Responsive image

Sunday, 11 May 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


ไทยประกันชีวิต ชูกลยุทธ์สร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนทุกด้าน นำเทคโนโลยีเสริมศักยภาพการพัฒนางาน-พัฒนาคน

Thu 13/02/2568


เปิดกลยุทธ์ไทยประกันชีวิต ปี 68 ชู 4 แกนบนแนวคิดการดูแลด้วยหัวใจ ตอกย้ำการเป็นแบรนด์ที่สร้างคุณค่าและแรงบันดาลใจอย่างแท้จริง ส่งผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกความต้องการหนุน Ecosystem การดูแลแบบครบวงจร เสิร์ฟการให้บริการด้วยเทคโนโลยี เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ตอบรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล สร้างแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่บุคลากร และสานต่อพลังในการเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม ตามแนวทาง ESG

 

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ TLI เปิดเผยว่า กว่า 83 ปี ที่ไทยประกันชีวิตมุ่งมั่นดูแลชีวิตของคนไทยผ่านการสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้ทุกครอบครัวไทย พร้อมประกาศก้าวสู่บริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืนที่ส่งมอบคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ด้วยเจตนารมณ์การดำเนินธุรกิจ (Business Propose) ในการเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต การประกันสุขภาพ และการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล หรือ Life Solutions Provider เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าในรูปแบบเฉพาะบุคคล (Personalize) ผ่านการส่งมอบสุขภาพที่ดี  ชีวิตที่ดี และความมั่นคง มั่งคั่งในบั้นปลายชีวิต

เพื่อยกระดับการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมตอกย้ำการเป็นแบรนด์ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในสังคม ให้ตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต คุณค่าของความรัก พร้อมเติมเต็มการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมาย ในปี 2568 บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการดูแลด้วยหัวใจ และกำหนดให้เป็นวัฒธรรมองค์กรของไทยประกันชีวิต ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มากกว่าการประกันชีวิต ที่คำนึงถึงประโยชน์และความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการข้อมูลเป็นเครื่องมือสนับสนุน เพื่อให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสมกับผู้บริโภคในในทุกช่วงของชีวิต (Life Stage) ทุกจังหวะชีวิต (Life Event) และทุกรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle)

“เราเน้นพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีความแตกต่างกัน ด้วยอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม และเอื้อให้คนไทยเข้าถึงผลิตภัณฑ์คุ้มครองชีวิต สุขภาพ และโรคร้ายแรงได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ไทยประกันชีวิตจึงได้พัฒนาแพ็กเกจผลิตภัณฑ์และบริการแบบครบวงจรในลักษณะ Ecosystem สำหรับกลุ่มเป้าหมาย Silver Age รวมถึงการพัฒนาสัญญาเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ Copayment ที่กำลังจะเริ่มบังคับใช้” นายไชยกล่าว

 

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการทำธุรกรรมด้านประกันชีวิตด้วยตัวเอง และส่งมอบประสบการณ์แบบไร้รอยต่อ โดยลูกค้าสามารถเข้าถึงการทำธุรกรรม การบริการ รวมถึงสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ทุกที่และทุกเวลา ผ่าน TLI Application ผสานกับการพัฒนาบริการในลักษณะ e-Service ที่หลากหลาย เช่น e-Policy กรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์, e-Paymentการชำระเบี้ยประกันผ่านช่องทางออนไลน์, e-Claim การเคลมสินไหมผ่านแอปพลิเคชัน, e-Manual คู่มือผู้เอาประกันภัยอิเล็กทรอนิกส์, e-Invoice การรับใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือ AI Chat ที่จะให้บริการข้อมูลด้านการประกันชีวิตผ่านไลน์ เป็นต้น

ไม่เพียงแต่การพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ไทยประกันชีวิตยังพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงานของฝ่ายขาย คือ MDA 4Plus เพื่อให้ฝ่ายขายสามารถนำเสนอขาย บริการลูกค้า สร้างทีมงานและบริหารทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังเชื่อมต่อแบรนด์ไทยประกันชีวิตกับผู้บริโภค โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม “Live Bright เพื่อนผู้ช่วยสุดสมาร์ทที่ช่วยค้นหาสิ่งที่คุณอยากทำ” เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้คนสามารถออกไปใช้ชีวิตได้แบบ End 2 End ตั้งแต่การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ การวางแผนหรือกำหนดรูปแบบกิจกรรมที่ตรงตามไลฟ์สไตล์ ตรงตามความชอบและความมุ่งหวัง ซึ่งสอดคล้องกับ Insight ของคนในปัจจุบันที่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบ จนทำให้บางครั้งไม่มีเวลาในการวางแผนออกไปใช้ชีวิตตามที่ตัวเองชื่นชอบ หรือใช้เวลากับคนที่รักอย่างมีความหมาย

นายไชยกล่าวว่า สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวสู่บริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน คือบุคลากรไทยประกันชีวิต จึงดำเนินธุรกิจในลักษณะ People Business โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาศักยภาพ และปรับเปลี่ยน Mindset บุคลากร ด้วยการสร้างแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong Learning โดยริเริ่มโครงการ School of Get สำหรับผู้บริหารและบุคลากรฝ่ายขาย

School of Get เป็นโครงการที่ไทยประกันชีวิตริเริ่มขึ้น เพื่อมุ่งพัฒนาผู้นำยุคใหม่ด้วยแนวคิด Lifelong Learning เสริมทักษะแห่งอนาคต สร้าง Mindset แห่งการเรียนรู้ เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำยุคใหม่ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์แบบ One Team ระหว่างฝ่ายขายและสำนักงานใหญ่ เพื่อพร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ เราต้องการสร้างผู้นำที่มีความมั่นใจ ทันสมัย และพร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ เพื่อปูทางสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนของไทยประกันชีวิต” นายไชยกล่าว

นอกเหนือจากการความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ไทยประกันชีวิตยังให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคม โดยนำแนวทาง ESG มาผนวกเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ครอบคลุมทั้้งในมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม มิติสิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล ดำเนินธุรกิจด้วยการแสวงหากำไรที่เหมาะสม (Optimize Profit) และแบ่งปันกำไรส่วนหนึ่งคืนกลับสู่สังคม เพื่อให้บริษัทและสังคมไทยเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กัน

ไทยประกันชีวิต เป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกที่จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยอ้างอิงจากแผนแม่บทเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติ ตามแนวทางของ UN Global Compact ภายใต้กรอบกลยุทธ์การดําเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Strategy) TLI” คือ Trusted Partner ตอบโจทย์ทุกความไว้วางใจ, Life Inclusion เชื่อมประสบการณ์สู่โอกาส และ Infinite World พร้อมส่งต่อโลกที่ดีกว่า

นายไชยกล่าวว่า ไทยประกันชีวิตไม่ได้เพิ่งเริ่มปรับตัว แต่เราปรับเปลี่ยนองค์กรมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานเพื่อให้เท่าทันกระแสที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และรองรับความต้องการของลูกค้าที่ปรับเปลี่ยน โดยลูกค้ามีความคาดหวังมากขึ้น ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็วขึ้น รวมถึงการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งจากคู่แข่งในธุรกิจและนอกธุรกิจ เราจึงมีเป้าหมายที่จะทำให้ไทยประกันชีวิตเป็นแบรนด์ที่อยู่ในใจคนไทย และสามารถส่งมอบและสร้างแรงบันดาลใจอย่างยั่งยืนให้กับสังคมไทย


Tags : ไทยประกันชีวิต ไชย ไชยวรรณ เปิดกลยุทธ์ไทยประกันชีวิต ปี 68


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  ตามที่รัฐบาลโดย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้สถาบันการเงินเข้าช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะ กลุ่มผู้ปกครองที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ทั้งค่าชุดเครื่องแบบนักเรียน หนังสือ อุปกรณ์การเรียน และอื่น ๆ ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ เพื่อเสริมสภาพคล่อง ลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยได้เข้าถึงการศึกษาอย่างต่อเนื่อง นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารได้ออกมาตรการ “สินเชื่อธนาคารประชาชนต้อนรับเปิดเทอม” ที่ผ่อนเกณฑ์อนุมัติให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และเป็นการเดินหน้าภารกิจเชิงสังคมในการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม สำหรับผู้ปกครองที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนในการเตรียมความพร้อมแก่บุตรหลานในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่เพียง 0.60% ต่อเดือน วงเงินกู้ตามความจำเป็นสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 1 ปี (12 งวด) ผ่อนชำระประมาณ 894 บาทต่อเดือน (รวมเงินต้นและดอกเบี้ย) ทั้งนี้ สำหรับผู้มีอาชีพ รายได้ และที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถยื่นขอสินเชื่อโดยไม่ต้องมีหลักประกัน ผ่านแอปพลิเคชัน MyMo หรือติดต่อธนาคารออมสินสาขาเพื่อขอคำแนะนำในการสมัครสินเชื่อ ได้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2568  

08 May 2025

...

SME D Bank ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ดูแลกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีสิทธิ์กว่า 17,200 ราย อย่างใกล้ชิด พาเข้าร่วมแล้ว ณ วันที่ 23 เม.ย. 68 กว่า 7,200 ราย หรือคิดเป็นกว่า 40% จากลูกหนี้ทั้งหมดที่มีสิทธิ์ ประกาศข่าวดี ขยายระยะเวลาสมัครลงทะเบียนสมัครถึงวันที่ 30 มิ.ย. 68 นี้ เพื่อรับประโยชน์ช่วยลดภาระ สร้างโอกาสกลับมาเริ่มต้นธุรกิจอีกครั้ง นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า จากที่รัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย มีนโยบายแก้หนี้ให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อย ผ่านโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ซึ่ง SME D Bank ขานรับนโยบายเข้าร่วมโครงการ ด้วยการเปิดให้ลูกหนี้ของธนาคารที่เข้าเกณฑ์จำนวนกว่า  17,200 ราย มูลหนี้ประมาณ  16,800  ล้านบาท   ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร (www.smebank.co.th)   รวมถึง ทำงานเชิงรุกด้วยการส่งจดหมายแนะนำโครงการไปถึงลูกหนี้ทุกรายที่มีสิทธิ์ ควบคู่กับให้ทีมงานธนาคารติดต่อลูกหนี้ทุกรายที่มีสิทธิ์ เพื่อให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด แนะนำถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ อีกทั้งเปิด Call Center สายพิเศษ รองรับให้บริการในโครงการนี้โดยเฉพาะผ่านเลขหมาย 1357 กด 99 ทั้งนี้  นับตั้งแต่เปิดลงทะเบียนเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 จนถึงวันที่ 23 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา มีลูกหนี้ลงทะเบียนเข้าโครงการแล้วกว่า 7,200 ราย หรือคิดเป็นกว่า 40% ของลูกหนี้ทั้งหมดของธนาคารที่มีสิทธิ์ ผ่านเกณฑ์โครงการกว่า 4,650 ราย  แยกตามประเภทอุตสาหกรรม  ภาคการค้า ประมาณ 38% ภาคบริการ ประมาณ 34% และภาคการผลิต ประมาณ 28%  โดยเป็นสัดส่วนกลุ่มธุรกิจที่ผ่านมาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” และทำสัญญาแล้ว จำนวนกว่า 2,900 ราย มูลหนี้กว่า 3,800 ล้านบาท   สำหรับกลุ่มที่ลงทะเบียนแบ่งเป็นกลุ่ม Lower SE (รายได้เกิน 1.8 ถึง 15  ล้านบาทต่อปี) จำนวน 58%  กลุ่ม Micro (รายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี)  จำนวน 24%  กลุ่ม Upper SE (รายได้เกิน 15 ถึง 100  ล้านบาทต่อปี) จำนวน  16% และกลุ่ม ME (รายได้เกิน  100  ล้านบาทต่อปี) จำนวน 2%  เมื่อรวมกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นรายเล็กกับรายย่อย ( Lower SE , Micro ) จำนวนรวมถึงกว่า 82% สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการรายเล็กของไทยมีศักยภาพเปราะบาง ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด  นอกจากนั้น ธนาคารยังช่วยเหลือด้านการพัฒนา เน้นการเพิ่มรายได้ขยายตลาด เช่น เชิญร่วมโครงการ  “SME D Market”  ซึ่งธนาคารจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน เปิดโอกาสให้มาออกบูธจำหน่ายสินค้า  ณ  สำนักงานใหญ่ SME D Bank โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เชิญร่วมกิจกรรมคาราวานสินค้า สร้างโอกาสทางการตลาด และจับคู่ธุรกิจ  นอกจากนั้น เชิญร่วมโครงการไลฟ์คอมเมิร์ซ เวิร์คช้อปการทำตลาดยุคดิจิทัล พร้อมโอกาสเพิ่มรายได้ด้วยการให้คนดังบนโลกออนไลน์ช่วยบอกต่อ เป็นต้น   ทั้งนี้ จากที่โครงการดังกล่าว ได้ขยายเวลาลงทะเบียนออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน  2568  นับเป็นโอกาสดีที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือลดค่างวดชำระ  3 ปี  เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่อง โดยปีแรกชำระเพียง 50% เท่านั้น    โดยค่างวดที่ชำระนำไปตัดเงินต้นทั้งหมด อีกทั้ง ไม่เก็บดอกเบี้ย  3 ปี  เมื่อทำตามเงื่อนไข และหากชำระค่างวดมากกว่าขั้นต่ำ ตัดเงินต้นเพิ่ม ปิดหนี้จบได้อย่างรวดเร็ว   จึงขอเชิญชวนลูกหนี้ทุกรายที่มีสิทธิ์ รีบแจ้งความประสงค์ เพื่อรับผลประโยชน์ในการช่วยเหลือ  ลดภาระหนี้ และสร้างโอกาสให้กลับมาเริ่มต้นดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง  สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร (www.smebank.co.th)   หรือเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th/khunsoo) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357 กด 99   

05 May 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารเตรียมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์การเงินการคลังของไทย ในงาน MOF Journey: 150 ปี เส้นทางการคลังไทย ในโอกาสครบรอบ 150 ปี กระทรวงการคลัง โดยจัดโปรโมชันเงินฝากเพื่อส่งเสริมการออมสำหรับงานนี้เท่านั้น เริ่มต้นด้วยเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 150 วัน อัตราดอกเบี้ยแบบ Step up เฉลี่ย 2.55% ต่อปี หรือเทียบเท่าเงินฝากประจำ 3.00% ต่อปี จองสิทธิ์ภายในงาน จำนวนจำกัด วันละ 150 สิทธิ์ และ 1 คนต่อ 1 สิทธิ์ และพลาดไม่ได้กับแคมเปญแห่งปี “ออมร้อย ชิงร้อยล้าน” ฝากสลากออมสินพิเศษ 1 ปี ลุ้นรับรางวัลพิเศษมูลค่ารวม 100 ล้านบาท แบ่งเป็น รางวัลพิเศษ มูลค่า 1 ล้านบาท งวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 จำนวน 30 รางวัล และรางวัลพิเศษ มูลค่า 70 ล้านบาท งวดวันที่ 16 กรกฎาคม 2568 เพียง 1 รางวัลเท่านั้น สำหรับผู้ฝากสลากตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 15 กรกฎาคม 2568 หรือเลือกฝากสลากออมสินพิเศษ / สลากดิจิทัล แบบ 2 ปี พร้อมรับของที่ระลึก นอกจากนี้ยังมี เงินฝาก Smart Junior เพื่อเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 7 – 23 ปีบริบูรณ์ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.50% ต่อปี และได้รับอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2.10% ต่อปี เมื่อมียอดเงินฝากคงเหลือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอย่างต่อเนื่อง โดย 24 เดือนแรก รับดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มขึ้น 0.10% ทุก 2 เดือน สูงสุดไม่เกิน 1.60% ต่อปี และรับดอกเบี้ยโบนัสเพิ่มขึ้น 0.50% ใน 6 เดือนสุดท้าย ระยะเวลาฝากรวม 30 เดือน เปิดบัญชีขั้นต่ำ 1 บาท และเปิดบัญชีเงินฝาก 100 บาทขึ้นไป รับกระปุกออมสินคอลเลกชันพิเศษ GSB Love Earth ภายในบูธยังมีกิจกรรมพิเศษและรับกระปุกออมสิน รวมถึงการแนะนำการลงทะเบียนสินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส นวัตกรรมสินเชื่อสำหรับคนที่ไม่เคยกู้แบงก์ได้มาก่อนอีกด้วย   งานครบรอบ 150 ปี วันสถาปนากระทรวงการคลัง จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อดีต–ปัจจุบัน-อนาคต” เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้เรียนรู้ถึงวิวัฒนาการด้านการคลังของไทยที่มีบทบาทในการพัฒนาประเทศตั้งแต่อดีตสู่ภารกิจการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มั่งคงและยั่งยืนในอนาคต ภายในงานยังเป็นการร่วมแสดงพลังความสามัคคี การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อการบริการประชาชนและการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานในสังกัด จึงขอเชิญชวนร่วมสัมผัสนวัตกรรมและบริการทางการเงินที่น่าสนใจ ทั้งจากบูธธนาคารออมสิน และหน่วยงานต่าง ๆ ในระหว่างวันที่ 1 - 3 พฤษภาคม 2568 ณ Hall 3 – 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  

30 Apr 2025

...

บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ก้าวสู่ผู้นำด้านความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจ โดยได้รับการเลื่อนสถานะเป็น CAC Change Agent จากองค์กรแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ซึ่งเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โปร่งใส ปกป้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเผยแพร่ไปยังคู่ค้าให้มีห่วงโซ่อุปทานที่ใสสะอาด กรุงเทพประกันชีวิต เชื่อมั่นในพลังความใส่ใจและมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านการคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) เป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ความสำเร็จครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อองค์กรรวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ โดยกรุงเทพประกันชีวิตจะยังคงมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจต่อไป

30 Apr 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner