Responsive image

Wednesday, 16 Jul 2025

หน้าแรก > ราชการ - รัฐวิสาหกิจ /ENERGY - พลังงาน


ธ.ก.ส. ส่งความสุข รับปีใหม่ 2568 จัด 2 มาตรการช่วยลดภาระหนี้สิน พร้อมเติมทุน เสริมสภาพคล่องด้วย 3 สินเชื่อเพื่อลูกค้า ธ.ก.ส.

Tue 31/12/2567


ธ.ก.ส. ส่งต่อความสุขรับปี 2568 มอบของขวัญปีใหม่ให้เกษตรกรลูกค้าตามนโยบายรัฐบาลด้วย 2 มาตรการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือน “ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เรื้อรัง” และ “มาตรการจ่าย-ปิด-จบ” พร้อม 3 สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำสนับสนุนทายาทเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ในการรับช่วงต่อการประกอบอาชีพครอบครัว รวมถึงการต่อยอดและสร้างโอกาสให้กับธุรกิจเกษตรผ่าน “สินเชี่อเพื่อเกษตรกรรุ่นใหม่” และ “สินเชื่อแทนคุณ” พร้อมคืนกำไรให้ลูกค้าที่ชำระหนี้ใกล้กำหนดหรือตรงตามกำหนดด้วย “โครงการชำระดีมีโชคปี 2567/68”

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 ธ.ก.ส. พร้อมมอบของขวัญพิเศษ เพื่อส่งความสุขและมอบรอยยิ้มให้กับเกษตรกรลูกค้าทั่วประเทศตามนโยบายรัฐบาลด้วยการจัด 2 มาตรการแบ่งเบาภาระหนี้สิน สนับสนุนการฟื้นฟูศักยภาพทางการเงิน และการสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ ได้แก่ มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เรื้อรัง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่สถานะเป็นหนี้ NPLs ทุกสัญญา หรือมีต้นเงินเป็น NPLs มากกว่าร้อยละ 75 ของต้นเงินคงเหลือ หรือเป็นลูกหนี้ NPLs ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรังที่มีศักยภาพต่ำและไม่สามารถชำระหนี้ได้เสร็จสิ้น ได้แก่ เกษตรกรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หรือเป็นลูกหนี้ที่มีสถานะ NPLs จะได้รับสิทธิพิเศษในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามมาตรการ ดังนี้ 1) ปลอดชำระต้นเงิน 3 ปี 2) อัตราดอกเบี้ย MRR*  ลบร้อยละ 2 ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับร้อยละ 6.875 ต่อปี) ตลอดอายุสัญญา แต่ไม่เกิน 20 ปี 3) ลูกหนี้จะได้รับการลดดอกเบี้ยรวมบัญชี ไม่เกินร้อยละ 70 ทั้งนี้ สำหรับลูกหนี้ที่เข้ามาตรการแล้วสามารถชำระได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด สามารถขอเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้เป็น การชำระต้นเงินร้อยละ 60 และดอกเบี้ย ร้อยละ 40 (Care Pay 60:40) และเปลี่ยนสถานะ NPLs ให้เป็นหนี้ปกติได้ทันที โดยการปรับโครงสร้างหนี้ผ่านมาตรการดังกล่าว จะสามารถช่วยให้เกษตรกรสามารถชำระหนี้ได้ตามความสามารถและสามารถหลุดพ้นกับดักหนี้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

 

“มาตรการจ่าย-ปิด-จบ” สำหรับกลุ่มลูกหนี้รายย่อยที่มี NPLs บุคคลธรรมดาในทุกประเภทสินเชื่อที่มีภาระหนี้สินคงค้างไม่เกิน 5,000 บาท ที่ลูกหนี้ต้องชำระบางส่วนของภาระหนี้ และปลดหนี้ส่วนที่เหลือตามเงื่อนไขมาตรการ เพื่อไม่ทำให้เสียประวัติเครดิต แล้วจึงจะได้รับการยกดอกเบี้ยทั้งหมด เมื่อสามารถชำระได้ตามเงื่อนไข ทั้งนี้ ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวแต่ละราย สามารถเข้าร่วมมาตรการได้มากกว่า 1 บัญชี และลูกหนี้ต้องมียอดค้างชำระต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันกำหนดชำระ (ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567) ซึ่งมีลูกค้าที่มีสิทธิ์เข้ารับมาตรการลดภาระหนี้จำนวนกว่า 19,000 ราย ระยะเวลาดำเนินโครงการ เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

ในขณะเดียวกัน ธ.ก.ส. พร้อมคืนกำไรให้กับลูกค้าที่ชำระหนี้ตรงตามกำหนดเวลาผ่านโครงการชำระดีมีโชคปี 2567/68 เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาชำระหนี้ในช่วงใกล้ถึงกำหนด หรือตรงตามกำหนดสัญญาเงินกู้ หรือในช่วงที่ลูกค้ามีรายได้อื่นเข้ามาเป็นลำดับแรก อันเป็นการส่งเสริมให้ลูกหนี้มีวินัยในการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อลูกค้าที่มาชำระหนี้ตามเงื่อนไขโครงการจะได้รับของขวัญ 1 ชิ้นทันที รวมมูลค่ารางวัลกว่า 40 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2567 – 31 มีนาคม 2568 ณ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ (เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)

 

นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังมุ่งผลักดันทายาทเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการต่อยอดและสร้างโอกาสธุรกิจใหม่ให้เติบโตในธุรกิจเกษตรด้วยสินเชื่อที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย ได้แก่ สินเชื่อเพื่อเกษตรกรรุ่นใหม่ (New Gen & Young Smart Farmer) วงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเงินทุนให้กับทายาทเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนและค่าลงทุนในการประกอบอาชีพเกษตรหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร (Value Added) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรรุ่นใหม่ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี คงที่ 3 ปีแรก ไม่จำกัดวงเงินกู้ต่อราย ผ่อนชำระนานสูงสุด 15 ปี และสินเชื่อแทนคุณ วงเงินสินเชื่อรวม 20,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้ทายาทเกษตรกรเข้ามารับช่วงต่อในการประกอบอาชีพต่อจากครอบครัว และมีส่วนร่วมในการช่วยลดภาระหนี้สินและรักษาทรัพย์สินให้คงอยู่กับครอบครัว อัตราดอกเบี้ยพิเศษ ดังนี้ ปีที่ 1 - 5 อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.875 ต่อปี) ปีที่ 6 – 10 อัตราดอกเบี้ย MRR ลบร้อยละ 1 และปีที่ 11 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR ลบร้อยละ 2

 

นายฉัตรชัย กล่าวอีกว่า การมอบของขวัญปีใหม่แทนคำขอบคุณในครั้งนี้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของเกษตรกร ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า โดย ธ.ก.ส. พร้อมยืนหยัดเคียงข้างเกษตรกรในการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการเกษตร (Funding) ผ่านสินเชื่อที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี (Technology) โดยสนับสนุนการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการผลิต การพัฒนาตลาดและองค์ความรู้ (Knowledge and Marketing) ด้วยการเสริมสร้างความรู้และทักษะให้กับเกษตรกร เพื่อพัฒนาช่องทางการจำหน่าย พร้อมขยายตลาดไปสู่ตลาดที่มีกำลังซื้อสูง และการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Value Added) ด้วยการแปรรูป การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์และแบรนด์สินค้าให้เป็นที่จดจำ อันนำไปสู่การสร้างรากฐานให้เกษตรกรสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง มั่นคง และยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ เกษตรกรลูกค้าที่มีภาระหนี้สินสามารถปรึกษาและสอบถามข้อมูลกับ ธ.ก.ส. ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ Call Center 02 555 0555

 

 


Tags : ธ.ก.ส. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฉัตรชัยศิริไล ธ.ก.ส.ส่งความสุขรับปีใหม่2568 สินเชื่อเพื่อลูกค้าธ.ก.ส. มาตรการช่วยลดภาระหนี้สิน


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner