Responsive image

Wednesday, 09 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


กรุงเทพประกันภัย ประกาศแผนปี 2567 ตั้งเป้าเบี้ยฯ 32,500 ล้านบาท เติบโต 8% พร้อมนำหุ้น BKIH เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มความคล่องตัวขยายการลงทุนในธุรกิจ

Tue 09/04/2567


(ภาพจากซ้าย)  คุณชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการ ,  ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BKI


กรุงเทพประกันภัย ต่อยอดความสำเร็จพร้อมขยายสู่โอกาสใหม่ ประกาศแผนปี 2567 ตั้งเป้าเบี้ยฯ 32,500 ล้านบาท มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เข้าใจไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ สู่การฟื้นฟูยกระดับสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรเติบโตแข็งแกร่งมากกว่าเดิม พร้อมนำหุ้น BKIH เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแทนที่หุ้นของกรุงเทพประกันภัย ประมาณช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2567 โดยถือเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญในการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มความคล่องตัวในการขยายการลงทุนในธุรกิจ

 

ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BKI เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2566 ว่า บริษัทฯ สามารถสร้างเบี้ยประกันภัยรับรวมได้ถึง 29,915.7 ล้านบาท เติบโตจากปี 2565 ร้อยละ 12.1 มีกำไรจากการรับประกันภัย 2,070.1 ล้านบาท มีรายได้สุทธิจากการลงทุน 1,299.5 ล้านบาท และบริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,043.8 ล้านบาท โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นงวดสุดท้ายในอัตราหุ้นละ 5.50 บาท รวมทั้งปี 16.75 บาท พร้อมยืนหยัดความแข็งแกร่งทางด้านการเงินด้วยการมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) สูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยอยู่ที่ร้อยละ 185.9 (ณ 30 ก.ย. 66) และรักษาอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินในระดับสูงหรือ Credit Rating A- (Stable) (ณ พ.ย. 66) โดย Standard & Poor’s (S&P) สถาบันการจัดอันดับทางการเงินชั้นนำของโลก

สำหรับแนวโน้มของธุรกิจประกันวินาศภัยในปี 2567 สมาคมประกันวินาศภัยไทยประเมินว่าจะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 5.0 - 6.0 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยได้รับผลบวกจากประกันภัยสุขภาพที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ขณะเดียวกันด้านตลาดที่อยู่อาศัยแม้จะได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจนส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่ด้วยต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นผนวกกับผู้ประกอบการได้เปิดโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้สูงมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการถูกปฏิเสธสินเชื่อน้อยกว่า ทำให้มูลค่าที่อยู่อาศัยต่อหน่วยที่เข้าสู่ระบบประกันภัยปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลบวกต่อเนื่องไปยังเบี้ยประกันอัคคีภัย สำหรับประกันภัยรถยนต์นั้น แม้ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่โดยรวมจะมีแนวโน้มหดตัวลงต่อเนื่องจากปีที่แล้ว แต่ในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) คาดว่าจะยังคงเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งรถยนต์ EV มีอัตราเบี้ยประกันภัยโดยเฉลี่ยที่สูงกว่ารถยนต์ใช้เชื้อเพลิง ส่งผลให้ปริมาณเบี้ยประกันภัยรถยนต์โดยรวมน่าจะยังคงเติบโตได้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประกันวินาศภัยจะได้รับผลกระทบจากมูลค่าการลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะหดตัวลงอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา จากความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 เช่นเดียวกับผลกระทบจากสงครามและความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อ ซึ่งจะส่งผลต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่อาจไม่สามารถเติบโตได้เท่าที่ควร จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการขนส่งสินค้าทางเรือที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางเสี่ยงภัย รวมถึงปัญหา Supply Chain Disruption ที่กระทบต่อการผลิตเพื่อการส่งออก

นอกจากนี้ ธุรกิจประกันวินาศภัยจะยังคงได้รับประโยชน์จากการที่ตลาดรับประกันภัยต่อโดยรวมมีการปรับอัตราเบี้ยประกันภัยขึ้น แม้จะเป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงจากปีที่ผ่านมา และจะยังคงมีแรงกดดันจากภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงและมีความถี่สูงขึ้นจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) โดยเฉพาะภัยจากพายุฝนและน้ำท่วม ตลอดจนต้นทุนการชดใช้ค่าสินไหมทดเเทนที่ยังคงปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ตลาดเริ่มเห็นสัญญาณของอัตราเบี้ยประกันภัยที่คงที่หรือเริ่มลดลงในบาง Segment อันเป็นผลจากการที่ตลาดรับประกันภัยต่อมีกำไรจากการดำเนินงานที่ดีในปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีมหันตภัยขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดค่าสินไหมทดแทนจำนวนมหาศาล รวมถึงการปรับเพิ่มอัตราเบี้ยประกันภัยต่อมาหลายปีติดต่อกัน

2024 Year of Transformation and Embracing Regenerative Approach towards Sustainability

หลังจากในปี 2566 เป็นปีแห่งการ Resilience พลิกฟื้นบริษัทฯ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ให้กลับไปสู่จุดที่แข็งแกร่งและมั่นคงยิ่งกว่าเดิมในทุกมิติ ผ่านการปลูกฝัง Mindset แก่บุคลากรให้เรียนรู้จากวิกฤตเพื่อให้เกิดการพัฒนาและปรับตัวให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงสร้างจิตสำนึกความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้บริษัทฯ สามารถสร้างเบี้ยประกันภัยและผลกำไรให้เติบโตได้อย่างโดดเด่นเป็นประวัติการณ์ 

โดยในปี 2567 บริษัทฯ ได้พัฒนาต่อยอดสู่การเป็นปีแห่ง Regenerative ซึ่งหมายถึง การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทุกกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าที่บริษัทฯ จะส่งมอบให้แก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบเชิงบวกจากผลิตภัณฑ์ บริการ และกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ของบริษัทฯ เพิ่มเติมจากคุณค่าที่เคยได้รับ ซึ่งผลกระทบเชิงบวกนั้นจะช่วยชดเชย ซ่อมเสริม หรือพลิกฟื้นสิ่งที่เคยสูญเสีย หรือบกพร่องให้กลับสู่สภาพปกติ ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ หรือคุณภาพชีวิต ซึ่งผลลัพธ์ที่คาดหวังนั้น นอกจากจะเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ประกันภัยและการบริการที่เหนือความคาดหวัง สามารถตอบโจทย์ทุก Pain Point ของลูกค้าและคู่ค้า ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ สามารถรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจประกันวินาศภัยแล้ว ยังช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ตลอดจนสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันอีกด้วย

 

ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน 


สำหรับทิศทางการดำเนินงานในปี 2567 นี้ กรุงเทพประกันภัยได้ตั้งเป้าหมายด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวมที่ 32,500 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 8.0 แบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยรถยนต์ 13,690 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยที่ไม่ใช่ประกันภัยรถยนต์หรือ Non-Motor 18,810 ล้านบาท โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด พร้อมยกระดับนวัตกรรมการบริการให้ดียิ่งขึ้น นำมาซึ่งการสร้างความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าและคู่ค้า

พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงและเข้าใจไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่

สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆ เพื่อรองรับโครงสร้างประชากรไทยและวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับความเสี่ยงต่างๆ ในรูปแบบ Personalized Insurance พร้อมส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า

  • ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 อุ่นใจวัยเก๋า

            พร้อมก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาแผนประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 อุ่นใจวัยเก๋า เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าวัย 55 - 75 ปี ที่ชื่นชอบขับรถด้วยตนเอง  ซึ่งนอกจากจะได้รับความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แล้ว ยังเพิ่มเติมความคุ้มครองอื่นๆ ได้อย่างครอบคลุม รองรับกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อมอบความอุ่นใจให้ผู้สูงวัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิดจนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล อาทิ เงินชดเชยกายภาพบำบัด เงินชดเชยค่าเวชภัณฑ์คงทนใช้ภายนอกร่างกาย (เวชภัณฑ์ 2) ที่จำเป็นต้องใช้หลังเกิดอุบัติเหตุ เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน รถเข็นผู้ป่วย เฝือกพยุงคอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีบริการ Nursing Care Service at Home ด้วยการมีบุคลากรทางการแพทย์มาดูแลลูกค้าถึงบ้านอีกด้วย

  • ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 เพิ่มความคุ้มครองสัตว์เลี้ยง (สุนัขและแมว) โดยไม่เพิ่มเบี้ยประกันภัย

ด้วยเทรนด์ Pet Humanization ที่กำลังมาแรง ประชาชนให้ความสำคัญกับการเลี้ยงสัตว์เสมือนเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวที่ต้องทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันมากขึ้น กรุงเทพประกันภัยเข้าใจในความต้องการของลูกค้า จึงมอบสิทธิพิเศษให้แก่ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 ทุกแผนประกันภัย ทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าที่ต่ออายุ ด้วยความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของสัตว์เลี้ยง (สุนัขและแมว) ที่อยู่ภายในรถยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการชน 10,000 บาท/ตัว/ครั้ง และกรณีเสียชีวิตจะได้รับความคุ้มครอง 10,000 บาท/ตัว/ครั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่มแต่อย่างใด

  • ประกันภัยสุขภาพ (เพิ่มความคุ้มครองจิตเวช)

ท่ามกลางสภาวะทางสังคมที่ไม่แน่นอน เปราะบาง และมีแรงกดดันมากขึ้น บริษัทฯ จึงมุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องจิตใจของผู้คนในสังคม ผ่านแผนประกันภัยสุขภาพที่มอบความคุ้มครองทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยจะมีการเพิ่มความคุ้มครอง เช่น การตรวจรักษาอาการหรือโรคที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะทางจิตใจ (Mental Health) การดูแลโดยพยาบาลเฝ้าไข้พิเศษ การรักษาโดยแพทย์ทางเลือก การตรวจสุขภาพ เงินชดเชยรายวันระหว่างการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล อันเนื่องมาจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย โดยมีแผนประกันภัยให้ลูกค้าเลือกตามความเหมาะสม ทุนประกันภัยตั้งแต่ 300,000 - 1,000,000 บาท รับประกันภัยอายุ 16 - 70 ปี และสามารถต่ออายุได้ถึง 80 ปี

 

(ภาพจากซ้าย)  คุณลสา โสภณพนิช , ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน , คุณปวีณา จูชวน 


      วิกฤตโควิด-19 เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการแพทย์ ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคพลิกโฉมไปอย่างรวดเร็ว บริการแพทย์ทางไกลในรูปแบบ Telemedicine จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยบริษัทฯ เตรียมนำเสนอแผนประกันภัยสุขภาพ สำหรับ Telemedicine ซึ่งจะเป็นการปรึกษาแพทย์ทางออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน Clicknic ที่รองรับถึง 55 อาการของโรคที่สามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์ทางไกลได้ เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย มีไข้ เจ็บคอ ผื่นคัน ตาเจ็บ ฯลฯ พร้อมช่วยลดความกังวลด้วยบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้านภายใน 1 ชั่วโมงสำหรับในเขตกรุงเทพฯ และเฟสถัดไปในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 นี้ บริษัทฯ จะยกระดับบริการด้าน Telemedicine ด้วยการขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุมถึงบริการปรึกษาแพทย์ทางไกลสำหรับการตรวจรักษา อาการหรือโรคที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะทางจิตใจ เพื่อรองรับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ทำให้ประชาชนต้องประสบกับภาวะความเครียด ซึ่งก่อให้เกิดโรคทั้งทางร่างกายและจิตใจ

  • ประกันภัยสำหรับคอนโด

            ด้วยรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง ผู้คนอยู่อาศัยภายในคอนโดมิเนียมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  บริษัทฯ
จึงได้พัฒนาแผนประกันภัยที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ โดยกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับคอนโดให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินภายในคอนโดมิเนียมอันมีสาเหตุจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยเนื่องจากน้ำ ภัยจากลมพายุ ลูกเห็บ หรือน้ำท่วม รวมถึงคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดเหตุภายในคอนโดมิเนียม และกรณีความเสียหายจากการถูกโจรกรรมที่มีวงเงินความคุ้มครองตั้งแต่ 50,000 - 200,000 บาท เพื่อเพิ่มความสบายใจให้แก่ลูกค้า อีกทั้งยังครอบคลุมถึงความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก เช่น กรณีน้ำรั่วซึมไปยังห้องอื่นๆ จนเกิดความเสียหาย ฯลฯ โดยเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 1,290 บาท

“แคร์คุณทุกย่างก้าว” ด้วยการให้บริการที่ใส่ใจ 

กรุงเทพประกันภัยมุ่งพัฒนานวัตกรรมการบริการที่เหนือความคาดหวัง สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ในทุกความต้องการของลูกค้า

  • ระบบติดตามสถานะการดำเนินงาน (Progress Tracking)

            ด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งเพื่อส่งมอบบริการที่มีคุณภาพ มุ่งสร้างประสบการณ์ที่ดี รวดเร็วและเข้าถึงง่ายยิ่งขึ้น บริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบติดตามสถานะการดำเนินงาน (Progress Tracking) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าและคู่ค้าให้สามารถตรวจสอบสถานะในขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะครอบคลุมทั้งงานด้านรับประกันภัย การชำระเบี้ยประกันภัย และงานสินไหมทดแทน เช่น ตรวจสอบสถานะผลการตรวจสภาพรถยนต์ ขั้นตอนการจัดส่งกรมธรรม์ประกันภัย การชำระเบี้ยประกันภัย รวมไปถึงการตรวจสอบสถานะการเคลมสินไหมทดแทนว่าอยู่ในขั้นตอนใด เช่น  การรับเอกสารการเคลม การตรวจสอบเอกสารการเคลม การประเมินราคา การจัดซ่อม การส่งมอบรถ การอนุมัติค่าสินไหมทดแทน และการโอนค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะด้านสินไหมทดแทนยานยนต์ (Motor Claims) ได้โดยผ่านช่องทาง LINE @bangkokinsurance และลำดับถัดไปจะขยายช่องทางการให้บริการผ่าน Mobile Application และเพิ่มเติมบริการให้ครอบคลุมงานด้านรับประกันภัย งานสินไหมทดแทนทั่วไป (Non-Motor Claims) และทางด้านการเงิน ทั้งนี้ สำหรับตัวแทนและนายหน้าซึ่งเป็นคู่ค้าของบริษัทฯ สามารถตรวจสอบสถานะดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วผ่านช่องทาง Web Partner           

 

เพิ่มศักยภาพเทคโนโลยี ก้าวทันโลกดิจิทัล
            กรุงเทพประกันภัยมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อต่อยอดสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการที่ก้าวทันกับความต้องการตามเทรนด์ของลูกค้ายุคใหม่  

  • AI Outbound Voice Chatbot

            จากความใส่ใจและคำนึงถึงลูกค้าในทุกๆ ด้าน นำมาสู่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาใช้ในการแจ้งเตือนการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ลูกค้าทางโทรศัพท์ โดยระบบดังกล่าวจะสื่อสารกับลูกค้าด้วยน้ำเสียงเสมือนจริง ที่มากับความพร้อมในการตอบคำถามและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยของลูกค้า รวมถึงช่องทางการชำระเงินหรือเรื่องอื่นๆ ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยี AI มาช่วยในเรื่องดังกล่าว นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการต่ออายุเพื่อให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังส่งเสริมให้บริษัทฯ เพิ่มศักยภาพในการทำงานจากการที่ AI สามารถจัดสรรงานให้เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยดูแลลูกค้าที่ต้องการรับบริการด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยคาดว่าจะเริ่มให้บริการดังกล่าวได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

            ด้วยความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็วและฉับไว พร้อมสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า บริษัทฯ จึงได้นำ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างตรงใจมากยิ่งขึ้น ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากการติดต่อของลูกค้าในช่องทางต่างๆ ทั้งทางโทรศัพท์และสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าและประมวลผลออกมาเป็นประเภทหมวดหมู่อย่างชัดเจน เช่น การติดตามงานด้านรับประกันภัย งานด้านสินไหมทดแทน การชำระเงิน ข้อเสนอแนะเชิงบวกและเชิงลบ ตลอดจนข้อร้องเรียนต่างๆ ซึ่งระบบ Cognitive Customer Portal จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งด้านพฤติกรรมและประสบการณ์การใช้งาน นอกจากนี้ ยังสามารถเรียกดูข้อมูลเชิงสถิติในรูปแบบ Dashboard เพื่อการติดตามผล สรุปปัญหาต่างๆ ที่ต้องนำมาปรับปรุง พัฒนา และแก้ไขให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าต่อไป

 

BKIH การเปลี่ยนแปลงกับโอกาสครั้งสำคัญ

            กรุงเทพประกันภัยเดินหน้าเข้าสู่ก้าวใหม่ หลังจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติแผนการปรับโครงสร้างบริษัทฯ ผ่านการจัดตั้งบริษัท บีเคไอ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BKIH เมื่อช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา ล่าสุดบริษัทฯ ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ให้มีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer) โดยบริษัทฯ ได้กำหนดระยะเวลาในการแลกเปลี่ยนหุ้น “BKI” เป็นหุ้น “BKIH” ในช่วงระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 5 มิถุนายน 2567 รวมทั้งสิ้น 45 วันทำการ จากนั้นจะนำหุ้น BKIH เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแทนที่หุ้นของกรุงเทพประกันภัย ประมาณช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2567 โดยถือเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญในการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มความคล่องตัวในการขยายการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลายและมีศักยภาพต่อยอดสู่การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

คุณชัย โสภณพนิช


 

ธุรกิจประกันภัยที่ร่วมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน

บริษัทฯ พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคมควบคู่กับการสร้างการเติบโตด้วยผลการดำเนินงานที่ดี เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “มุ่งเป็นที่สุดในใจลูกค้า” ด้วยผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการดำเนินธุรกิจที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยยึดมั่นในแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ของบริษัทฯ ให้ดำเนินไปอย่างสอดคล้องและเกื้อหนุนกัน อาทิ งานด้านการรับประกันภัยและงานด้านสินไหมทดแทนที่มีส่วนในการส่งเสริมให้ผู้เอาประกันภัยคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เช่น การออกกรมธรรม์ประกันภัยบ้านอยู่อาศัย Green Guarantee การเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าบริจาคเงินให้องค์กรการกุศลแทนการรับของสมนาคุณ​ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลและประกันภัยสุขภาพที่หักค่าเบี้ยประกันภัยส่วนหนึ่ง​ให้แก่องค์กรการกุศล รวมถึงการสนับสนุนธุรกิจรายย่อยให้มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ​ผ่านการขยายระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันภัยของลูกค้า SMEs​ จากเดิม 30 วัน เป็น 60 วัน​ เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมกระบวนการดำเนินธุรกิจต่างๆ ภายในบริษัทฯ ให้มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ

ในปี 2567 นี้ นับเป็นอีกปีเเห่งโอกาสครั้งสำคัญที่จะต่อยอดความสำเร็จ พร้อมขยายธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงกับสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และความท้าทายของโลกยุคใหม่ ผ่านการฟื้นฟูยกระดับการสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าให้องค์กรเติบโตแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพื่อมุ่งสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืนต่อไป


Tags : กรุงเทพประกันภัย ฺBKI BKIH ชัยโสภณพนิช ดร.อภิสิทธิ์อนันตนาถรัตน แผนงานกรุงเทพประกันภัยปี2567 แนวโน้มของธุรกิจประกันวินาศภัยในปี2567


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner