน กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว ฐานข้อมูลที่เชื่อมโยง

 

3) มิติการก้าวล้ำ โดยสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยปรับตัวให้ทันกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปรับปรุงหลักเกณฑ์และกระบวนการทดสอบนวัตกรรมในโครงการ Insurance Regulatory Sandbox ให้มีความยืดหยุ่นและรวดเร็ว พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันภัย (Insurance Bureau System: IBS) และฐานข้อมูลการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (Claim Database) พัฒนากรอบและเครื่องมือในการประเมินความพร้อมด้านการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Resilience assessment framework: CRAF) และสร้างกลไกความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานกำกับดูแลและผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคการเงิน ขยายบทบาท CIT ให้เป็น One Stop Service สำหรับบริษัทประกันภัยและ Startup รวมถึงสร้างเครือข่ายและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการประกันภัย และ 4) มิติการพัฒนา โดยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยและความสามารถในการรับความเสี่ยงภัยที่สอดคล้องกับภูมิทัศน์ความเสี่ยง (Risk Landscape) ของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น (time to market) ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความต้องการและรูปแบบการดำรงชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งเสริมและขยายผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จำเป็นและตอบสนองความต้องการของประชาชนที่หลากหลายมากขึ้น ผลักดันการประกันสุขภาพภาคเอกชน (Private Health Insurance) และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดอุปสรรคและปัญหาของการประกันสุขภาพ และนำประกันสุขภาพไปต่อยอดสวัสดิการรักษาพยาบาล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการประกันสุขภาพได้อย่างแพร่หลาย ในราคาที่เหมาะสม ศึกษาความเป็นไปได้และกำหนดแนวทางในการเพิ่มบทบาทของการประกันภัยในการรองรับความเสี่ยงของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ ศึกษาและพัฒนาแนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพในการรับเสี่ยงภัยของประเทศในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทความเสี่ยง และความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย

 

ในโอกาสนี้ ยังได้เชิญคุณอรพิมพ์ รักษาผล หรือ คุณเบส วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก มาบรรยายพิเศษหัวข้อ “ปลุกพลังชีวิต พิชิตเป้าหมาย” เพื่อปลุกกระตุ้นพลังและไฟในการทำงาน รวมถึงการเสริมสร้างทัศนคติ ความรัก ความภูมิใจในองค์กร และการรวมพลังกันของพนักงานเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายร่วมกันในอนาคต นอกจากนี้ ในช่วงบ่ายได้จัดให้มีกิจกรรม CSR โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ร่วมกิจกรรมทำประโยชน์เพื่อสังคม ได้แก่ กิจกรรมบำรุงศาสนาและทำความสะอาดห้องน้ำ ณ สำนักปฏิบัติธรรมวัดคลองตาลอง และกิจกรรมทำความสะอาดสถานที่ ให้อาหารช้าง และบริจาคสิ่งของที่จำเป็น ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เขาใหญ่ ส่วนกิจกรรมในช่วงเย็น เป็นการแสดงมุทิตาจิตให้กับผู้ที่เกษียณอายุประจำปี 2563 ซึ่งปีนี้มี ผู้เกษียณอายุจำนวน 11 คน โดยเลขาธิการ คปภ. ได้มอบโล่เกียรติคุณ ของที่ระลึก และกล่าวขอบคุณแก่พนักงานเกษียณที่ได้ทุ่มเททำงานให้กับสำนักงาน คปภ. อย่างเต็มความสามารถมาโดยตลอด จากนั้นได้จัดกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความรักความสามัคคีระหว่างพี่น้องชาว คปภ.


 

“การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผ่านทุกมิติต้องตั้งอยู่บนรากฐานที่สำคัญ คือ การมุ่งสู่การเป็นองค์กรชั้นนำ บุคลากรมีศักยภาพสูง กระบวนการทำงานมีความคล่องตัว และขับเคลื่อนด้วยฐานข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไปพร้อมกับความร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี และความมุ่งมั่นทุ่มเทของพนักงานสำนักงาน คปภ. ทุกคน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายสูงสุด มุ่งสู่การเป็น Digital Insurance Regulator ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง ได้รับความน่าเชื่อถือจากประชาชน และสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติและประชาชนต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย



 


Tags : คปภ. ดร.สุทธิพลทวีชัยการ โควิด-19 NewNormal นโยบายการดำเนินงานในปี2564คปภ.


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ พร้อมด้วย ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH ร่วมแถลงผลการดำเนินงาน พร้อมตอบข้อซักถามจากผู้ถือหุ้น ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบ Hybrid Meeting ณ ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา และผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 การประชุมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย  โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานในอัตราหุ้นละ 2.60 บาท โดยบริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 1.60 บาท  และจะจ่ายส่วนที่เหลืออีกในอัตราหุ้นละ 1.00 บาท ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568  โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 11 มีนาคม 2568 นอกจากนี้ คณะผู้บริหารได้เผยถึงกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยครอบคลุมทั้งธุรกิจประกันภัยซึ่งเป็นแกนหลัก กลุ่มธุรกิจสนับสนุน และกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและต่อเนื่องให้กับผู้ถือหุ้น พร้อมเดินหน้านำพาองค์กรสู่การเป็น Sustainable Company อย่างแท้จริงในระยะยาว  

26 Apr 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  เดินหน้าสร้างโอกาสเพิ่มรายได้ขยายตลาดให้แก่ลูกค้าธนาคาร โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Special Mention : SM) และผู้ประกอบการกลุ่มเปราะบางจากหน่วยงานพันธมิตร   รวมถึง ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดจับจ่ายใช้สอย ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง  โดยจัดโครงการ  “SME D Market” เปิดพื้นที่บริเวณชั้น 1  สำนักงานใหญ่ SME D Bank อาคาร SME Bank Tower ให้ผู้ประกอบการมาออกบูธจำหน่ายสินค้าเป็นประจำทุก 2 เดือน ครั้งละ 2 วัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยครั้งนี้ กำหนดจัดในวันที่ 24-25 เมษายน 2568  นี้  เวลา 8.00-16.00 น.  ยกทัพผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 50 ราย   มาออกบูธพร้อมมอบโปรโมชันรับหน้าร้อนให้ช้อป ชิมอย่างจุใจ  ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ และเครื่องประดับ  เช่น “ดองบัง” แซลมอนดองซีอิ๊วเกาหลี  , ข้าวมันไก่  “โกป๊อก , โคขุน “จ้าวอาม” เจ้าดังบางขุนนนท์ , น้ำมะพร้าวปั่นนมสด “Coco Layer”  และ ยาสีฟัน “DentaMate” เป็นต้น  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357   

23 Apr 2025

...

  กรุงเทพประกันชีวิต เตรียมจัดงานสัมมนาครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในปี 2568 Bangkok Life Grand Open House นำโดย คุณจักรพงศ์ แสงแก้ว ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายงานตัวแทนและที่ปรึกษาการเงิน ที่จะเปิดบ้านต้อนรับผู้บริหารตัวแทน ตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ตลอดจนผู้มุ่งหวังที่จะเข้าสู่อาชีพนักขายรุ่นใหม่เพื่อร่วมเส้นทางกับงานที่จะทำให้เปลี่ยนชีวิตสู่อิสรภาพทางการเงิน พิเศษ ช่วง Special Talk กับ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ดำเนินรายการชื่อดังของไทยจาก The Standard ในรายการ Morning Wealth และ 8 Minute ที่จะมาร่วมแชร์แนวคิดของ “งานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ: Live a Life Beyond Imagination” ในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2568 ระหว่าง 9.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม ชิน โสภณพนิช ชั้น 11 อาคารสำนักงานใหญ่ กรุงเทพประกันชีวิต (วงศ์สว่าง) พร้อมรับฟังความรู้อีกมากมายจากตัวแทนและที่ปรึกษาการเงินระดับท็อปของกรุงเทพประกันชีวิต ที่จะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์บนเส้นทางแห่งความสำเร็จ พร้อมเปิดมุมมองใหม่กับอาชีพที่สามารถก้าวข้ามทุกข้อจำกัดสู่ชีวิตดี  ๆ แบบที่เคยฝันทั้งรายได้และอิสรภาพในการบริหารเวลา สามารถเติบโตก้าวหน้าได้ตามความสามารถ โดยผู้ร่วมงานคนใหม่ที่ยังไม่มีรหัสตัวแทน รับทันที เสื้อ T- Shirt “งานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ” พร้อมลุ้นของรางวัลมากมายในงาน สำหรับผู้บริหารที่ชวนผู้มุ่งหวังร่วมงาน รับทันทีกระเป๋าชอปปิง 1 ใบ

22 Apr 2025

...

  สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ประชุมร่วมกับเอกชนภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Microsoft Teams Meeting เพื่อหารือแนวทางการเร่งตรวจสอบและออกหลักฐานรับผิดชอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย โดย นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ สำนักงาน คปภ. ประธานที่ประชุม ได้ให้ความสำคัญของการให้บริการตรวจสอบความเสียหายและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเรียกร้องให้บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นพ้องกันว่าจะเร่งดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยเร็วที่สุด ซึ่ง สำนักงาน คปภ. ขอให้ภาคเอกชนรายงานข้อมูลการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ประชาชน ให้สำนักงาน คปภ. ทราบ เพื่อติดตาม ตรวจสอบความถูกต้อง สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการใช้ระบบประกันภัยบริหารความเสี่ยง และได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย ขณะนี้ สำนักงาน คปภ. โดยสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ได้ปฏิบัติงานร่วมกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง โดยได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนด้านการประกันภัย ณ ที่ทำการของสำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ พร้อมให้บริการสายด่วน คปภ. 1186 เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษาเบื้องต้น หรือตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยจากผู้มีสิทธิขอรับข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า “การประชุมในครั้งนี้ เป็นไปตามภารกิจสำคัญของ สำนักงาน คปภ. ที่จะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลประชาชนในยามวิกฤตภัยพิบัติที่รุนแรง จำเป็นต้องมีการติดตามเร่งรัดให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเยียวยาความเสียหายแก่ประชาชนโดยเร็วที่สุด”  

21 Apr 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner