Responsive image

Monday, 28 Oct 2024

หน้าแรก > ราชการ - รัฐวิสาหกิจ / ENERGY - พลังงาน


ดีพร้อม ออกมาตรการเร่งด่วน “พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด” หนุน 5 มาตรการช่วยผู้ประกอบการ ชี้ปี 64 กระตุ้นอุตสาหกรรมกว่า 8,000 ล้านบาท

Fri 06/08/2564


กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เผยผลสำรวจพบ 8 ปัญหาที่ผู้ประกอบการพบเจอในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ประกอบไปด้วย 1. ปัญหาด้านการตลาด 66.82%2. ปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 21.92% 3. ปัญหาด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 13.74%4. ปัญหาด้านวัตถุดิบและปัจจัยเอื้อในการประกอบธุรกิจ 11.40% 5. ปัญหาด้านการเพิ่มผลิตภาพการผลิ 11.28% 6.ปัญหาด้านการจัดการ เช่น การขนส่ง บุคลากร 9.50% 7. ปัญหาด้านต้นทุน 8.16% และ 8. ปัญหาด้านการพัฒนาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 8.16% พร้อมเปิดเร่งแผนระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือเร่งด่วนใน 60 วัน ผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบภายใต้แนวนโยบาย โควิด 2.0 “พร้อมสู้-อยู่ได้-ไปรอด ประกอบด้วย 1) การจัดการโควิดในองค์กร 2) การตลาดภายใต้โควิด 3) เปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นเงินทุน4) สร้างเครือข่ายพันธมิตร และ 5) ปรับโมเดลธุรกิจ ซึ่งทั้ง 5 มาตรการคาดว่าจะคาดว่าจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากผลการดำเนินงานครึ่งปี 2564 ภายใต้นโยบายสติ (STI) ดีพร้อมได้ส่งเสริมไปแล้ว จำนวน 3,061 กิจการ 6,929 คน 21 กลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรม

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19ระลอกใหม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยในวงกว้าง พบว่าหน่วยงานด้านเศรษฐกิจรายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ไทยโต เพียง 1% จากที่ในไตรมาสแรกของปี 2564ที่ตัวเลข 2.6% ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากติดลบ 6.1% ในปี 2563 ขณะเดียวกันสถานการณ์ภาพรวมของเอสเอ็มอีที่มีจำนวน 3.1 ล้านล้านราย ในปี 2564 น่าจะยังคงน่ากังวล เพราะเมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว บริการ และกลุ่มค้าส่งค้าปลีก โดยจากข้อมูลสถิติพบว่า GDP SMEs ในปี 2563 ซึ่งปรับตัวลบ 9.1% และได้ประเมินว่าในปี 2564 คาดว่า จะติดลบที่ 4.8%  อย่างไรก็ตาม ดีพร้อมได้ทำการสำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการณ์รายย่อย เพื่อทราบถึงปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,574 สถานประกอบการ  จากผลสำรวจพบ 8 ปัญหาที่ผู้ประกอบการพบเจอในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ตามลำดับดังนี้ 1. ปัญหาด้านการตลาด 66.82% 2. ปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 21.92% 3. ปัญหาด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 13.74% 4. ปัญหาด้านวัตถุดิบและปัจจัยเอื้อในการประกอบธุรกิจ 11.40%5. ปัญหาด้านการเพิ่มผลิตภาพการผลิต 11.28% 6.ปัญหาด้านการจัดการ เช่นการขนส่ง บุคลากร 9.50%7. ปัญหาด้านต้นทุน 8.16% และ 8. ปัญหาด้านการพัฒนาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 8.16%จากผลสำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการณ์ดังกล่าว ดีพร้อมจึงได้กำหนดแนวทางนโยบายการดำเนินงานในระยะต่อไปในปีงบประมาณ 2564 ภายใต้แนวนโยบายการดำเนินงาน โควิด 2.0 พร้อมสู้-อยู่ได้-ไปรอด ในระยะเร่งด่วนช่วง 60 วัน ดังนี้

 

  1. การจัดการโควิดภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสถานประกอบการปลอดเชื้อ โดยการแนะนำให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อบริหารจัดการสถานประกอบการภายใต้สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19  สำหรับการช่วยเหลือธุรกิจอุตสาหกรรมให้ปลอดภัย โดยเน้นในการสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นแบบองค์รวม ใน 9 หัวข้อวิชา ตั้งแต่ การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและสุขอนามัยการใช้เครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อลดความแออัด การประยุกต์ใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมในการบริหารจัดการให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ไปจนถึงการแชร์ประสบการณ์จากสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019
  2.  การตลาดภายใต้โควิด โดยมุ่งเน้นการดำเนินการตลาดและการขยายตลาดในรูปแบบต่าง ๆประกอบไปด้วย 1) การส่งเสริมการทำการตลาดออนไลน์ภายใต้โครงการ DIProm Marketplaceโดยการสร้างช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค สามารถเข้ามาซื้อ-ขาย สินค้าและบริการดี ๆ มีคุณภาพ และได้รับการคัดสรรจากดีพร้อม และการเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วย Social Commerce 2) การส่งเสริมด้านกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ผ่านการฝึกอบรม eLearning 26 หลักสูตร พร้อมจะมุ่งเน้นการใช้ดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจ และการถ่ายทอดประสบการณ์ของที่ปรึกษาและผู้ประกอบการที่ช่ำชองด้านการตลาดแบบออน์ไลน์ รวมทั้งเคล็ดลับหรือวิธีการเจาะลึกตลาดในอาเซียน จะช่วยเสริมความรู้ให้ผู้ประกอบการ ให้ลองเปิดใจที่จะก้าวออกจากกรอบเดิม ไปสู่ตลาดใหม่อันเป็นโอกาสดีที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ 3) แนวทางการช่วยเหลือด้านการขนส่ง ผ่านโครงการ ดีพร้อมแพคบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์วิถีใหม่ (The Next Diprom Packaging: DipromPack) ด้วยการออกแบบ และพัฒนาบรรจุภัณฑ์สรางสรรค์ที่ตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตแลประกอบธุรกิจใหม่เพื่อลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณธ์ และเพิ่มยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการ 4) แนวทางการตลาดร่วมเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ โดยเตรียมความพร้อมเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนไทยเข้าสู่การรับรองตราสินค้า Made in Thailand หรือ MiT โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผ่านการเสริมสร้างการรับรู้และสร้างโอกาสการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐผ่าน 3 ช่องทาง ประกอบด้วย การรับรอง Made in Thailand (MiT) โดย ส.อ.ท. การขึ้นทะเบียนเอสเอ็มอี Thai SME-GP ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. และการขึ้นบัญชีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Thai GPP ของกรมควบคุมมลพิษ
  3.  เปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นเงินทุน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับเปลี่ยนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นเงินทุนในการประกอบกิจการให้แก่ผู้ประกอบการ โดยการใช้ระบบคลังสินค้าออนไลน์ เพื่อเปลี่ยนเงินทุนด้วยเทคโนโลยี สามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้แก่ผู้ประกอบการผ่านระบบ Google Sheet และ Line OA ซึ่งเป็นมาตรการช่วย SMEs แบบดีพร้อม ด้วยการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อลดต้นทุนต้นทุนด้านโลจิสติกส์ 3 ด้านหลัก ได้แก่ ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง  ต้นทุนการขนส่งสินค้า ต้นทุนการบริหารจัดการ เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  3 มิติ ได้แก่ ต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ ผ่าน โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะให้แก่ผู้ประกอบการ

4. สร้างเครือข่ายพันธมิตร โดยดีพร้อมเป็นผู้จัดสรรและเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรให้แก่ผู้ประกอบการผ่านโครงการสำคัญ ๆ ดังนี้ โครงการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรและผู้แปรรูปโครงการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเพื่อปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่โครงการเชื่อมโยงเครื่องจักรเพื่อแปรรูป (i-Aid) โครงการช่างชุมชนโดยการมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะวิชาชีพให้แก่ช่างในชุมชน

5.ปรับโมเดลธุรกิจ มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมในการดำเนินการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ และการสร้างและพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP) และยังได้ช่วยเสริมทักษะทางการเงิน (Financial Literacy)  ให้แก่ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจและให้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อการตัดสินใจทางการเงินที่ดี นอกจากนี้ดีพร้อมยังได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Business Continuity Plan) ในการดำเนินธุรกิจใหแก่ผู้ประกอบ โดยเน้นการรับมือและสร้างแนวทางการดำเนินธุรกิจกับสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบ

            ทั้งนี้ จากการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม มาตรการเร่งด่วนต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดในระลอกใหม่นี้ ดีพร้อม คาดว่าในปีงบประมาณ 2564จะสามารถช่วยส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการในภาคส่วนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้จำนวนรวม 3,356 กิจการ 11,955 คน 982 ผลิตภัณฑ์ และคาดว่าจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท

“อย่างไรก็ตามจากการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2564 ภายใต้ นโยบาย “สติ (STI)” ที่มุ่งเน้นการพัฒนา3 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย 1) SKILL : ทักษะเร่งด่วน โดยเร่งเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัว  2) TOOL : เครื่องมือเร่งด่วน เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน และ 3) INDUSTRY : อุตสาหกรรมเร่งด่วน สร้างโอกาสจากต้นทุนที่ประเทศไทยมีจุดแข็ง เพื่อเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ครอบคลุมทุกมิติ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือ ดีพร้อม ได้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี เพื่อปรับแผนการดำเนินงานโครงการให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด – 19 สอดคล้องกับมาตรการด้านสาธารณสุข และสอดรับกับการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่เปลี่ยนไปที่กระทบทั้งด้านรายได้ ด้านการจ้างงาน ด้านสภาพคล่องทางการเงิน และเงินทุนหมุนเวียน” นายณัฐพล กล่าวสรุป

  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6865-66  หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.dip.go.th หรือ https://www.facebook.com/dipromindustry

 


Tags : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดีพร้อม ณัฐพล รังสิตพล


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ต่อปี และเพื่อเป็นการสนองนโยบายรัฐบาลในการลดภาระทางการเงินของประชาชนในช่วงนี้ ล่าสุด ธนาคารออมสิน จึงประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท ประกอบด้วย ดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำประเภทเงินกู้ที่มีระยะเวลา (MLR) ลดลงเหลือ 6.900% ต่อปี และดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ลดลงเหลือ 6.745% ต่อปี ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR) ที่มีการลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ต่อปี ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งจะครบกำหนดมาตรการในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 นี้ ก็จะได้รับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน อยู่ที่อัตรา 6.595% ต่อปี และเป็นอัตราดอกเบี้ย MRR ที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ถือเป็นการปรับลดดอกเบี้ย MRR ครั้งที่ 3 ของปีนี้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก จะยังคงตรึงดอกเบี้ยไว้ในอัตราเดิมให้ได้นานที่สุด เพื่อให้ประชาชนมีรายได้จากอัตราดอกเบี้ย ภายใต้ภารกิจเพื่อสังคมในการมุ่งส่งเสริมการออม ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทในครั้งนี้ เป็นการช่วยเหลือลูกค้าเงินกู้ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มฐานราก และกลุ่ม SMEs ในการลดภาระต้นทุนทางการเงิน ให้มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนโดยตรง ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายและมากขึ้น นับเป็นการเดินหน้าตามภารกิจของธนาคารในการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้เกิดกับสังคมอย่างต่อเนื่อง  

25 Oct 2024

...

  ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) พร้อมผู้บริหารและพนักงาน ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย และวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช รัชกาลที่ 5 ด้วยน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เนื่องในวันปิยมหาราช ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร  

24 Oct 2024

...

  ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ลง 0.25% ต่อปี เหลือ 6.35% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ EXIM BANK ใช้สำหรับลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs เทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีหรือ MRR ของธนาคารพาณิชย์   นับเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีที่ต่ำที่สุดในระบบ เพื่อให้ความช่วยเหลือและบรรเทาภาระผู้ประกอบการกลุ่มเปราะบาง และ SMEs สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงการคลังและทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงบทบาทของ EXIM BANK ในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ สามารถปรับตัวรับมือปัจจัยท้าทายและแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลกอย่างยั่งยืน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป การปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ในครั้งนี้ เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ของปีนี้ ซึ่ง EXIM BANK ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องจากต้นปี 2567 รวม 0.40% ต่อปี ถือเป็นการดำเนินมาตรการของ EXIM BANK ในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาภาระหนี้และต้นทุนทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการต่อเนื่องจากมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate 0.25% ต่อปี ตามนโยบายของกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ซึ่งกำลังจะครบกำหนดมาตรการในวันที่ 31 ตุลาคม 2567

24 Oct 2024

...

  บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดตัวแคมเปญสุดพิเศษ "Saving Fest เทศกาลสุดเซฟ...แห่งปี" เพื่อมอบส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 30% แก่ลูกค้าใหม่ที่ซื้อประกันออนไลน์ แคมเปญนี้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ประกันภัยหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยสุขภาพ ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ประกันภัยสัตว์เลี้ยง และประกันภัยอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ง่าย ๆ เพียงกรอกโค้ด SAVE24 ก่อนการชำระเงินที่เว็บไซต์ www.tipinsure.com หรือคลิกที่ลิงก์ https://bit.ly/_SAVE24 เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมและซื้อประกันภัยออนไลน์  ได้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน - 15 พฤศจิกายน 2567   #ทิพยประกันภัย #Dhipaya #Savingfest24  

08 Oct 2024

Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner