Responsive image

Sunday, 09 Feb 2025

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


เลขาธิการ คปภ. เปิดโรดแมป “ประชาชน-ภาคธุรกิจ-หน่วยงานกำกับ” ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยปี 2568

Fri 07/02/2568


นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานแถลงข่าวนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ประจำปี 2568 พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ณ อาคารรับรองเกษะโกมล ถนนอำนวยสงคราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์แผนงานและทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. โดยมีสื่อมวลชนร่วมรับฟังข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแผนงานและทิศทางการดำเนินงานพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของสำนักงาน คปภ. เพื่อเผยแพร่ไปสู่สาธารณชน อันจะเป็นการส่งเสริมความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสำนักงาน คปภ. รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมประกันภัยและระบบประกันภัยไทยในภาพรวม

 

เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงาน คปภ.ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2569 ภาพรวมของธุรกิจประกันภัยไทยจะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงทั้งระบบแตะที่ 1,000,000 ล้านบาท ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว สำนักงาน คปภ. โดยด้านและสายงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ประจำปี 2568 โดยแบ่งการขับเคลื่อนการดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ  ส่วนที่ 1 ประชาชน สามารถใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรมและการบริการที่ได้มาตรฐาน อาทิ ลดเรื่องร้องเรียนที่มีปริมาณมากที่สุดคือข้อพิพาทเกี่ยวกับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ ดังนั้นจึงควรกำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถให้เป็นจำนวนที่ชัดเจนไม่กำหนดเป็นขั้นต่ำ และกำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ให้สามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันรถยนต์กรณีเป็นฝ่ายถูกของตนเองไว้ และเฉพาะประเภท 1 กำหนดเป็น Knock for Knock รวมทั้งยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของสาขาบริษัทประกันภัยในส่วนภูมิภาคให้มีความเข้มแข็ง โปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบประกันภัยไทย

โดยจะมีการตรวจสาขาบริษัทประกันภัยในส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดและให้บริการโดยตรงกับประชาชน โดยเป็นการตรวจติดตามการดำเนินการตามประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตเปิดสาขาย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ หรือสาขา หรือเลิกสาขาของบริษัทประกันวินาศภัย/ประกันชีวิต พ.ศ. 2565 โดยจะเริ่มเข้าตรวจในไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป และจะมีการประสานความร่วมมือส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยให้แก่ประชาชนและภาคอุตสาหกรรมของไทยอย่างเป็นระบบอีกด้วย

นอกจากนี้จะมีการทบทวนความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ โดยสำนักงาน คปภ. จะทบทวนความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยให้มีความเหมาะสมกับความเสี่ยงภัยและสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสมกับค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบัน อีกทั้งจะมีการผลักดันการจำหน่ายกรมธรรม์รถภาคบังคับผ่านช่องทาง online และการออกกรมธรรม์รถภาคบังคับในรูปแบบ e-Policy ซึ่งถือเป็นการตอบสนองต่อความต้องการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล และจัดโครงการส่งเสริมความปลอดภัยเพื่อลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยจะเน้นการศึกษาวิจัยเพื่อหามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการลดอุบัติเหตุทางถนน ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน โดยตั้งเป้าเริ่มต้นที่จังหวัดปราจีนบุรีก่อนขยายผลไปในจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้าน ESG และมาตรการเชิงป้องกันของภาคธุรกิจประกันภัย โดยสำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ดำเนินการจัดกิจกรรมเชิง ESG สร้างความตระหนักรู้ของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยในการใช้มาตรการเชิงป้องกันความเสียหาย (Preventive Measures)

รวมทั้งส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา ผ่านโครงการยุวชนนักสื่อสารประกันภัยรุ่นใหม่ ปี 2568 (Insurefluencer the new GEN 2025)  มีการปรับปรุงประสิทธิภาพ API Gateway เพื่อรองรับการให้บริการ OIC Gateway และ App ทางรัฐ ที่มีแนวโน้มการใช้บริการมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเพิ่มบริการตรวจสอบพฤติกรรมขับขี่เพื่อใช้เป็นส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อไป

 

ส่วนที่ 2 ธุรกิจประกันภัย มีเสถียรภาพความมั่นคง ปรับตัวได้เท่าทันความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง อาทิ มีการกำกับบริษัทประกันภัยแบบรวมกลุ่ม (Group Wide Supervision) ในระดับ Solo Consolidation ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติกรรมการ แนวทางการติดตามการถือหุ้นธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และระดับ Full Consolidation จะมีการพิจารณาหารือกับหน่วยงานการกำกับดูแลภาคการเงิน/ภาคการประกันภัยจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อกำหนดหลักการกำกับดูแลในระดับ Full Consolidation ซึ่งจะครอบคลุมการกำกับบริษัทที่เป็นบริษัทแม่ของบริษัทประกันภัย รวมถึงบริษัทร่วมและบริษัทที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2569 และมีการทบทวนหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย (All Risks Calibration / Catastrophe Risk / Group Capital - for Group Risk) และมีการปรับเพิ่มอัตราการวางเงินสำรอง UPR  โดยจัดกลุ่มบริษัทตามศักยภาพในการดำเนินงานและความมั่นคงของบริษัท โดยมีแผนดำเนินการให้แล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ภายในปีนี้

อีกทั้งจะมีการปรับปรุงประกาศ คปภ. ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดใหม่ (EWS / Group-Wide Supervision / Risk Proportionality) มีการยกระดับการกำกับดูแลและการตรวจสอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ERM-ORSA / Examination Form / Stress Test / แบบจำลองมาตรฐาน และมีการจัดทำคู่มือ/กรอบแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐานของการจัดทำรายงานทางการเงินตาม TFRS 17 รวมทั้งทบทวน/ปรับปรุง EWS ให้สอดคล้องกับ TFRS 17

นอกจากนี้มีการเตรียมความพร้อมในการผลักดันร่างกฎหมายแม่บท และจัดเตรียมร่างกฎหมายลำดับรอง โดยสรุปสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. กลุ่ม 2 (บทบัญญัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคง) และสรุปสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. กลุ่ม 3 (บทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการควบโอนกิจการและความรับผิดของกรรมการ) รวมทั้งมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัย เชื่อมโยงฐานข้อมูลไปยังหน่วยงานภาคีเครือข่าย และมีการจัดทำระบบแสดงพฤติกรรมฐานข้อมูลฉ้อฉลประกันภัยหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีลักษณะเป็นการฉ้อฉลประกันภัยของตัวแทน/นายหน้าประกันภัย เพื่อให้บริษัทประกันภัยเข้าใช้งานระบบเพื่อตรวจสอบข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งมีการยกระดับการกำกับดูแลคนกลางประกันภัยด้วยแนวทาง Conduct Risk-Based  รวมทั้งยกระดับมาตรฐานความรู้และการดำเนินงานของคนกลางประกันภัยให้มีคุณภาพ

 

ในขณะเดียวกันก็จัดทำแผนยุทธศาสตร์ประกันสุขภาพภาคเอกชน เพื่อกำหนดภูมิทัศน์ด้านประกันภัยสุขภาพภาคเอกชนของประเทศไทย (Health Insurance Landscape in Thailand) รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ โดยปรับปรุงและพัฒนาหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินค่าเวนคืนตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถกำหนดอัตราเงินค่าเวนคืนดามกรมธรรม์ที่ต่ำลงได้หรือที่เรียกว่า Low cash surrender value (Low CSV) ที่ส่งผลให้เบี้ยประกันภัยต่ำลง ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคและส่งเสริมโอกาสให้แก่บริษัทในการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตในประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศได้มากขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการพัฒนาและส่งเสริมการประกันภัยพืชผล โดยสนับสนุนการประกันภัยการเกษตรให้ครอบคลุมและตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรไทยอย่างแท้จริง โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รวมถึงการหารือกับภาคธุรกิจประกันภัยต่อต่างประเทศถึงความสนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสำรวจภัย และมีการทบทวนความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ของบุคคลภายนอกของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ รวมทั้งจัดทำแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 5 เพื่อเพิ่มศักยภาพภาคธุรกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัยและมีการ Open Insurance ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาการให้บริการการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เริ่มจากการเชื่อมโยงข้อมูลภายในภาคประกันภัย (Open Insurance) ในปี 2568 จากนั้น จึงจะขยายการเชื่อมโยงใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีในภาคส่วนอื่นๆ (Open Data) ในปี 2569 อีกทั้งจะมีการจัดทำ AI Governance Guideline สำหรับธุรกิจประกันภัย เพื่อให้มีกรอบแนวทางในการกำกับดูแลให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่สอดรับกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม  ตลอดจนสร้างประเทศไทยให้มี Insurance Community เป็น Hub of Insurance ของภูมิภาคอาเซียน และเสริมสร้าง Insurance Literacy ด้วยการขยายบทบาทภารกิจของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สู่การเป็น Research & Development Center ของประเทศไทย และดำเนินการให้เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ รวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการประกันภัย (Insurance Learning Center) ไปพร้อมๆกับการสร้างมาตรฐานทางวิชาชีพของบุคลากรประกันภัย โดยเริ่มจากการจัดทำหลักสูตรนานาชาติ สำหรับผู้กำกับดูแลและบุคลากรประกันชีวิต เป็นต้น

 

ส่วนที่ 3 ขับเคลื่อนสำนักงาน คปภ. เป็นองค์กรที่มีศักยภาพสูง อาทิ ปรับกระบวนการทำงาน Team-based / Project-based เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น และมุ่งสู่ AI Driven Organization โดยขับเคลื่อนการดำเนินการผ่าน AI Champion และนำ AI เข้ามาใช้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ  มีการยกระดับการบริหารผลงาน ด้วยการตั้งเป้าหมายการทำงานด้วย OKRs ที่ชัดเจนและท้าทาย รวมทั้งให้ผู้บังคับบัญชามีการติดตามการทำงาน ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการทำงาน (Coaching & Feedback) อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทำการประชาสัมพันธ์สำนักงาน คปภ.ในเชิงรุกและหลากหลาย โดยการบูรณาการความร่วมมือด้านการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อุตสาหกรรมประกันภัยให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนเพิ่มมากขึ้น

เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้ายด้วยว่า หัวใจสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนนโยบายและการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. คือ การทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบเป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นของประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยการสร้างความร่วมมือกับสมาคมที่เกี่ยวข้องด้านการประกันภัย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทนายหน้าประกันภัยนิติบุคคล ตัวแทนประกันภัย และสื่อมวลชนทุกช่องทางเพื่อเป็นสื่อกลางนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร แนวทางการดำเนินงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักงาน คปภ. ออกสู่สาธารณชนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในระบบประกันภัยไทย


Tags : คปภ. สำนักงาน คปภ. ชูฉัตร ประมูลผล อุตสาหกรรมประกันภัยไทยปี 2568


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารออมสินประสบความสำเร็จในการริเริ่มพัฒนานำเอา ESG Score มาใช้ประเมินระดับ ESG ของลูกค้าสินเชื่อ เน้นกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ พร้อมทั้งทำโปรแกรม Positive Engagement เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์จะได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นกรณีพิเศษ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 ในปี 2568 นี้ ธนาคารได้ขยายขอบเขตการดำเนินงานให้ครอบคลุมลูกค้ากลุ่มธุรกิจ SME โดยได้เปิดตัว โครงการ Positive Engagement Program ครั้งที่ 1 ภายใต้แนวคิด “SME Gear Up ติดปีกธุรกิจด้วย ESG” มีเป้าหมายเพื่อขยายผลการสร้าง Social Impact และสนับสนุนการดำเนินงานตามแผน Net Zero Roadmap ของธนาคาร โดยตั้งเป้าสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำเอากรอบแนวคิด ESG ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากการที่สถาบันการเงินมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการใช้เกณฑ์ด้านความยั่งยืนในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ตามทิศทางการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรม SME Gear Up ติดปีกธุรกิจด้วย ESG เปิดให้ผู้ประกอบการ SME ที่ดำเนินงานสอดคล้องหรือมีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจโดยใช้แนวคิด ESG สมัครเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME ของธนาคารออมสิน มีวงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 50 – 250 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการ SME ทั่วไป มีรายได้รวม 100 - 500 ล้านบาทต่อปี โดยผู้ประกอบการ SME ที่สมัครและผ่านการคัดเลือกในรอบแรก จะได้เข้าร่วมกิจกรรม SME Onboarding การอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในประเด็น ESG ผ่านมุมมองของธุรกิจ การศึกษา ESG Standard ตลอดจนการรับฟังกรณีศึกษาจากผู้ประกอบการ SME ต้นแบบ (Learn from the lead) ที่มีการดำเนินงานด้าน ESG อย่างเป็นรูปธรรมจนประสบความสำเร็จ และการนำเสนอไอเดียธุรกิจ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดไอเดียธุรกิจ SME ลุ้นรับเงินรางวัลรวมมูลค่า 660,000 บาท โดยผู้ประกอบการ SME ที่ร่วมโครงการ ยังจะได้รับสิทธิพิเศษในการทำธุรกรรม/ยื่นสินเชื่อกับธนาคาร พร้อมรับประกาศนียบัตร ตรารับรองคุณวุฒิ และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจ สามารถกรอกแบบฟอร์มใบสมัครออนไลน์ ด้วยการสแกน QR Code บนสื่อประชาสัมพันธ์ของกิจกรรมฯ หรือทางเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th โดยสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งนี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ธนาคารออมสิน โทร 02-299-8000 ต่อ 810319 - 22 หรือ 998892 (ภายในเวลาทำการ)  

05 Feb 2025

...

  รายงานข่าวจากธนาคารออมสินแจ้งว่า ตามที่มีการแพร่ระบาดของมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ด้วยการส่งจดหมายปลอม แอบอ้างใช้โลโก้ ชื่อธนาคาร รวมถึงชื่อผู้บริหารของธนาคาร ส่งไปยังลูกค้าประชาชนโดยระบุว่า ไม่สามารถโอนเงินสินเชื่อเข้าบัญชีของลูกค้าได้ เนื่องจากลูกค้ากรอกข้อมูลบัญชีธนาคารไม่ถูกต้อง ทำให้บัญชีถูกอายัด ไม่สามารถทำธุรกรรมใด ๆ ได้จนกว่าจะดำเนินการตามที่มิจฉาชีพแอบอ้าง หากไม่ปฏิบัติตามจะทำให้ไม่ได้รับวงเงินสินเชื่อ รวมถึงมีความผิดตามกฎหมาย ติดแบล็คลิสต์ และถูกยึดทรัพย์ ธนาคารออมสินขอยืนยันว่า “จดหมายดังกล่าวเป็นจดหมายปลอม ธนาคารไม่มีนโยบายส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แจ้งให้ลูกค้าแก้ไขข้อมูลเลขบัญชีทุกกรณี รวมถึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ระบุในจดหมายแอบอ้างดังกล่าว” โดยขณะนี้ ธนาคารอยู่ในระหว่างการติดตามสถานการณ์ และดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มมิจฉาชีพที่แอบอ้างและกระทำการข้างต้น ธนาคารออมสิน จึงขอเน้นย้ำลูกค้าประชาชนถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพรายต่อไป เบอร์แปลก หลอกคุย ตัดสายทิ้ง ลิงก์ไม่กด และเมื่อได้รับการติดต่อโดยอ้างชื่อธนาคาร หรือมีความไม่แน่ใจ ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดด้วยตนเองก่อนทุกครั้งกับช่องทางของธนาคารออมสิน อาทิ เว็บไซต์ www.gsb.or.th, แอปพลิเคชัน MyMo, เฟซบุ๊ก GSB Society, LINE Official Account : GSB NOW และ GSB Contact Center โทร. 1115  

23 Jan 2025

...

  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดให้บริการโอนเงินต่างประเทศ ผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile เพื่อให้ลูกค้าสามารถโอนเงินไปต่างประเทศให้บุตรหลาน ครอบครัว ตลอดจนชำระค่าสินค้าและบริการได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile สะดวก รวดเร็ว เพียงเข้ารายการโอนเงินและเลือกโอนเงินต่างประเทศ โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขา ครอบคลุมทั่วโลก รองรับ 3 สกุลเงิน ประกอบด้วย ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ยูโร (EUR) และบาทไทย (THB)  (สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) วงเงินทำธุรกรรมไม่เกิน 150,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อวันต่อคน อัตราค่าธรรมเนียมและเวลาการให้บริการเป็นไปตามธนาคารกำหนด เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2568  เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ Call Center 02 555 0555

19 Jan 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เป็นมาตรการช่วยลดภาระหนี้ เพิ่มสภาพคล่องให้ลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs ที่ปกติมีวินัยดี แต่อาจเกิดเหตุจำเป็นในการประคับประคองชีวิตและธุรกิจ ทำให้ประสบปัญหาการผ่อนชำระ ซึ่งการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว จะทำให้ลูกหนี้หมดภาระหนี้ได้เร็วขึ้น และป้องกันไม่ให้ลูกหนี้เปลี่ยนสถานะเป็น NPLs ไม่สูญเสียทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ธนาคารจึงขอเน้นย้ำให้ลูกหนี้สินเชื่อเคหะ สินเชื่อบ้านแลกเงิน หรือสินเชื่อ SMEs ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท และเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 1 ปี รักษาสิทธิประโยชน์ รีบตรวจสอบสิทธิ์และลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือที่แอปพลิเคชัน MyMo ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป กำหนดลงทะเบียนวันสุดท้ายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ลงทะเบียนแล้ว ขอให้จัดทำสัญญาการเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่แอป MyMo หรือ ติดต่อสาขาธนาคารออมสินที่ขอกู้ ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2568 เป็นต้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ GSB Contact Center โทร. 1115 กด 99

16 Jan 2025

Banner Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner