Responsive image

Tuesday, 22 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ร่วมประชุม “OIC Meets CEO 2025” ครั้งที่ 2/2568 ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน

Mon 21/07/2568


เมื่อวัน

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จัดการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย “OIC Meets CEO 2025” ครั้งที่ 2/2568 โดยนายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานการประชุม ร่วมกับ นายสาระ ลํ่าซำ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย พร้อมด้วย ผู้บริหารสำนักงาน คปภ. ผู้บริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ผู้บริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย และผู้บริหารบริษัทประกันภัยเข้าร่วม ณ ห้องชัยพฤกษ์ 2 หอประชุมกองทัพอากาศ (ทองใหญ่) กรุงเทพมหานคร

สำหรับการประชุมประจำปี 2568 ครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีหารือเชิงนโยบายระหว่าง สำนักงาน คปภ. กับผู้บริหารบริษัทประกันภัยระดับสูง ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยสู่ความมั่นคง ยั่งยืน ทันสมัย และสอดรับกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว โดยในการประชุมดังกล่าว ได้มีการหารือในวาระที่สำคัญ 7 หมวดหลัก ประกอบด้วย

1. การกำกับดูแลความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการศึกษาเพื่อทบทวนประกาศสำนักงาน คปภ. ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันภัย และแนวทางการกำกับดูแลการลงทุนให้มีความรอบคอบและสอดคล้องกับสถานการณ์ความเสี่ยงในปัจจุบัน พร้อมทั้งพิจารณาการปรับหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย ตลอดจนแนวทางการกำกับบริษัทประกันภัยแบบรวมกลุ่ม (Group-Wide Supervision) เพื่อให้การกำกับดูแลครอบคลุมทั้งในระดับบริษัทและระดับกลุ่มธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเกณฑ์การคำนวณสำรองประกันภัยให้มีความเหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยงของธุรกิจ การยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลฐานะการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันวินาศภัยและประกันชีวิตตามหลักเกณฑ์ใหม่ รวมถึงการส่งเสริมให้การกำกับดูแลบริษัทประกันภัยมีความเข้มแข็งโดยใช้กลไกทางกฎหมาย และการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจัดทำนโยบายด้าน ESG การเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ของบริษัทประกันภัยต่อสาธารณชนอย่างโปร่งใส การติดตามผลการบังคับใช้แนวนโยบายที่เกี่ยวกับการระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า และการขอความร่วมมือในการอ้างอิงเอกสารประกอบการคำนวณระดับแอลกอฮอล์ย้อนหลังในชั้นศาล  เพื่อประกอบกระบวนการพิจารณาอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปอย่างรอบด้านและเป็นธรรม

2. ผลการบังคับใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน โดยรายงานความคืบหน้าการบังคับใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน  ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการจัดทำรายงานของบริษัทประกันภัย และสรุปผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงินจากข้อมูลประจำไตรมาส 1/2568 และแนวทางการกำกับและติดตามธุรกิจประกันภัยของสำนักงาน อาทิเช่น การปรับปรุงหลักเกณฑ์และค่ามาตรฐานการจัดกลุ่มตามระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System : EWS) ในอนาคต รวมถึงการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการอนุมัติอนุญาตต่าง ๆ

3. การใช้ประโยชน์จากข้อมูลในอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อทราบรายละเอียดเกี่ยวกับแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของคนไทย (Health Link) และเพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากระบบดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยสำนักงาน คปภ. พร้อมทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างสมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (Big Data Institute : BDI) โดยจะร่วมกันหารือเชิงลึกในประเด็นสำคัญ อาทิ โอกาสในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในแพลตฟอร์ม Health Link ในมิติต่าง ๆ โดยที่ประชุมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของชุดข้อมูลที่มีอยู่ รวมถึงประเภทข้อมูลสุขภาพที่ภาคธุรกิจประกันภัยต้องการเพิ่มเติม การกำหนดแนวทางเชื่อมโยงและพัฒนาการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการขอความร่วมมือจากภาคธุรกิจประกันภัยในการสนับสนุนให้โรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลสุขภาพของผู้เอาประกันภัยมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของอัตราค่าบริการในการขอข้อมูล สามารถพิจารณาและหารือร่วมกันระหว่าง BDI กับภาคธุรกิจประกันภัยในลำดับถัดไป

4. การกำกับดูแลเรื่องการฉ้อฉลประกันภัย อาทิ การกำหนดตัวตรวจจับพฤติกรรมการฉ้อฉลประกันภัยจากระบบรายงานการฉ้อฉลของสำนักงาน คปภ. การบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย กรณีตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยในสังกัดมีสถานะความเสี่ยงด้านการฉ้อฉลประกันภัยเป็นสีส้มและสีเหลือง และการเปิดเผยข้อมูลฉ้อฉลประกันภัยให้ภาคธุรกิจประกันภัย

5. การยกระดับประสิทธิภาพระบบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยที่ประชุมรับทราบแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพของกลไกการทำงานในระบบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ และได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจประกันภัยในการส่งเสริมการประกันภัยรถภาคบังคับ เพื่อให้ระบบสามารถให้ความคุ้มครองได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

6. การยกระดับแนวทางการกำกับดูแลคนกลางประกันภัย สำนักงาน คปภ. ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของคนกลางประกันภัย จึงเร่งพัฒนามาตรฐานและกลไกกำกับดูแลให้ทันสมัย โปร่งใส และคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินงานหลัก ดังนี้ การบริหารจัดการข้อมูลคนกลาง โดยส่งเสริมการลงทะเบียนระบบ e-Licensing เพื่อจัดทำฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ครอบคลุม และทันสมัย พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนตรวจสอบใบอนุญาตก่อนทำธุรกรรม การยกระดับความโปร่งใสและความเสี่ยงโดยกำชับให้บริษัทประกันภัยมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน รวมถึงติดตามพฤติกรรมตัวแทนและนายหน้าอย่างใกล้ชิด ช่องทางการชำระเบี้ยประกันภัย โดยสนับสนุนการรับชำระเบี้ยประกันภัยผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดความเสี่ยงและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัย การพัฒนากฎหมายและข้อสอบ โดยดำเนินการปรับปรุงข้อสอบและเนื้อหาหลักสูตรสำหรับตัวแทนและนายหน้า โดยร่วมมือกับสมาคมภาคธุรกิจ พร้อมกำหนดแผนวิพากษ์และอนุมัติข้อสอบใหม่ ในปี 2568 และมาตรฐานจรรยาบรรณและพัฒนาเครือข่ายวิชาชีพ โดยส่งเสริมให้สมาคมต่าง ๆ ร่วมพัฒนามาตรฐานจรรยาบรรณ และสนับสนุนการเข้าร่วมสมาคมตัวแทนเพื่อเสริมศักยภาพและภาพลักษณ์วิชาชีพในระยะยาว

และ 7. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจประกันภัย โดยมีการรายงานผลโครงการพัฒนาบุคลากรประกันชีวิตแห่งชาติ (ASEAN Life Insurance Leadership Program : ALIP) และหารือยกระดับทักษะ ด้านวิทยาศาสตร์ประกันภัย รวมถึงการส่งเสริมความรู้ด้านประกันภัยผ่านการมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัยในอนาคตต่อไป

สำหรับในแต่ละประเด็น มีการรายงานความคืบหน้า ข้อเสนอแนะ และแนวทางการดำเนินการเชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลที่เท่าทันความเสี่ยง การใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในทุกระดับให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล การประชุมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากภาคธุรกิจประกันภัย นับเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่สำนักงาน คปภ. ใช้เพื่อประสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และรับฟังเสียงจากภาคธุรกิจอย่างใกล้ชิด อันจะนำไปสู่การยกระดับระบบประกันภัยไทยให้ทันสมัย โปร่งใส และเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. มีแผนจะจัดประชุม “OIC Meets CEO” ครั้งที่ 3/2568 ในช่วงปลายปี เพื่อเป็นเวทีต่อเนื่องในการติดตามผลการดำเนินงานตามแนวทางที่ได้หารือร่วมกัน และกำหนดมาตรการในอนาคตให้ครอบคลุมความท้าทายและโอกาสของอุตสาหกรรมประกันภัยในระดับประเทศต่อไป


Tags : คปภ. สำนักงาน คปภ. ชูฉัตร ประมูลผล สาระ ลํ่าซำ นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ดร.สมพร สืบถวิลกุล ภาคธุรกิจประกันภัย ประชุม OIC Meets CEO 2025 ครั้งที่ 2/2568


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน รับ 4 รางวัลใหญ่ Money & Banking Awards 2025 ได้แก่ รางวัลธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2568 Best Retail Bank of the Year 2025 รางวัลธนาคารยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อบุคคล รางวัลธนาคารยอดเยี่ยมด้านเงินฝาก และรางวัลธนาคารที่มีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยมี นางสาววชิรา การสุทธิ์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มยุทธศาสตร์และสื่อสารเพื่อความยั่งยืน นางสาวศิริพร เลิศสัตยสุกใส รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าบุคคล และนางสมจิตร์ ทองจุ้น ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานกิจการสาขา 1 เป็นผู้แทนรับรางวัล จาก ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ประธานในพิธีมอบรางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2025 จัดขึ้นโดยวารสารการเงินธนาคาร     สำหรับรางวัลธนาคารยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อบุคคล ธนาคารได้รับรางวัลเป็นครั้งแรก สะท้อนความสำเร็จการปล่อยสินเชื่อนวัตกรรมการเงินเพื่อสังคมที่ผ่อนเกณฑ์อนุมัติ/ดอกเบี้ยต่ำ มุ่งเน้นช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย/ฐานราก โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยมีประวัติเครดิต ไม่เคยกู้แบงก์ได้ หรือ มีเครดิตต่ำ ให้เข้าถึงสินเชื่อในสถาบันการเงิน จนเกิด Social Impact ที่ชัดเจน ขณะที่รางวัลธนาคารที่มีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งเป็นรางวัลใหม่ของปีนี้ ตอกย้ำการดำเนินงานตามแนวทาง ESG ที่ครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านสังคมที่เด่นชัด ตามจุดยืนการเป็นธนาคารเพื่อสังคม ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม ธนาคารมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างจริงจัง โดยที่ผ่านมาถือเป็นแบงก์แรกที่ไม่ปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเกณฑ์ ESG Score พร้อมดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี   อีกทั้งยังยืนหนึ่งครองตำแหน่งติดต่อกันเป็นปีที่ 10 กับรางวัลธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2568 Best Retail Bank of the Year 2025 และต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 กับรางวัลธนาคารยอดเยี่ยมด้านเงินฝาก ความสำเร็จทั้งหมดนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนภารกิจธนาคารเพื่อสังคม ที่สร้าง Social Impact เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อคนไทยกว่า 13 ล้านคน ผ่านภารกิจหลัก 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในระบบสถาบันการเงิน การแก้ปัญหาหนี้สิน การพัฒนาสังคมและชุมชน และสนับสนุนนโยบายรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีนายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร ประธานจัดงาน Money & Banking Awards 2025 คณะผู้บริหารและพนักงานธนาคารออมสิน ร่วมแสดงความยินดี ณ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2568  

21 Jul 2025

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner