Responsive image

Tuesday, 15 Jul 2025

หน้าแรก > SOCIETY / ภาพข่าว - CSR - ข่าวการเมือง


เมืองไทยประกันชีวิต พร้อมด้วยมูลนิธิเมืองไทยยิ้ม ผนึกกำลังกรมกิจการผู้สูงอายุ จัดการอบรมหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ Care Giver

Mon 13/11/2566


เมืองไทยประกันชีวิตและมูลนิธิเมืองไทยยิ้มจับมือกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  จัดอบรม โครงการ การอบรมหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ Care Giver  หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นเบื้องต้น จำนวน 18 ชั่วโมง  เพื่อจัดฝึกอบรมให้กับประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่สนใจให้มีทักษะความรู้ที่จำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุ ตอบรับสถานการณ์การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย

นายสาระ ล่ำซำ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)   กล่าวว่า “ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์  ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง  กับประเทศไทยที่จะต้องท้าทายในหลายด้าน อาทิ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับการจัดการทางการเงินและการออม การจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีจำนวนบุคลากรที่มีความรู้และความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้องไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนขาดการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพในหลายชุมชนและหลายระดับในสังคม  

บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม และกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน โดยจัดโครงการสร้างผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นการจัดฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีทักษะความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ และป้องกันปัญหาการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ ส่งผลให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในสังคมอยู่ในขณะนี้

สำหรับการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น  จำนวน 18 ชั่วโมง เป็นมาตรฐานหลักสูตรกลางของประเทศไทยในการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุสำหรับสมาชิกในครอบครัว อาสาสมัคร ประชาชนทั่วไป หรือผู้ที่สนใจ ซึ่งถูกกำหนดโดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยหลักสูตรดังกล่าวมีกรมกิจการผู้สูงอายุ  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบทำหน้าที่ในการกำกับดูแลหลักสูตร โดยเมื่ออบรมผ่านตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในหลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร สำหรับการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน 

โครงการดังกล่าวได้จัดฝึกอบรมให้กับประชาชนทั่วไป หรือผู้ที่สนใจ รวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทักษะความรู้ที่จำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุ อาทิเช่น การจัดการเวลาและการวางแผนทางการเงินสำหรับผู้สูงอายุ ความรู้ทั่วไปของผู้สูงอายุ สิทธิสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ จิตวิทยาการดูแลสุขภาพใจผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพ การปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น โรคที่พบบ่อยและกลุ่มอาการผู้สูงอายุ อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ รวมถึง ทักษะพื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งหัวข้อการอบรมครอบคลุมในทุกมิติของการดูแลผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ การจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุดังกล่าว จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับตัวผู้สูงอายุเอง สมาชิกในครอบครัวผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่งอาสาสมัครที่เป็นจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในด้านของการเพิ่มพูนทักษะความรู้และเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุในสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ โดยหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุจะช่วยให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งในด้านของการป้องกัน ส่งเสริม และดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในภาวะปกติและฉุกเฉิน การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ การส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการทางสังคม และการสร้างเจตคติที่ดีในการอยู่ร่วมกันกับผู้สูงอายุในสังคม เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง ลดปัญหาการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงในระยะยาว และมีความสุขในการดำเนินชีวิต ตลอดจนช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามาร่วมรับผิดชอบในการดูแลผู้สูงอายุและสร้างสังคมที่น่าอยู่

การจัดอบรมฯ  ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับเกียรติจาก นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น จำนวน 18 ชั่วโมง รุ่นที่ 1 ซึ่งกรมกิจการผู้สูงอายุ ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทุกกลุ่มเป้าหมายในสังคม มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ช่วยส่งเสริมการจัดอบรมสร้างผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับผู้สูงอายุ

ในโอกาสนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งมั่นเดินหน้าสนับสนุนการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นเบื้องต้น จำนวน 18 ชั่วโมง ในรุ่นต่อไป ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด  เพื่อขยายโอกาสในการเสริมสร้างทักษะความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชนต่าง ๆ  และพร้อมสร้างความร่วมมือในการรับผิดชอบ
ต่อสังคมร่วมกันของการดูแลผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน 

 

และนอกจากนี้บริษัทฯ ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จำนวน 420 ชั่วโมง ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ช่วยสร้างผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นมาตรฐานทางวิชาชีพ ทำให้เกิดบุคลากรในสาขาอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุ ที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสาขาอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและให้เกิดรายได้ที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับบุคลากรเหล่านี้ รวมทั้งส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่มีถูกต้องและเหมาะสม  โดยจะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีหลักประกันคุณภาพและการได้รับบริการที่เป็นมาตรฐาน

“การจัดฝึกอบรมและการพัฒนาศักยภาพทักษะในด้านการดูแลผู้สูงอายุมีประโยชน์เป็นอย่างมากทั้งส่วนบุคคล ครอบครัว และสังคม สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่มีคุณภาพและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข สุขภาพร่างกายจิตใจแข็งแรง เสริมสร้างสังคมที่เข้มแข็ง และช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ นับได้ว่าเป็นความร่วมมืออันดีระหว่างกรมกิจการผู้สูงอายุ​ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับบริษัท​ เมืองไทยประกัน​ชีวิต​ จำกัด​ (มหาชน​) และมูลนิธิเมืองไทยยิ้ม ในการร่วมกันสร้างสรรค์สังคมคุณภาพให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน​ต่อไป”  นายสาระ กล่าวสรุป.

 


Tags : เมืองไทยประกันชีวิต MTL สาระ ล่ำซำ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม พิตราภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การอบรมหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ Care Giver ย์


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner