Responsive image

Friday, 18 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


ไทยประกันชีวิตเผยผลประกอบการปี 2567 โชว์กำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 11,682 ล้านบาท เติบโตมากถึง 20.4%

Thu 06/03/2568


ไทยประกันชีวิตเผยผลประกอบการปี 2567 โชว์กำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 11,682 ล้านบาท เติบโตมากถึง 20.4% ผลจากกำไรจากการรับประกันภัยที่มีเสถียรภาพ ควบคู่กำไรจากการลงทุนเติบโต โดยมูลค่ากำไรของธุรกิจใหม่ (VONB) อยู่ที่ 7,336 ล้านบาท และมีอัตรากำไรของธุรกิจใหม่อยู่ที่ 60.8% ทั้งนี้มูลค่าพื้นฐานของกิจการเติบโตอีก 12.6% ปรับตัวสูงขึ้นเป็น 180,773 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15.8 บาทต่อหุ้น นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ยังมีมติให้จ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.5 บาทต่อหุ้น

 

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ TLI เปิดเผยถึงผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2567 ว่า บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 11,682 ล้านบาท หรือเติบโต 20.4% จากปีก่อนหน้า  โดยกำไรจากการรับประกันภัยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2566 แม้ว่าภาพรวมสินไหมค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ เน้นการขายผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นความคุ้มครอง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างความยั่งยืนของกำไรจากการรับประกันภัย

ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังมีกำไรจากการลงทุนเติบโตขึ้นถึง 119.7% เป็นผลจากสภาวะตลาดหุ้นในต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น และการปรับพอร์ตการลงทุนของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกลยุทธ์และมาตรฐานรายงานทางการเงินใหม่ที่เริ่มบังคับใช้ในปี 2568 ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนอย่างระมัดระวังเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 สินทรัพย์ลงทุนของบริษัทฯ มากกว่า 80% ของสินทรัพย์ลงทุนทั้งหมด เป็นสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้

ขณะที่มูลค่ากำไรของธุรกิจใหม่ (Value of New Business : VONB) ในปี 2567 อยู่ที่ 7,336 ล้านบาท โดยอัตรากำไรของธุรกิจใหม่ (VONB Margin) มีอัตรา 60.8% โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมสูงถึง 87,854 ล้านบาท

นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มูลค่าพื้นฐานของกิจการ (Embedded Value) เพิ่มขึ้น 12.6% จากปีก่อน เป็น 180,773 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ขณะเดียวกันบริษัทฯ มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ CAR Ratio ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 อยู่ที่ 619.4% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดไว้อยู่ที่ 140% สะท้อนสถานะเงินทุนที่แข็งแกร่งอันเป็นรากฐานของการเติบโตอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติเพื่ออนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจากผลกำไรในปี 2567 ในอัตรา 0.5 บาทต่อหุ้น ซึ่งเงินปันผลจะจ่ายหลังได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น และสำนักงาน คปภ. เรียบร้อยแล้ว

นายไชยกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ มุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการบริการเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อ (Seamless Experience) และมอบบริการที่มากกว่าให้กับลูกค้า ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยพัฒนานวัตกรรมต่างๆ อาทิ การพัฒนาแอปพลิเคชัน ไทยประกันชีวิต ที่ลูกค้าสามารถเลือกรับกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Policy) และการสลักหลังกรมธรรม์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Endorsement) ทำให้ลูกค้าเข้าถึงกรมธรรม์ของตนเองได้สะดวกมากขึ้น

การให้บริการชำระเบี้ยประกันภัยผ่านการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติออนไลน์ หรือผ่าน QR Code บนแอปพลิเคชัน รวมถึงการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ Next Best Offer ลูกค้าสามารถพิจารณาตัวเลือกการประกันภัยเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความคุ้มครองได้ และฟีเจอร์ My Wellness การประเมินสุขภาพเบื้องต้นผ่านการสแกนใบหน้า หรือ Vital Scan

นอกเหนือจากการพัฒนาบริการหลังการขายแล้ว บริษัทฯ ยังได้เปิดตัวดิจิทัลแพลตฟอร์ม “Live Bright ผู้ช่วยสุดสมาร์ทที่ช่วยค้นหาสิ่งที่คุณอยากทำ” โดยใช้ Generative AI มาพัฒนาข้อมูลสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต กระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ รวมถึงการวางแผนชีวิตในแบบเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนชีวิตของตนเองและคนที่รักได้ตรงตามความคาดหวังและความต้องการ

“วิสัยทัศน์ของไทยประกันชีวิต คือการมุ่งสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืนที่ส่งมอบคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนระหว่างธุรกิจและสังคม ทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยกำหนดแผนแม่บทการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและ Roadmap การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จ เห็นได้จากรางวัลต่างๆ ที่ได้รับ อาทิ รางวัลบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น  อันดับ 1 ประจำปี 2567 จากสำนักงาน คปภ., รางวัล Best Corporate Life Insurance Company – Thailand 2024 จากงาน The Global Economics Awards, รางวัล Most Innovative ESG Insurance Provider 2024 จาก International Finance Awards 2024 ประเทศอังกฤษ, รางวัล Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2024 สาขา Corporate Sustainability Reporting จากสถาบัน Enterprise Asia ประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับการจัดอันดับหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings 2024 ในระดับ “A” โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” นายไชยกล่าว


Tags : ไทยประกันชีวิต ไทยประกันชีวิตเผยผลประกอบการปี 2567 ไชย ไชยวรรณ


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner